Knowledge gap..

โดย bangsai เมื่อ ธันวาคม 19, 2009 เวลา 9:28 ในหมวดหมู่ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม #
อ่าน: 2704

วันหนึ่งผมไปทานอาหารกลางวันที่ร้านตะวันทอง ขอนแก่น ซึ่งเป็นร้านมังสวิรัติที่ใหญ่ที่สุด และผมเป็นลูกค้ามาตั้งแต่สิบปีที่ผ่านมา ผมได้หนังสือมาเล่มหนึ่งชื่อ “ควอนตัมกับดอกบัว” เขียนโดย มาตินเยอ ริการ์ และ ตริน ซวน ตวน แปลโดย กุลศิริ เจริญศุภกุล และดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ เป็นอีกเล่มที่ผมชอบมาก เพราะสนใจศาสนากับวิทยาศาสตร์ และสังคม ผมอ่านไม่เท่าไหร่ก็ Post ไปคุยกับ น้องชิว ต่อไปนี้เป็นการแสดงความเห็นของผมกับน้องชิวครับ


น้องชิว(ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ)ครับ

แว๊ปมาคุยด้วย ทั้งๆที่งานเขียนยังเร่งไม่เสร็จเลย เบื่อๆก็แว๊ปมาบ้าง

ตาม ติด ติดตามงานของชิวแล้ว พี่กลับเข้าหมู่บ้านที่ดงหลวง ก็เห็น..เอ…จะเรียกว่าอะไรดีล่ะ ช่องว่าง หรือ หลุมดำ หรือ Knowledge gap หรืออะไรก็ช่าง แต่ความหมายมันคือ วิทยาศาสตร์ คือการที่คนเราพยายามเข้าใจกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ และเมื่อโลกมีอายุเท่านี้ นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาความรู้ที่เข้าใจกฏเกณฑ์ทางธรรมชาติ ของจักวาร มากมาย จนคนธรรมดาอย่างพี่ตามไม่ทัน และคนส่วนใหญ่ก็ตามไม่ทัน กลุ่มนักวิทยาศาสตร์นั้นไปไกลมากๆ นักสังคมวิทยามานุษยวิทยาดูจะไม่เขยื้อนเท่าไหร่…


ในขณะที่การดำรง ชีวิตของคนมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลกยังพัฒนาบนพื้นฐานการมีชีวิตรอด ที่ไม่ได้ไปไกลไปกว่าเมื่อ 30 ปีหรือ 50 ปีที่ผ่านมา เช่นชุมชนในชนบท หนึ่งปีที่ชนบทก้าวไปนั้น พัฒนาช้ากว่าหนึ่งปีที่วิทยาศาสตร์ก้าวไปข้างหน้า ตรงนี้เองคือหลุมดำ ตรงนี้คือช่องว่าง

พี่วนเวียนในวงการพัฒนาชนบทมามากกว่า 30 ปี กล่าวได้ว่า การพัฒนาเมื่อ 30 ปีที่แล้วกับวันนี้ เราก็ยังทำเรื่องซ้ำๆ กิจกรรมซ้ำๆ แม้ว่าจะขยับออกไปบ้างก็เป็นเรื่องเครื่องมือ เทคนิค มุมมอง วัตถุ แต่ความรู้ความเข้าใจ จิตสำนึก มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะกลุ่มคนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับการลงทุนทางการเงิน เครื่องมือ ตรงข้ามเราสูญเสียหลายอย่างไปด้วยซ้ำ เช่น ทุนทางสังคม วัฒนธรรมที่ดีดี จิตใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หดหายไปมากกว่าที่จะงอกงามขึ้นมา


ทุกครั้งที่พี่เข้าไปชนบท เห็น พูด สัมผัส ชาวบ้าน ก็หนักใจเพราะการก้าวเดินของงานพัฒนาเชิงคุณภาพนั้น ช้ากว่าการไหลบ่าเข้ามาของค่านิยมใหม่ๆ ที่ใครต่อใครก็พูดกันมานานแล้ว การสำนึก และการตื่นขึ้นมาตั้งสติต่อการออกแบบการดำรงชีวิตในสถานการณ์ปัจจุบันอย่าง เหมาะสมนั้น ดูจะไม่นิ่ง กว่าที่จะโน้มน้าวให้ชาวบ้านเปลี่ยนจากการใช้สารเคมีมาใช้สารชีวภาพก็ยาก เย็นแสนเข็ญ แต่ง่ายเหลือเกินที่เขาจะเดินไปที่ร้านข้างบ้านแล้วบอกซื้อเครื่องดื่มชู กำลัง วันละขวด หรือมากกว่า

เมื่อพี่ออกมาจากชนบท ตระเวนมาในสังคมแห่งนี้ สัมผัสเรื่องราวสารพัดเรื่อง ความรู้สึกเปรียบเทียบมันเกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ นึกเลยไปในอนาคตว่า หากคนเราห่างกันทางด้านความรู้มากมายจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ลุงชาลีในดงหลวงแม้จะถูกยกย่องว่าเป็นปราชญ์ชาวบ้าน แต่แกไม่ประสีประสาเลยในเรื่อง นาโนเทคโนโลยี่ ตรงข้าม อีตา McKenna แกไปไกลสุดๆโลกแล้วแกจะเข้าใจไหมว่าพิธีฆ่าหมูบูชาผีที่บ้านดงหลวงเพื่อต้อนรับสมาชิกใหม่ในชุมชนนั้น คือ คุณค่าดั้งเดิมที่ชุมชนนี้ยอมรับและปฏิบัติกัน เมื่อมีคนใหม่เข้ามาอยู่ในชุมชน และอยู่กันอย่างพี่น้องร่วมกัน


