คันนาพัง
โดย bangsai เมื่อ 1 กันยายน 2010 เวลา 2:32 ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 864
เมื่อคืนจวบจน 8 โมงเช้า ฝนกระหน่ำมุกดาหารซะชุ่มฉ่ำไปเลย
บ่ายแดดเปรี้ยงผสมเมฆก้อนใหญ่ๆเต็มฟ้า
ถามแม่บ้านสำนักงานและพนักงานขับรถที่เขาทำนา
พี่ คันนาพังหมดแล้ว…ไปทำใหม่ก็ไม่ได้ ไม่มีดิน
(คันนาอีสานเล็ก คันนาภาคกลางใหญ่โต)
แล้วจะเสียหายไหม
ก็เสียหายหากฝนหยุดตกนาก็เก็บกักน้ำไม่ได้ไหลไปหมด..
9 ความคิดเห็น
น่าจะตั้ง่ป็นโจทย์ว่า แล้วต่อไปจะทำยังไงกันดี ?
ภาพดูสวยและดุดันอีกเช่นเคยค่ะ…ซู๊ดยอดๆๆค่ะ
เรื่่องคันนาทะลายก็คิดเหมือนท่านจอมป่วนคะ…แล้วต่อไปจะทำยังไงกันดี ?
ขอบคุณครับจอมป่วน และป้าจุ๋ม
แวะมาชมภาพสวย ๆ เมฆของพี่บางทรายสวยได้ใจจริง ๆ
สงสัยว่าเห็นเองจริง ๆ จะสวยเท่าภาพไหม…
อ่านคอมเม้นท์ของอ.จอมป่วนและป้าจุ๋มแล้ว… ยิ้มเลย… หากถามซะอีกคน ไม่ทราบใครจะตอบ…
ส่วนตัวน้องคิดว่า… (ด้วยความเคารพและไม่ได้ตั้งใจล่วงเกินใครทั้งสิ้น)
คำถามคุณภาพเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ได้ “ข้อสรุป” สำหรับการแก้ปัญหา แต่เราเป็นนักตั้งคำถาม/ตั้งประเด็น/คุยหาข้อสรุป…กันเต็มเมือง
เป็นแต่ว่า…ไม่มีคนทำจริง หรือ คนทำจริงก็ไม่ค่อยได้มีเวลามาตั้งคำุถามเท่าไหร่… งานมันเยอะเลยก้มหน้าก้มตาทำ ปล่อยให้นักตั้งคำถามอย่างเรา ๆ … เป็นคนตั้งคำถามต่อไป…ฮา ๆ
ลูกอีช่างถามนั้น เป็นคุณสมบัติที่พี่ชอบ พี่เองก็ มีแม่ชอบถาม อิอิ (พวกเรากันเอง อย่าคิดมาก สำบัดสำนวนกันบ้างสนุกดี) ตรงข้าม เราทำงานมาก็มาก กลุ่มที่ไม่ค่อยถามนี่ซิ เราพบว่า งานบางอย่างไม่ค้นพบอะไรดีดีเพราะสักแต่ว่าได้ทำ แต่ไม่ถามให้เกิดการเรียนรู้เลย..
