มิติของข้าว วิถีชุมชน

1 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ กุมภาพันธ 27, 2012 เวลา 21:04 ในหมวดหมู่ ชนบท, สังคม บ้านเมือง ประชาธิปไตย, เรื่องของชีวิต #
อ่าน: 2118

สมัยทีผมบวชเรียนที่สำนักวิปัสสนาไทรงาม รอยต่ออ่างทอง-สุพรรณบุรีนั้น แม้ว่าผมจะมีความสนใจหลักธรรม แต่ก็ไม่สามารถเข้าถึงเนื้อในของธรรมทั้งหลายได้ พระอาจารย์ธรรมธโร เจ้าสำนักท่านจึงกล่าวเสมอว่า ถ้าจะบวชก็ขอให้ครบพรรษา เพราะจะได้ใช้เวลาปฏิบัติให้มาก ท่านสอนว่า ไม่ต้องเอาหนังสือธรรมมาอ่าน ไม่ฟังวิทยุ ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ ไม่ดูทีวี ให้สามเดือนมุ่งอยู่แต่การคู้ เหยียดแขน เพื่อจับความรู้สึกที่เกิดขึ้นและทำจิตให้นิ่ง…….

ท่านให้หลักมหาสติปัฏฐาน 4 เพ่งพิจารณา กายในกาย จิตในจิต…….ฯ ผมก็ไม่กระดิก เมื่อผมลาสิกขาออกไป กลับไปทำงานพัฒนาชนบท และย้ายสถานที่มาอยู่อีสาน ที่จังหวัดสุรินทร์ และเข้ารับการฝึกอบรมกระบวนการทำงานชนบทอีกครั้งกับ อ่านอาจารย์ เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อ.มรว. อคิน รพีพัฒน์ และ….. เริ่มลงลึกถึงมิติของชุมชนมากขึ้น เนื่องจากท่าน อ.อคิน ท่านเป็นนักสังคมวิทยา เขียนตำราเรื่องคนนอกคนใน และเรื่องราวของชนบทไว้มาก จนมีคนแซวท่านไว้ว่า “เจ้าที่ทำตัวเป็นไพร่” ผมได้เรียนรู้จากอาจารย์ทั้งสองท่านมากมาย และเมื่อย้อนกลับไปนึกถึงสมัยที่บวชเรียน ก็ร้องอ๋อ…. มิติแห่งธรรมนั้นลึกซึ้งมาก ตาเนื้อมองไม่เห็น แต่ต้องใช้ตาปัญญามอง ถึงจะเห็น ถึงจะสัมผัสมิติด้านในได้..


กองข้าวที่เห็นนี้ ก็ไม่เห็นมีอะไร ก็แค่กองข้าว….. นี่คือตาเนื้อที่เราเห็น แต่ความหมายนั้นมากกว่าการเห็นแค่การเก็บข้าวเปลือกไว้

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ข้าวคืออาหารหลักของชาวบ้าน มีข้าวไม่มีข้าวคือเรื่องใหญ่ กับข้าวเรื่องเล็ก หรืออาหารที่จะกินกับข้าวนั้นหาง่าย ชาวบ้านอยู่กัน 5 คน เขารู้ว่าจะต้องเก็บข้าวเปลือกไว้กินกี่ถุง กี่กระสอบ

ปกติเขาจะเก็บข้าวไว้ให้มากพอที่จะกินถึงสองปี…. นี่คือวิถีชุมชน เพราะเป็นหลักประกันว่าหากปีไหนนาล่ม หรือเสียหายก็ยังมีข้าวกิน หากไปไหนๆ ไม่มีความเสียหาย ก็เอาข้าวเก่าไปขายเอาข้าวใหม่เก็บเข้าแทนที่ตามจำนวนที่กินได้สองปี นี่คือระบบคิดรักษาความปลอดภัยไว้ก่อน

