บ้านหลังใหม่
อ่าน: 2252บ้านหลังใหม่ที่ชายป่าดงหลวง
หรูที่สุด เพราะหลังคามุมสังกะสี..
มีถังรองน้ำฝน มีตุ่มเก็บน้ำไว้ใช้
เจ้าของเป็นชายหนุ่มทำนาเหมือนคนทั่วไป
เพิ่งแยกเรือนออกมาจากพ่อแม่.
รองเท้าบางคนมีราคามากกว่าบ้านหลังนี้..
บ้านหลังใหม่ที่ชายป่าดงหลวง
หรูที่สุด เพราะหลังคามุมสังกะสี..
มีถังรองน้ำฝน มีตุ่มเก็บน้ำไว้ใช้
เจ้าของเป็นชายหนุ่มทำนาเหมือนคนทั่วไป
เพิ่งแยกเรือนออกมาจากพ่อแม่.
รองเท้าบางคนมีราคามากกว่าบ้านหลังนี้..
10 ความคิดเห็น
เจ้าของบ้านต้องภูมิใจมาก ๆ กับน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง…
บางคนไม่เคยมี “บ้าน” ของตัวเองเลย แม้ัจะมีรองเท้าแพง ๆ ใส่
เอาใจช่วยครับ สร้างครอบ สร้างครัว
freemind ครับ พี่ก็ประชดประชัน สังคมเล่นบ้างเท่านั้นแหละ
ความจริงสิทธิของแต่ละคนที่สามารถจะทำอะไรก็ได้ ตราบเท่าที่ไม่ไปทับสิทธ์คนอื่น มุมนี้ถูกในสังคมประชาธิปไตย แต่ลัทธิแบบนี้มีผลตรงข้ามกับความรู้สึกนึกคิดของคนอื่นๆในสังคม มันเป็น attraction อย่างหนึ่งและเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่การกระทำตามใจตามความเหมาะสมของเงื่อนไขของแต่ละบุคคล …
อย่างที่เคยเผชิญ..เด็กคราวลูกหลานมาโกหกขอยืมเงินไปรักษาคุณยาย และค่าเล่าเรียน แต่จริงๆเธอเอาไปซื้อ มือถือราคาแพง…(เพื่อนของลูกสาวเมื่อหลายปีก่อนโน้น…)
ก้าวแรกของชีวิตเด็กหนุ่มชนบทที่มาเป็นตัวของตัวเอง ออกจากอกพ่อแม่ น่ะ ออต ความเป็นวัยรุ่นกับความรับผิดชอบต่อชีวิตและอนาคตกำลังตีกันยุ่งในหัวทีเดียวหละ อิอิ หากเขามีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีชุมชนที่ดี มีแบบอย่างที่ดี มีหลักคิดดีดี เส้นทางเดินของเขาก็ถูกสังคม สิ่งแวดล้อมประคับประคองต่อไปได้จนเขาแข็งแกร่งเหมือนรุ่นพี่พี่อีกหลายคนที่เดินไปข้างหน้าแล้ว…
แต่หากทุกครั้งที่ดูทีวี เปิดวิทยุ .. มีแต่สิ่งเย้ายวน โน้มน้าวให้เขาบริโภคในสิ่งที่เกินกว่าความรับผิดชอบของเขาจะแบกได้ และความเป็นวัยรุ่นไม่มีผู้มาประคับประคอง ก็จะหลุดจากวงโคจรนี้ เข้าสู่วงโคจรใหม่ที่มีความล้มเหลว และบาดแผลของชีวิตรออยู่ข้างหน้า
งานพัฒนาคนนั้นมันซับซ้อนมากกว่าจะบอกหนึ่งบอกสองบอกสามได้นะออต งานออตน่ะสำคัญมากๆที่สร้างความแข็งแกร่งนั้นให้เขาตั้งแต่เด็กเล็ก จะเป็นฐานสำคัญสำหรับความซับซ้อนในอนาคตที่เขาเหล่านั้นต้องเดินผ่่าน
อ้าว….พี่บางทรายประชดประชันสังคมเสียแล้ว…555555….