พี่ยอมรับว่าคนเราไม่จำเป็นต้องรู้ไปหมดทุกเรื่อง แต่สังคมทุนนั้นมักจะเอาช่องว่างตรงนี้แหละทำมาหากิน หากวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต วิทยาศาสตร์เพื่อสังคม จะเป็นสิ่งประเสริฐยิ่ง และหากทุนนิยมเพื่อชีวิต เพื่อสังคม พี่ก็จะไม่คิดอย่างที่แสดงไว้ข้างบน

เป็นเพียงตั้งประเด็นเล่นๆน่ะครับ เพราะพี่เป็นคนสามโลก คือโลกชนบท โลกในเมืองที่รับรู้การเคลื่อนที่ไป และโลกจินตนาการที่อยากให้สังคมเป็นไป

แค่มาเล่าให้ฟังน่ะครับน้องชิวครับว่ามีมุมมองแบบนี้อยู่ครับ..อิอิ

« « Prev : เรียนรู้ชาวบ้าน..

Next : น้ำคลอง สารส้ม คลอรีน » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 ธันวาคม 2009 เวลา 14:59

    3 โลก จริงๆด้วย

  • #2 นักการหนิง ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 ธันวาคม 2009 เวลา 15:58

    สังคมเรามีความห่างของสิ่งต่างๆ มากมาย  และบนความห่างนั้นมีการฉกฉวยเพีื่อความร่ำรวย
    และโอกาส ช่องว่างจึงถ่างกว้างออกไปเรื่อยๆ
    วันก่อนดูหนังเรื่อง สลัมดอกส์ มิลเลี่ยนแนร์   เขาถ่ายทอดเรื่องราวของคนอีกโลกหนึ่งออกมา เป็นเรื่องของเด็กสามคนในสลัมที่ประเทศอินเดีย น่าดูมากเลยค่ะ

  • #3 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 ธันวาคม 2009 เวลา 18:30

    พ่อครูบาครับ กว่าจะสรุปการทดลองพืชสักชนิดหนึ่งต้องใช้เวลาหนึ่งปีหรือมากกว่า และหากจะยืนยันให้หนักแน่นก็ต้องทดลองซ้ำและขยายพื้นที่ออกไปในพื้นที่ชาวบ้านจริงๆ  แต่การโฆษณา เพื่อชี้ชวนให้ซื้อสินค้านั้น มีเล่ห์เหลี่ยมกินใจ และโดนใจวัยโจ๋

    ผมหละต่อว่านักประชาสัมพันธ์มาหลายครั้งครับว่า หากจะใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนมา ทั้งตรี โท เอกนั้นเพื่อมาสร้างเครื่องมือการสร้างฅนให้เป็นฅน มีแต่ไปทุ่มเทความรู้ดีดีไปกระตุ้นให้คนมาซื้อสินค้าของระบบธุรกิจ

    ไอ้เรารึก็ไม่มีหัวทางนี้ คิดได้แต่ว่าควรมีเครื่องมือเยอะๆในการนำมาใช้สร้างคน เพราะคนมันหลากหลาย  บางคนพูดคำเดียวบรรลุธรรม  บางคนต้องลงวมือปฏิบัติเอง  บางคนต้องเคาะกะโหลกกันมากหน่อย 

    ดูอย่าง blog นี่ซิครับ เราเห็นประโยชน์มากมายมหาศาล เปิดให้ก็แล้ว ทำ web ให้ก็แล้ว กลุ่มงานไม่กระดิกเลย เราก็ยังเดินดุ่มๆเหมือนเดิม 

    จึงคิดว่าสังคมความฝันของเรานั้น ยังหนักหนายิ่งนักครับ

  • #4 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 ธันวาคม 2009 เวลา 21:35

    น้องหนิงครับ

    ทุกสังคมมีความห่าง เป็นปกติ แต่อย่างที่หนิงกล่าวน่ะครับ ความแตกต่างนั้นคนฉลาดแกมโกงก็ใช้เป็นช่องทางทำมาหากิน ความจริงทำให้ห่างน้อยก็ได้

    พี่นึกได้ว่าสมัยที่ท่านอดีตประธาน ธนาคารแห่งหนึ่ง และเป็นอดีตรัฐมนตรีคลังด้วย ท่านเพิ่งเสียชีวิตไป สมัยที่ท่านรุ่งเรืองนั้น ท่านมีห้องตัดผมที่บ้าน จะตัดผมทีก็เหมาช่างทำผมมาตัดที่บ้านราคาครั้งละ 5 พันบาท หน้าบ้านท่านปลูกต้นไม้ชื่อ “อากาเว่”  เขาว่าราคาเป็นแสนๆ

    แต่หน้าพระราชวังเจ้าหลวงพระบางนั้น หน้าวังของท่านปลุกไม้ท้องถิ่นเป็นแถว สวยงามมาก คือ “ต้นตาลครับ” อย่างนี้เรียกว่า ศักดิ์ท่านสูงอยู่แล้วแต่ท่านทำตัวธรรมดา ลดช่องว่าง ลดความแตกต่าง เชื่อมความใกล้ชิด เชิงรูปธรรมทางวัฒนธรรมแห่งการสรรค์สร้างสถานที่ อาคาร… น้องหนิงสบายดีนะครับ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.27480101585388 sec
Sidebar: 0.08414101600647 sec