อย่างวันนี้พี่เองก็ตั้งประเด็น (คำถาม) ในที่ประชุมว่า โครงการเรากำลังจะจบ แต่ไม่ได้จัดสัมมนาวิเคราะห์เจาะลึก เพื่อทำการสังเคราะห์บางประเด็นใหญ่ๆออกมา เช่นประเด็นที่พี่เห็นคือ ในการทำงานพัฒนาชุมชนนั้น เราพูดกันว่า ไม่มีสูตรสำเร็จ เราต้องพิจารณาระบบนิเวศ….. พื้นที่ที่พี่รับผิดชอบเป็นเขตนิเวศเชิงเขาและเป็นชนเผ่า งานหลายอย่างจะใช้กระบวนการ วิธีการในพื้นราบมาใช้ไม่ได้เสมอไป เราต้องคิดดัดแปลงเองตามเหตุ ปัจจัยที่ดำรงอยู่..ฯลฯ
การพึ่งตัวเองที่เราพูดกันและอ้างอิงพระราชดำริพอเพียงด้วย การทำงานในสนามที่เราเกาะติดมาเราพบว่า การที่โครงการเอาคำนี้มาเป็นธงนั้น ช่วงเวลาที่ผ่านมาเราก็มีประสบการณ์พอสมควรที่จะสังเคราะห์ออกมาว่า มีองค์ประกอบที่ต้องคำนึกถึงกี่แบบ กี่ชนิด ฯลฯ ที่เราต้องเข้าใจ และตีแตกให้ได้ เพื่อเราจะได้กำหนดการสนับสนุนที่เหมาะสมแก่เขา ไม่ใช่ แจกต้นไม้ ก็ แจกๆๆๆๆๆๆๆๆ อบรมเรื่องนี้ ก็อบบบบบบบบ อยู่นั่นแหละ ต้องออกแบบตามเงื่อนไขแต่ละครอบครัวดำรงอยู่ งานแบบนี้ต้องคนเป็นลูกอีช่างถามเท่านั้นจึงจะเป็นประเด็น
ประเด็นนี้พี่พบคร่าวๆว่า ครอบครัวเกษตรกรในชุมชนนั้นมีองคืประกอบที่สำคัญของการพึ่งตนเองดังตัวอย่างต่อไปนี้
- การมีกรรมสิทธิในที่ดินของตนเอง และที่ดินนั้นมีขนาดไม่ต่พกว่า 1 ไร่เป็นต้นไป เราพบว่า เกษ๖รกรหลายคนสนใจการทำการเกษตรผสมผสานมาก เข้าร่วมทุกอย่างด้วยสำนึก แต่เขามาติดว่า อาจารย์ครับ พ่อแม่ยังไม่โอนที่ดินให้ครอบครัวผม ผมจะทำกิจกรรมต่างๆเต็มที่ไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าพ่อกับแม่จะให้ลุกคนไหน เพียงตอนนี้ให้ผมทำไปก่อน….
- จำนวนแรงงานในครอบครัว การปลูกทุกอย่างที่กินได้ กินทุกอย่าวที่ปลูก นั่นหมา่ยความว่าจะต้องใช้แรงงานปลูกๆๆๆๆๆๆๆ ครอบครัวจะต้องมีแรงงานอย่างน้อย 2 คน(แต่ต้องดูรายละเอียดเพิ่มเติม)
- ขนาดอายุของครอบครัว ของแรงงาน… เราพบว่าพ่อเฒ่าอายุ 66 แล้ว เข้ามาในกลุ่มเพราะสนใจและสำนึกในเรื่องพอเพียง จึงเข้ามาเรียนรู้และเอาความรู้ไปทำ แต่ก็ทำได้ในระดับหนึ่ง เมื่อเราทำการประเมินผลการบรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์วัดนั้น ครอบครัวนี้ตกเกณฑ์ในบางเรื่องเพราะอายุมากแล้วทำไม่ไหว…
- ภาวะความจำเป็นต้องใช้เงิน…. ครอบครัวหนึ่งมีพ่อแม่ลูกสามคน แต่ลุกสองคนกำลังเรียนในมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบ นั่นหมายความว่ามีค่าเทอมแพงกว่ามหาวิทยาลัยรัฐ และสองคน เปิดเทอมทีเขาต้องหาเงินให้ลุกเท่าไหร่… การหาอยู่หากินพอเพียงไปวันๆไม่ได้ ต้องทำกิจกรรมที่ให้ได้มาซึ่งเงินในจำนวนที่มากพอที่จะเอาไปให้ลูกรัก เกษตรกรนั้นไม่มีทางเลือกมากนัก นอกจากกู้ กู้ กู้ บางครอบครัวก็เลี้ยงวัวจำนวนมากเพื่อขายวัวเอาเงินเมื่อลุกต้องการ การเลี้ยงวัวจำนวนมากต้องใช้เวลามากในการดูแล ก็จะมีเวลาน้อยลงสำหรับกิจกรรมอื่นๆที่เป็นองคืประกอบการพึ่งตนเอง บางครอบครัวพ่อบ้านต้องไปขายแรงงานเพื่อหาเงินก้อนมาให้ลูก เมื่อไม่อยู่บ้านก้ไม่มีเวลามาทำกิจกรรมอื่นที่เพื่อพึ่งตนเอง….