ผู้ที่เห็นมามาก ผ่านประสบการณ์มามาก ย่อมระลึกรู้ เห็นแจ้ง จึงดูเหมือนจะกลายเป็นคนที่ชอบพูดและบอกกล่าวแต่…
“ความจริงอันน่าโหดร้ายของสังคม”
มีคนกล่าวว่า ความจริง ความดี ความงาม นั้น เป็นสารัตถะของโลกนี้
แต่เรากลับมองและเห็นด้วย “ทัศนะอันบิดเบี้ยว” ทำให้ โลกนี้น่าเกลียด ทุกข์ และผู้คนช่างเห็นแก่ตัว
แต่น้องว่า… ใครคิด พูด ทำอย่างไรก็อิงอยู่บนฐานของทัศนะของเขา ไม่มีผิด-ถูก เราเองก็เช่นกัน เพียงรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนคิด พูด ทำนั้นก็แล้วกันค่ะ
น่าจะเอาไปเป็นแบบสร้างเรือนหอ จ๊าาบส์จริงๆ
เจ้าตัวคงพูมใจมาก ตรงนี้แหละสำคัญ
มันจะทุกข์สุขอยู่ที่ความพึงพอใจ ที่ไปที่มา หาใช่บ้านหลังใหญ่แต่ไล่จ่ายดอกเบี้ยจนตายก็ยังไม่หมด
บ้านเล็กในป่าใหญ่ ความยิ่งใหญ่อยู่ที่สภาพแวดล้อมนั้นด้วย ออกซิเจนก็เยอะ แดดอบอุ่น สีเขียวของธรรมชาติ
น้ำหมอก น้ำฝน ไร่นาชะอุ่ม ตรงนี้เรามักจะไม่เอาไปเข้าประเมินคุณค่า มันจึงตาบอดสีกันทั้งประเทศ
มีคนไทยกี่แสนคนก็ไม่รู้
ที่ตกเป็นทาสดอกเบี้ยเพราะอยากอยู่บ้านหลังใหญ่
นกน้อยทำรังแต่พอตัว ไม่รู้จักเสียแล้ว สมัยนี้
ห้า ห้า ห้า freemind มีบ่อยๆไป ที่พี่ประชดสังคมโดยการเขียนแบบนี้ เนื่องจากพี่ยังกิเลสหนาปัญญาทึบ (อ้าวนี่ประชดตัวเอง อิอิ) ก็เลยถือเป็นการปลดปล่อยอย่างหนึ่ง ห้า ห้า ห้า
ใจเรานั้นมองเห็นแต่โจทย์ข้างหน้าที่ให้คิดตลอดว่า จะทำอย่างไรจึงจะมีส่วนผลักดันให้ชุมชนก้าวไปข้างหน้าอย่างเป็นตัวของตัวเองและแกร่งพอที่จะเผชิญอุปสรรคต่างๆ ไม่มีความบริสุทธิ์ ผุดผ่องหรอก เพียงแต่สังคมควรจะมีหลักยึด และหลักนั้นควรจะทำงานอย่างได้ผลด้วย
หลายเรื่องเห็นและสังคมก็ชี้ไปที่นั่น แต่ระบบงานที่เป็นโครงการนั้นไม่เอื้อที่จะลงไปทำสิ่งนั้นๆเต็มที่ เช่น วิจัย วิจารณ์ วิภาค ฯมากันเยอะ พี่เองก็มีส่วนว่า ทุนทางสังคมคือ เกราะที่เข้มแข็งของการเคลื่อนตัวไปข้างหน้าที่ปลอดภัยที่สุดของสังคม แต่รู้ทั้งรู้ โครงการและใครๆก็ไม่เข้าไปเอามาเป็นเป้าหมายในการทำงาน ผ่านกิจกรรมต่างๆ
หลักการมีมากแต่การปรุงหลักการให้เข้าถึงรสชาดที่นุ่มนวล เหมาะกับชุมชนนั้นๆซิยากจริงๆ แถมระบบโครงการแม้จะกว้างมากกว่าระบบราชการแต่ก็ไม่กว้างมากพอสำหรับอีกหลายเรื่องนะ…
อิอิ บางที หรือหลายๆทีพี่ก็คิดอ่านกับตัวเองว่า ขณะที่พี่หาทางไปสร้างให้ชุมชนเข้มแข็งนั้น ตัวพี่เองก็หลุดลุ่ยเหมือนกัน ห้า ห้า เอิ๊กกกกก
…..แต่น้องว่า… ใครคิด พูด ทำอย่างไรก็อิงอยู่บนฐานของทัศนะของเขา ไม่มีผิด-ถูก เราเองก็เช่นกัน เพียงรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนคิด พูด ทำนั้นก็แล้วกันค่ะ….
