เฮ่อ ชาวนา..

โดย bangsai เมื่อ กันยายน 20, 2010 เวลา 10:48 ในหมวดหมู่ ชนบท, ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม #
อ่าน: 1980

หัวอกชาวนา หากไม่แล้งจนข้าวเหลืองเพราะแดดเผาไหม้ ก็น้ำท่วมอย่างนี้

ความพอดีเกือบจะไม่มี ขาดๆเกินๆ ชาวนารู้ดี

การคาดคะเนกับธรรมชาติมีประสบการณ์และประเพณี และตารางจันทรคติ

เป็นแผนที่ชีวิตคร่าวๆ ก็พอได้กินข้าว

ขาดเกินอย่างไร ประเพณีท้องถิ่นก็เอื้อเฟื้อกันไป สังคมอยู่ได้

แต่เมื่อฟ้าฝนแปรปรวนมากขึ้น มันกะเกณฑ์อะไรไม่ได้เลย

ยิ่งนาน้ำฝนที่ต้องใช้น้ำฝนเท่านั้น ทางเลือกชาวบ้านคือ

น้ำดี–> ดำ

น้ำไม่ค่อยดี--> ดำแห้ง

น้ำไม่ดี แต่ดินพอเปียกๆ–> สัก หยอด

ข้าวพอขึ้นฝนกระหน่ำท่วม พอน้ำลด–>ดำซ่อมส่วนที่เสียหาย

ฝนตกมาครั้งเดียวก็หายไปจะเอาไงดี ต้องเสี่ยงครั้งสุดท้ายแล้ว–> หว่านแบบไม่หวังผล หากมีโชคบ้างก็คงพอได้

ทั้งหมดนี้ขึ้นกับเงื่อนไขมากมาย เช่น แรงงานในครัวเรือน กล้าข้าว พันธุ์ข้าว ปริมาณ ภาระสำคัญอื่นๆ..สุขภาพ ญาติพี่น้องเพื่อนบ้าน ทุนจ้างแรงงาน ที่ตั้งของนา ลุ่ม ลุ่มตรงคลอง ลุ่มตรงประตูระบายน้ำ ลุ่มทั่วไป ลุ่มๆดอนๆ ดอน ที่สูง ….ฯ

นาเขตชลประทานจึงเป็นนาชั้นหนึ่ง นาน้ำฝนจึงลูกผีลูกคน

« « Prev : บ้านหลังใหม่

Next : จากฟักข้าวถึงงานสมุนไพรชุมชน » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 กันยายน 2010 เวลา 13:25

    ถ้าเป็นสภาพธรรมชาติในสมัยก่อน ชาวนาพ่อผ่อนหนักเป็นเบาได้
    แต่สภาพธรรมชาติในปัจจุบันมันผักผวนแปลกเปลี่ยนไปจากเดิม
    ชาวนารับกรรมเต็มๆ
    ไม่ใช่จะเฉพาะน้ำท่วมนาแล้งนะ ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับวิถีชาวนาล้วนเพิ่มภาระซับซ้อนมากขึ้น
    ทั้งทางตรงและทางอ้อม
    ถ้าไม่ดูแลชาวนาดีๆ ชาวนาก็จะเปลี่ยนไปเป็น ชาวม๊อบ
    คราวนี้ละเธอเอ๋ย ยุ่งยากยิ่งกว่าเขื่อนแตกเสียอีก

  • #2 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 กันยายน 2010 เวลา 13:55

    จริงครับพ่อครูบา นี่ก็ฮื่มๆ พวกจ้องหาเรื่องป่วนอยู่แล้วก็ยุส่งเลย

  • #3 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 กันยายน 2010 เวลา 14:09

    ยิ่งอยู่นอกเขตบริการของโครงสร้างพื้นฐาน ก็ยิ่งต้องใช้ความรู้(จริง)มากครับ ความรู้สร้างทางเลือก ทางเลือกสร้างโอกาส โอกาสสร้างความหวัง ความหวังสร้างงาน งานที่สำเร็จสร้างชีวิต

    ชาวบ้านที่ต้องต่อสู้ เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของบรรพบุรุษ ซึ่งถ้ามีความรู้สมัยใหม่เข้าไปสร้างทางเลือกให้ ชาวบ้านเลือกได้เองเพราะมันชีวิตของเขาครับ… แต่ผมกลัวว่าไม่เข้าไปเสริมน่ะซิ อยู่ดีๆ ก็จะไปสั่งให้เขาเปลี่ยนแปลงเลย เพื่อผลงาน เพื่อตำแหน่ง หรือเพื่ออะไรก็แล้วแต่… อย่างนี้ ไม่ไหวครับ

    น้ำหลากจัดการตั้งแต่ต้นน้ำ น้ำฝน+น้ำแล้งใช้แหล่งน้ำของหมู่บ้านซึ่งเป็นแก้มลิงไปในตัว แต่ปัญหาน้ำ แก้ไขด้วย ส.ส. มักไม่ค่อยเวิร์คนะครับ

    อปท.แบ่งงบมาทำเรื่องการพัฒนาแหล่งน้ำ (ขุด ลอก) เพียง 2%
    แต่ใช้งบแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับน้ำ (ซ่อมถนน สะพาน ขนน้ำไปแจกจ่าย เติมน้ำมันเครื่องสูบน้ำ) ถึง 7%
    ชาวบ้านน่าจะถามว่าทำอะไรกัน

  • #4 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 21 กันยายน 2010 เวลา 2:54

    เป็นไปในลักษณะนั้น..จริง อปท. มันจำลองการเมืองระดับชาติหมดแล้ว หลักการหรือปรัชญาการสร้าง อปท.ถูกการเมืองชาติครอบงำหมด การเข้าสู่อำนาจเพื่อเงินและพรรคพวก

    การสร้างชุมชนเข้มแข็งก็เป็นแค่หลักการที่เราคุยกัน แต่บางแห่งที่มีองค์ประกอบดีดีก็ใช้ได้ก็มี แต่น้อย ระบบอุปถัมภ์ถูกเอามาใช้ในทางเอื้อประโยชน์กลุ่ม บุคคลเพื่อหวังผลข้างหน้ามากกว่ามนุษยธรรม และความมีน้ำใจแก่กัน

    การจัดการน้ำหากชุมชนเข้มแข็งและอยู่ในภูมิประเทศที่มีเงื่อนไขทำได้ เช่นกรณีภาคเหนือที่มีระบบแก่เหมืองฝาย ที่เรียก ระบบชลประทานราษฎร์ (มีคนศึกษาทำ PhD หลายคน) อีสานมีบางพื้นที่ แต่หากระบบชุมชนเข้มแข็งจริงก็ทำอะไรได้มากกว่าปัจจุบันแน่นอน

    ชุมชนเข้มแข็งในความหมายนี้คิดว่าไม่ใช่ถูกดำเนินการโดยระบบราชการ ไม่ใช่รังเกียจราชการ แต่ระบบมันเองไม่เอื้อต่อการทำงานพัฒนา แม้จะมีกรมการพัฒนาชุมชน ที่พยายามก้าวออกมาจากระบบและทำงานเพื่อชุมชน แต่ไปๆมาๆ ก็จบลงที่ความเป็นราชการ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.075484037399292 sec
Sidebar: 0.064365863800049 sec