ปัจจุบันความต้องการใช้เงินมีมากขึ้น โดยเฉพาะเงินที่จำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อการศึกษาลูก หากเปิดเทอม ลูกต้องการค่าเทอม หากไม่มีเงินเก็บ ก็พิจารณาตัดสินใจว่าจะเอาข้าวส่วนเกิน หรือไม่เกินก็ตามแต่จ้ำเป็นต้องหาเงินให้ลูก ก็ต้องแบ่งข้าวเปลือกไปขาย ขนาดของถุงนั้นพอดี เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้าย เหมาะสำหรับการกะปริมาณข้าวที่ต้องขายกับจำนวนเงินที่ต้องการได้มา แน่นอนหลายครอบครัวตัดสินในขายวัวทั้งตัว และเก็บข้าวไว้กิน

ข้าวเหล่านี้ แบ่งเอาไปเป็นเมล็ดพันธุ์ได้ สำหรับฤดูกาลเพาะปลูกต่อไป แต่หลายแห่งจะแยกออกไปต่างหาก ไม่ปะปนกับจำนวนนี้

ข้าวเหล่านี้สามารถแบ่งเอาไปทำบุญ ในงานประเพณีต่างๆขอกลุ่มชนเผ่า ของท้องถิ่น ทั้งเอาไปบริจาคที่วัดใกล้บ้าน หรือมีผู้ภิกขาจารมาขอข้าวก็แบ่งเอาไป หรือบ้านอื่นๆขาดข้าวก็เอาสิ่วของมาแลกข้าว ก็แบ่งเอาไป ปีหนึ่งๆมีการบริจาคข้าวเปลือกเพื่องานบุญในวาระต่างๆไม่น้อยทีเดียว เพราต่างหมู่บ้านก็มาบอกบุญ ข้ามตำบล ข้ามอำเภอก็พบบ่อยๆ

แบ่งข้าวให้ญาติพี่น้องที่ขาดแคลนข้าว แบ่งให้ลูกหลานเอาไปกินในต่างถิ่น แม้ลูกหลานมาทำวานกรุงเทพฯ กลับบ้านไปเยี่ยมพ่อแม่ เมื่อคราวกลับไปงาน พ่อแม่ก็เอาข้าวให้ไปกิน

ข้าวจึงมีคุณค่า มีมูลค่ามากกว่าแค่เอาไว้กินเป็นอาหารหลักเท่านั้น ประเพณีพื้นบ้านจึงเกี่ยวข้องกับข้าวก็มี อย่างเช่น ประเพณี 3 ค่ำ เดือน 3 ที่อาว์เปลี่ยนและผมเคยเขียนไว้บ้างแล้ว เรียกพิธีทำขวัญข้าวที่ยุ้งฉาง หรือเรียกพิธีเปิดประตูเล้าข้าว ของพี่น้องไทโส้ดงหลวง และที่อื่นๆ

แต่มีอีกเหตุผลหนึ่งที่ผมเพิ่งทราบมาว่า การที่เอาถุงข้าวมาเก็บกองไว้ในบ้านแบบโจ่งแจ้งนั้นแทนที่จะเก็บไว้ในยุ้งฉางมิดชิด กล่าวกันว่าเป็นการแสดงออกถึงการมีฐานะ มีความมั่นคง มีหลักมีฐานของครอบครัวนั้นๆ แขกไปใครมาก็เห็น …??!!!

กองข้าว ที่มีความหมายมากกว่ากองข้าว

นี่คือมิติต่างๆของข้าว

นี่คือวิถีชุมชน..


สีอะไรก็ได้…

2 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ กุมภาพันธ 27, 2012 เวลา 6:30 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 2327

มะพร้าวสีอะไรก็ได้

ข้างในเป็นน้ำหอมทั้งหมด

(ภาพจากโรงเรียนไม้ไผ่ ลำปลายมาศ)



Main: 0.054663896560669 sec
Sidebar: 0.093379020690918 sec