- ความเสี่ยงต่างๆของอาชีพ…. เช่นทำนาเพื่อมีข้าวกิน หากไม่เสียหาย 5 ไร่ก็พอกิน เหลือนิดหน่อยขาย แต่หากฟ้าฝนมาทำลายการได้ข้าวตามปกติ นั่นหมายถึงว่าเสี่ยงต่อข้าวไม่พอกินในปีนี้แล้ว….(ทำไงล่ะ จอมป่วนและป้าจุ๋มถาม) แน่นอนมีทางออกหลายทางที่เกษตรกรคนนั้นต้องคิด ตัดสินใจ เช่น ต่อไปทำคันนาให้ใหญ่ขึ้น แข็งแรงขึ้น สร้างระบบการไหล flow ของน้ำให้เพียงพอในกรณีที่สามารถทำได้ และอื่นๆในมุมมองของชาวบ้านเอง…
หากเราไม่ตั้งคำถาม ปีนี้ก็จัดอบรมเรื่องพึ่งตัวเอง ปีที่แล้วก็อบรม ปีต่อไปก็ตั้งงบอีก แต่ไม่ลงไปสังเคราะห์รายละเอียด หรือหากไม่ลงสัมผัสเงื่อนไขเกษตรกรในระดับครัวเรือน ก็ไม่ง่ายนักที่เกษตรกรจะเอาความรู้ไปทำในเงื่อนไขของตัวเองได้ ยกเว้นเกษตรกรบางรายที่เป็น super ชาวนา เก่งจริงๆก็มีแต่น้อย ที่มีจำนวนมากคือ เราต้องลงไปช่วยดูรายละเอียดดังกล่าวแล้วกระตุ้นให้ช่วยกันคิดต่อในเงื่อนไขแต่ละคน
เราพบว่าการพึ่งตนเองนั้น เกือบจะไม่มีแล้ว มีแต่ “พึ่งตนเองและพึ่งพาอาศัยกัน” สิ่งที่เป็นแกนกลางของการพึ่งตนเองกับการพึ่งพาอาศัยกันนั้นคือ วัฒนธรรมเดิมๆของสังคมไทยเรา ที่เราเรียกทุนสังคม คือการเอื้ออาทรกัน
เพราไม่มีชุมชนใดที่ทุกครัวเรือนปลูกพืชเพื่อกินได้เหมือนกันไปหมดทุกครัวเรือน ไม่มี มีแต่ เรามีเกือบทุกอย่างขาดต้นมะกรูด เวลาอยากได้ใบมะกรูดก็ไปขอเพื่อนบ้าน เพื่อนบ้านเขาก็มาขอ พริกบ้านเรา อะไรทำนองนี้…..
แต่เวลานักวิชาการไปวัดตามเกณฑ์ชี้วัด พึงระวังว่าแบบชี้วัดนั้นเป็นเพียงเครื่องมือให้เรารู้ ว่าใครมีอะไรเท่าไหร่ แต่การตัดสินว่า เขาตกเกณฑ์ เหนือเกณฑ์นั้นจะต้องลงรายละเอียดอีกมาก….
อ้าวกลายเป็นเขียนบันทึกไปแล้ว อิอิ
ถามเถอะครับ ถามแล้วเกิดปัญญาครับ
ตั้งประเด็นเถอะครับ มีประเด็นแล้วเกิดการเรียนรู้เพิ่มเติม
และการ cross ความเป็น professional ก็อย่ารังเกียจ เพราะจำนวนมากเกิดการพัฒนาเพราะวิศวกรมาตั้งประเด็นให้นักสังคม สถาปนิกตั้งประเด็นดีดีให้กับแพทย์ ฯลฯ
อ้าว แถมไปเรื่อย อิอิ
แอบกลับมาอ่านต่อค่ะ
เหมือนได้นั่งเรียนกับครูเก่ง ๆ ใต้ต้นไม้ บรรยากาศดี ๆ …55555….
น่าเขียนเป็นบันทึกจริง ๆ ด้วยค่ะพี่
ขอบคุณค่ะ
เพราะมีคนดีดีมาแลกเปลี่ยนน่ะซี
cheap generic super cialis
http://canadianiucialis.com/ - buy cialis
cialis cheap
the best choice cialis brand
viagra como medicament
buy viagra online
buy generic viagra
viagra fa effetto