Knowledge gap..

4 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ ธันวาคม 19, 2009 เวลา 9:28 ในหมวดหมู่ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม #
อ่าน: 2703

วันหนึ่งผมไปทานอาหารกลางวันที่ร้านตะวันทอง ขอนแก่น ซึ่งเป็นร้านมังสวิรัติที่ใหญ่ที่สุด และผมเป็นลูกค้ามาตั้งแต่สิบปีที่ผ่านมา ผมได้หนังสือมาเล่มหนึ่งชื่อ “ควอนตัมกับดอกบัว” เขียนโดย มาตินเยอ ริการ์ และ ตริน ซวน ตวน แปลโดย กุลศิริ เจริญศุภกุล และดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ เป็นอีกเล่มที่ผมชอบมาก เพราะสนใจศาสนากับวิทยาศาสตร์ และสังคม ผมอ่านไม่เท่าไหร่ก็ Post ไปคุยกับ น้องชิว ต่อไปนี้เป็นการแสดงความเห็นของผมกับน้องชิวครับ


น้องชิว(ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ)ครับ

แว๊ปมาคุยด้วย ทั้งๆที่งานเขียนยังเร่งไม่เสร็จเลย เบื่อๆก็แว๊ปมาบ้าง

ตาม ติด ติดตามงานของชิวแล้ว พี่กลับเข้าหมู่บ้านที่ดงหลวง ก็เห็น..เอ…จะเรียกว่าอะไรดีล่ะ ช่องว่าง หรือ หลุมดำ หรือ Knowledge gap หรืออะไรก็ช่าง แต่ความหมายมันคือ วิทยาศาสตร์ คือการที่คนเราพยายามเข้าใจกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ และเมื่อโลกมีอายุเท่านี้ นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาความรู้ที่เข้าใจกฏเกณฑ์ทางธรรมชาติ ของจักวาร มากมาย จนคนธรรมดาอย่างพี่ตามไม่ทัน และคนส่วนใหญ่ก็ตามไม่ทัน กลุ่มนักวิทยาศาสตร์นั้นไปไกลมากๆ นักสังคมวิทยามานุษยวิทยาดูจะไม่เขยื้อนเท่าไหร่…


ในขณะที่การดำรง ชีวิตของคนมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลกยังพัฒนาบนพื้นฐานการมีชีวิตรอด ที่ไม่ได้ไปไกลไปกว่าเมื่อ 30 ปีหรือ 50 ปีที่ผ่านมา เช่นชุมชนในชนบท หนึ่งปีที่ชนบทก้าวไปนั้น พัฒนาช้ากว่าหนึ่งปีที่วิทยาศาสตร์ก้าวไปข้างหน้า ตรงนี้เองคือหลุมดำ ตรงนี้คือช่องว่าง

พี่วนเวียนในวงการพัฒนาชนบทมามากกว่า 30 ปี กล่าวได้ว่า การพัฒนาเมื่อ 30 ปีที่แล้วกับวันนี้ เราก็ยังทำเรื่องซ้ำๆ กิจกรรมซ้ำๆ แม้ว่าจะขยับออกไปบ้างก็เป็นเรื่องเครื่องมือ เทคนิค มุมมอง วัตถุ แต่ความรู้ความเข้าใจ จิตสำนึก มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะกลุ่มคนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับการลงทุนทางการเงิน เครื่องมือ ตรงข้ามเราสูญเสียหลายอย่างไปด้วยซ้ำ เช่น ทุนทางสังคม วัฒนธรรมที่ดีดี จิตใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หดหายไปมากกว่าที่จะงอกงามขึ้นมา


ทุกครั้งที่พี่เข้าไปชนบท เห็น พูด สัมผัส ชาวบ้าน ก็หนักใจเพราะการก้าวเดินของงานพัฒนาเชิงคุณภาพนั้น ช้ากว่าการไหลบ่าเข้ามาของค่านิยมใหม่ๆ ที่ใครต่อใครก็พูดกันมานานแล้ว การสำนึก และการตื่นขึ้นมาตั้งสติต่อการออกแบบการดำรงชีวิตในสถานการณ์ปัจจุบันอย่าง เหมาะสมนั้น ดูจะไม่นิ่ง กว่าที่จะโน้มน้าวให้ชาวบ้านเปลี่ยนจากการใช้สารเคมีมาใช้สารชีวภาพก็ยาก เย็นแสนเข็ญ แต่ง่ายเหลือเกินที่เขาจะเดินไปที่ร้านข้างบ้านแล้วบอกซื้อเครื่องดื่มชู กำลัง วันละขวด หรือมากกว่า

เมื่อพี่ออกมาจากชนบท ตระเวนมาในสังคมแห่งนี้ สัมผัสเรื่องราวสารพัดเรื่อง ความรู้สึกเปรียบเทียบมันเกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ นึกเลยไปในอนาคตว่า หากคนเราห่างกันทางด้านความรู้มากมายจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ลุงชาลีในดงหลวงแม้จะถูกยกย่องว่าเป็นปราชญ์ชาวบ้าน แต่แกไม่ประสีประสาเลยในเรื่อง นาโนเทคโนโลยี่ ตรงข้าม อีตา McKenna แกไปไกลสุดๆโลกแล้วแกจะเข้าใจไหมว่าพิธีฆ่าหมูบูชาผีที่บ้านดงหลวงเพื่อต้อนรับสมาชิกใหม่ในชุมชนนั้น คือ คุณค่าดั้งเดิมที่ชุมชนนี้ยอมรับและปฏิบัติกัน เมื่อมีคนใหม่เข้ามาอยู่ในชุมชน และอยู่กันอย่างพี่น้องร่วมกัน