เข้าใจแหย่นะ…. ใช่เลยครับ แต่พี่ก็คิดว่า นี่เป็นฐานคิดที่สำคัญของเสรีชนที่ลูกสาวพี่ก็อยู่ในครรลองฐานนี้ พี่มีคำอธิบายจากมุมของพี่ว่า ความเป็นปัจเจกนั้นมีความถูกต้องเสมอเมื่อเดินไปบนฐานคิดดังกล่าว หากผนวกคุณสมบัติที่เหมาะที่ควรแห่งการอยู่ร่วมกัน สังคมสัตว์เช่นผึ้ง ตัวต่อเสือ ยีนส์แห่งเผ่าพันธุ์กำหนดบทบาทหน้าที่มันมาตั้งแต่เกิดว่าโตขึ้นมาจะเป็นผึ้งงาน เป็นนางพญา เป็นตัวต่อทหาร ทำหน้าที่ของมันเต็มที่ แต่คนมีความสามารถมากกว่านั้น และหากไม่มีตัวกำกับแห่งการอยู่ร่วมกัน ความรับผิดชอบแห่งการกระทำของเรานั้นซึ่งมีจริงก็ยังอาจไปเหลื่อมและกระทบกับสิ่งที่มนุษย์มีมากกว่าผึ้งและตัวต่อ นั่นคือ อารมณ์ วัฒนธรรม จารีตแห่งการอยู่ร่วมกัน ลูกสาวพูดหลายคำ แสดงเหตุผลหลายอย่างถูกต้องในเหตุและผล แต่สิ่งที่ถูกต้องในเหตุและผลนั้นช่างไปกระทบอารมณ์ผู้เป็นพ่อเป็นแม่ได้ ซึ่งหากมีหลักแห่งการอยู่ร่วมกันเข้ามาผสมผสานให้กลมกลืนเธอก็อาจจะใช้กระบวนวิธีอธิบาย แสดงเหตุผลใหม่ที่ soft มากกว่า เหตุผลอันเดียวกันแต่ Positive มากกว่า นี่คือมารยาท นี่คือ กระบวนการเชิงบวก นี่คือครรลองแห่งการอยู่ร่วมกัน อาจเป็นเพราะท่วงท่าแบบนี้เป็นรากเหง้าของสังคมตะวันออกก้ได้นะ ที่สังคมตะวันตกไม่ค่อยมี
ด้วยสาระเหล่านี้ พี่เองก็ติดตามเส้นทางเดินของลุกสาว เธอออกจะฝรั่งๆ เพราะเธอไปเรียน high school ที่ NZ เมื่อเธอมาทำงานกับบริษัทฝรั่งจึงเข้ากันได้ แต่เธอจะมีเรื่องมาปรึกษากับเราผู้เป็นพ่อแม่ว่าพี่คนนั้น เป็นงั้น พี่คนนี้เป็นอย่างนี้ จะทำอย่างไรดี เจ้านายรับเธอแต่ไปกระทบรุ่นพี่พี่..
อ้าว ไปตลาดสามชุก ออก เซนทรัลเวิลด์ไปเลย อิอิ
พ่อครูบาครับ หนุ่มคนนี้พูมใจครับ ที่นี่คือผลงานจากแรงงานน้ำเหงื่อของเขา
อาจเรียกว่าเป็นความพูมใจครั้งแรกในชีวิตที่เป็นตัวตนแท้จริง ผ่านมาเอาแต่พึ่งพาพ่อแม่
ก้าวต่อไปนี่แหละที่เขาจะต้องเดินไปด้วยตัวเองที่มีสิ่งแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติ ชุมชน วัฒนธรรม การเคลื่อนตัวของวิถี กำกับเขาอยู่ เขาต้องเลือกและตัดสินใจเอง งานของเราก็แค่ชี้ทางออก บอกทางไปให้เขา แต่สิ่งดีดีที่เป็นรากเหง้าเดิมของชุมชนยังประคับประคองเขาอยู่ เช่น ระบบ เจ้าโคตร ความเชื่อศรัทธาในสิ่งเหนือธรรมชาติ อาจจะดูเหลวไหลในหลายมุมมอง แต่ผลการกระทำออกมาดี เราก็ไม่ควรไปรังเกียจเดียดฉันท์พิธีกรรมเหล่านั้น
ขอบคุณพ่อครูบาครับ
มาลงชื่อซึมซับถ้อยคำค่ะ สื่อของแต่ละคนอาจทำไม่ได้ทั้งหมดเท่าที่คนนั้นมีอยู่ในใจ ในสมอง เวลาเราอ่านที่ใครเขียนแล้วคิดว่านี่เหมือนที่เราคิดเลย แต่ให้เราเขียน เราก็เขียนอย่างนั้นไม่ได้ นึีคือข้อจำกัดหนึ่งที่นักวิชาการอาจมองข้ามเหมือนเส้นผมบังภูเขา ถ้าเพียงแต่จะเข้าใจว่า สื่อนั้นยังไมหมดสิ้นทุกสิ่งที่มีที่เห็น ที่คิด ก็จะมีช่องว่างเป็นกันชน กันกระแทกให้หลายๆความสัมพันธ์ ทั้งพ่อ แม่ ลูก สำหรับที่บ้าน ครูกับครู ครูกับนักเรียน และ ที่ทำงาน ทุกหนแ่ห่ง ดังที่พี่บางทรายเคยเขียนไว้ในบันทึกหนึ่งค่ะ ขอชื่นชมพี่บางทรายที่เชื่อมต่อได้งดงามยิ่ง เส้นผม ก็เหมือนภูเขาเน้อะ ถ้ายกออกไปได้ ความกระจ่างมันมากจริงๆ เวลาคนเราเข้าใจผิด อาจแปลว่า เข้าใจไม่หมด และการแสดงออกที่ขัดแย้ง อาจแปลว่า ยังถ่ายทอดไม่นุ่มนวลพอ ไม่ใช่ก้าวร้าวโดยเจตนา ขอบพระคุณค่ะ
5555 ป้าหวานพาไปออกแม่โขงเลย เขาอยู่กันที่ แม่น้ำชี มูล…เอิ้กๆๆๆ มากกว่า ไปตลาดสามชุก ออก เซนทรัลเวิลด์ไปเลย..อีก.. อิอิ
ป้าหวานครับ ผมเป็นคนภาคกลาง(มีวัฒนธรรม ประเพณีชุดหนึ่ง) ไปเรียนภาคเหนือ ทำงานภาคเหนือหลายปี (ภาคเหนือก็มีวัฒนธรรม ประเพณีชุดหนึ่ง) ไปแต่งงานกับคนใต้ (ภาคใต้ก็มีวัฒนธรรม ประเพณีอีกชุดหนึ่ง) ดันมาทำงานภาคอีสาน (ซึ่งมีวัฒนธรรม ประเพณีชุดหนึ่ง) และเป็นคนสองโลก เข้าๆออกๆระหว่างสังคมเมืองกับชนบท จึงอาจจะผ่านความเป็น multi-culture จนตัวเองปนเปสับสนไปหมด อิอิ เช่นพูดอีสานออกเหนือ ไปเหนือจะฟื้นฟูภาษาเหนือก็ติดคำอีสาน จนขำตัวเองบ่อยๆ ลูกสาวก็หัวเราใส่ ปาป๊าพูดอะไรน่ะ ห้่า ห้า ห้า…