พี่ยอมรับว่าคนเราไม่จำเป็นต้องรู้ไปหมดทุกเรื่อง แต่สังคมทุนนั้นมักจะเอาช่องว่างตรงนี้แหละทำมาหากิน หากวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต วิทยาศาสตร์เพื่อสังคม จะเป็นสิ่งประเสริฐยิ่ง และหากทุนนิยมเพื่อชีวิต เพื่อสังคม พี่ก็จะไม่คิดอย่างที่แสดงไว้ข้างบน

เป็นเพียงตั้งประเด็นเล่นๆน่ะครับ เพราะพี่เป็นคนสามโลก คือโลกชนบท โลกในเมืองที่รับรู้การเคลื่อนที่ไป และโลกจินตนาการที่อยากให้สังคมเป็นไป

แค่มาเล่าให้ฟังน่ะครับน้องชิวครับว่ามีมุมมองแบบนี้อยู่ครับ..อิอิ


เรียนรู้ชาวบ้าน..

2 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ ธันวาคม 12, 2009 เวลา 22:16 ในหมวดหมู่ ชนบท, เรื่องของชีวิต #
อ่าน: 2039

การเฝ้าเรียนรู้ฅนนั้น ไม่ง่ายอย่างพฤติกรรมที่เห็น

คำว่ารู้หน้าไม่รู้ใจ สะท้อนว่าฅนนั้นซับซ้อนมากกว่าตัวเป็นๆที่เห็น

แต่อยากจะพูดอีกมุมหนึ่งว่า พฤติกรรมที่เห็นนั้น ไม่อาจด่วนสรุปความคิดรวบยอดได้เสมอไป


การเข้าใจฅนนั้นต้องสนิทแนบพอสมควรจึงจะเข้าถึงมุมด้านในขิงเขา

ยิ่งเราเป็นคนนอก ชาวบ้านเป็นคนใน เราเองก็ไม่ได้อยู่กินตลอดเวลากับเขา แม้จะรู้ว่า ชาวบ้านนั้นตรงไปตรงมากับเรามาก มากกว่าอีกหลายคนที่ผ่านเข้ามาในวิถีชีวิตเขา แต่ก็ไม่ใช่ที่สุด


วันนั้นที่ประชุมกลุ่มผู้ใช้น้ำ บ้านพังแดงประชุมเพื่อปรับเปลี่ยนชุดบริหารงานใหม่ อดีตประธานมีสิ่งไม่ค่อยปกติหลายอย่าง เช่น ไม่ได้ทำบัญชีค่าใช้จ่ายของกลุ่มทุกครั้งที่มีการรับจ่าย ขอดูเอกสารหลายครั้งก็อิดออดที่จะเอามาให้ดู นัดพบปะกันเพื่อจัดระบบการบริหารงานใหม่ก็ไม่มา อ้างเหตุผลติดธุระต่างๆ ในที่สุดกลุ่มก็ลงมติตั้งประธานคนใหม่ แล้วลุยสะสางระบบต่างๆให้ชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้


คณะกรรมการชุดใหม่ดูขึงขัง และ active ประธานคนใหม่รับปากจะเข้าไปเคลียร์กับประธานคนเก่าตามแบบคนในหมู่บ้านเดียวกัน กรรมการคนอื่นๆ ก็เริ่มทำงาน

หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ประธานคนใหม่มาบอกว่า ได้พบกับประธานคนเก่าแล้วและได้คุยกันแล้ว พบว่า เขาไม่มีอะไรจะต้องระแวงสงสัยเลย ทุกอย่างมีเหตุผล อธิบายได้ แต่ความไม่พึงพอใจบางอย่างทำให้เกิดอาการปิดตัวเอง เมื่อเข้าถึงอาการปิดตัวเองก็ยุติ และประธานคนใหม่ก็เข้าใจ นำความมาบอกกล่าวกับทุกคนและ เสนอให้ประธานคนเก่าควรทำหน้าที่ต่อไปอีกด้วย


แม้ว่าประเด็นนี้ยังไม่ถึงที่สุด แต่ ได้เรียนรู้ใหม่ๆขึ้นมาในเรื่องการทำงานกับชาวบ้าน พัฒนาฅน พัฒนาชุมชน มีอะไรใหม่ๆให้เราขบคิดเสมอ มีสาระที่ให้เราต้องตามติดอยู่เรื่อยๆ

นึกเลยไปถึงกระบวนวิธีทางการแพทย์สอนนักศึกษาในปีสุดท้ายที่เรียน แพทย์ฝึกหัดนั้น นักศึกษาแพทย์จะต้องออกเยี่ยมเตียงคนไข้ โดยมีอาจารย์หมอยืนเป็นพี่เลี้ยง ให้นักศึกษาเรียนรู้จริงจากคนไข้ ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนแพทย์ฝึกหัดมีความสามารถเพียงพอจึงผ่านไปสู่การเป็นแพทย์จริงๆ เข้าใจว่าพยาบาลก็เช่นกัน

นักศึกษาพัฒนาชนบท ไม่มีการลงสู่ชนบทแล้วเอาประเด็นที่พบมาถกกันให้ทะลุไป ที่ส่งนักศึกษาไปฝึกงานนั้นก็ดูจะ แค่ได้ไปชนบทเท่านั้นเอง….

อ้าว….ไปจนได้ อิอิ



Main: 0.059854030609131 sec
Sidebar: 0.11798191070557 sec