แต่แง่ดีก็ได้เรียนรู้ความแตกต่างของวัฒนธรรมประเพณี ระบบติด บุคลิก ท่วงท่า personality ถามว่าคนใต้เป็นไง อิอิ รู้ดีซิ แต่เราก็เป็น “คนนอก” อยู่ดี ไม่ใช่ “คนใน” แบบสนิทแนบ หากบอกว่าไหนบอกว่าเป็นคนเกิดภาคกลาง ลองแสดงความเป็นคนท้องถิ่นภาคกลางหน่อยซิ การพูดเหน่อ เป็นคุณสมบัติหนึ่งของท้องถิ่นที่พี่เกิดก็ทำไม่เนียนเท่า เพราะเราออกจากท้องถิ่นมานาน เลยเป็นคนแบบผสมผสาน และคนยุคใหม่ก็เป็นเช่นนั้น อาจจะพูดว่า คนรุ่นใหม่ มีกรุงเทพฯเป็นต้นแบบมากกว่า ก็อาจจะพอกล้อมแกล้มไปได้…
การสัมผัสกับท้องถิ่นต่างๆมาพอสมควร จึงเชื่อมั่นในวัฒนธรรมชุมชน มีข้อดีมาก วิถีของคนโบราณที่คนปัจจุบันบอกว่า เหลวไหล งมงาย แต่ก็ดีกว่าเดินตามตูดฝรั่งไปแบบไม่เข้าใจแก่นแท้ของเขาจริง คนโบราณมีหลักการอยู่ร่วมกันดีมากในมุมมองพี่ แต่เราจะอนุรักษ์ไม่ได้ ต้องใช้คำว่า จะยอมให้ปรับเปลี่ยนแต่คงคุณค่าได้อย่างไร
ข้อสังเกตุของพี่คือ เราเข้าถึงรูปธรรมมาก เช่นติชมว่าวัดนี้สวยงามจริงๆ บางคนอาจจะโจมตีไปเลยเถิดได้ว่า สวยแต่ทำไมต้องสร้างให้หรูเหริดเกินความจำเป็น มุมมองของพี่คือ หลายแห่งสมควรกล่าวเช่นนั้น แต่หลายแห่งคนกล่าวอาจเข้าไม่ถึงสิ่งที่เป็นนามธรรมที่ซ่อนอยู่ในรูปธรรมนั้นๆ เช่นวัดภูก้อนที่พี่เพิ่งไปมา ตระกูลวรวรรณและญาติโยมทุ่มเงินหลายร้อยล้านสร้างถาวรวัตถุที่แสดงตัวตนของศาสนา ที่บางคนอาจจะกล่าวว่าเอาแต่สร้างถาวรวัตถุ เดินดูก็งั้นๆ เออ สวยดี.. แต่มุมของพี่มองผ่านเลยตรงนี้ไปว่า การขึ้นมากราบรูปของหลวงพ่อพระอาจารย์ใหญ่ทั้งหลายในสถานที่มีบรรยากาศของธรรมอาณาจักรนั้นมันมีอารมณ์กล่อมเกลาสำนึกเราให้ก้าวไปสู่สิ่งที่พระองค์ประกาศ ก้าวไปสู่เส้นทางเดินของพระอาจารย์ใหญ่ มากกว่าจะติดอยู่ที่วัตถุธรรมข้างนอก กล่าวอีกที หากสถานที่นั้นๆจะช่วยให้เราตระหนักถึงหลักคำสอนของศาสนา ทุกครั้งที่เราก้มกราบเราก็พึงสังวรไว้เสมอว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านผู้ใดที่ผ่านมาพบแล้วอาจก้แค่นั้น ก็แค่นั้น แต่ท่านผู้ใดผ่านมาพบแล้วเกิดวูบวาบในจิตใจที่หยั่งรู้คุณค่าของธรรมศาสนวัตถุก็มีส่วนช่วยกล่อมเกลาตรงนี้ หากมองผ่านรูปธรรมเข้าถึงนามธรรม และค้นพบสัจจธรรมได้ละก็ ประเสริฐแท้ ที่อาจารย์หมอประเวศท่านกล่าวว่า การถอดระหัส
อ้าว ผมเพ้อเจ้อไปอีกแหละ ป้าหวาน อิอิ