ประเด็นวิจัยเพื่อการพึ่งตนเอง
อ่าน: 2162เขียนบันทึกจากคนไม่มีกรอบถึงคนชายขอบแล้วก็ปิ๊งประเด็นวิจัยขึ้นมา..
สังคมเราน้อมนำพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักของการทำงานพัฒนาสังคม ครอบครัว ชุมชน โดยเฉพาะหน่วยงานราชการและหน่วยงานพัฒนาชนบทต่างก็เอาไปเป็นสาระสำคัญของการทำงาน
หากจะมองลงไปในรายละเอียดนั้น หลักการนี้ หรือแนวคิดนี้ก็คือการพยายามสร้างระบบการพึ่งตัวเองขึ้นมาตามเงื่อนไขของแต่ละคน แต่ละครอบครัว ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามรายละเอียด
ประเด็นก็คือ ครอบครัวหนึ่งในชนบท มีที่นาทำกิน และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆเพราะต้องแบ่งให้ลูกหลายคน ที่สวนก็พอมีและลดลงเรื่อยๆเพราะต้องแบ่งให้ลูก ความรู้ก็แค่ ป.4 ลูกสามคนก็กำลังเป็นวัยรุ่น เสื้อผ้าต้องซื้อ น้ำมันรถมอเตอร์ไซด์ต้องซื้อ ทำนาต้องจ้างรถไถ บางครั้งต้องจ้างแรงงานบ้าง หยูกยาบางครั้งต้องซื้อ เครื่องใช้ในครัวเรือน สารพัดต้องซื้อ หมดยุคผลิตเองใช้เอง..
วันดีคืนดี มีโครงการฯเข้ามาบอกว่า เพื่อการพึ่งตนเองนั้น ต้องลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ให้ทำโน่น ทำนี่ ทำนั่น บางเรื่องก็ดี ชอบ บางเรื่องก็แปลกๆ ฝืนๆยังไงไม่รู้ เมื่อทำตามคำแนะนำแล้ว แต่ทั้งหมดก็ยังต้องหารายได้จำนวนหนึ่งเพื่อซื้อหาสิ่งของที่ผลิตไม่ได้อยู่นั่นเอง..
เอ… “ในครอบครัวชนบทแบบนี้ ต้องมีรายได้ขั้นต่ำเท่าไหร่จึงจะพออยู่ได้” เป็นรายได้ขั้นต่ำที่ไปประกอบกับการพึ่งตัวเองในด้านต่างๆ แบบมีหลักประกันด้วย…
นี่คือประเด็นการวิจัย ตั้งไว้กว้างๆแบบนี้แหละ ใครสนใจก็ไปพัฒนาเอาเองเด้อครับ
« « Prev : จากคนไม่มีกรอบถึงคนชายขอบ
Next : เวลาของอีกวิถีหนึ่ง.. » »
6 ความคิดเห็น
ประเด็นเรื่องนี้น่าสนใจค่ะพี่บู๊ท แหมคันมือ อิอิอิ
เท่าที่ทราบ มีหลายชุมชนและผู้นำชุมชนหลายท่าน ได้ทำวิจัยประเด็นนี้แล้ว
แม้ไม่ได้เป็น งานวิจัยที่เป็นรูปแบบตามฟอร์มของ “การวิจัย” โดยทั่ว ๆ ไป เป็นการเก็บข้อมูลโดยคนในชุมชน วิเคราะห์ วิจารณ์และหาข้อเสนอแนะร่วมกันของชุมชน เป็นฐานข้อมูลเบื้องต้นที่ใช้ทำแผนแม่บทในการพัฒนาชุมชนของตน
กลุ่มของครูภูมิปัญญาไทยและเครือข่าย เช่น ชุมชนไม้เรียง ของครูประยงค์ รณรงค์ (นครศรีรรมราช) ชุมชนลาดบัวหลวง ของครูสำรวย มีสมชัย (อยุธยา) มูลนิธิฮักเมืองน่าน ท่านพระครูพิทักษ์นันทคุณ และอีกหลาย ๆ ที่ในภาคเหนือ อีสาน
และเห็นด้วยกับพี่บางทรายค่ะ ทุกชุมชน ทุกกลุ่ม (ด้วยซ้ำไป) ที่ควรมีข้อมูลเหล่านี้ไว้ จะได้จัดทำแผนการพัฒนาของตนได้อย่างมีข้อมูลอ้างอิงที่ถูกต้อง ไม่ต้องรอให้ใครมาทำวิจัย (ผิดบ้างถูกบ้าง) แต่ทำด้วยตนเอง
สวัสดีค่ะพี่บางทราย เมื่อเช้าดูทีวีกับลูกเรื่่องการใช้ทรัพยากรรอบตัวให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้วประทับใจชุมชนที่เค้าไปสัมภาษณ์มากค่ะพี่
ส่วนตัวพี่สนใจน่ะน้องเบิร์ด สมมุติว่าจะวิจัยหรือจะศึกษาแบบไหนก็แล้วแต่ แล้วได้คำตอบออกมา เราก็มองต่อไปในแง่ว่า การออกแบบกิจกรรมเพื่อการพึ่งตนเองในท้องถิ่นต่างๆนั้นร่วมกับชาวบ้าน ที่กระชับมากขึ้น แม้ว่าจะมิใช่คำตอบสุดท้าย แต่ก็เห็น และเข้าใจได้ว่า ควรนำเสนออะไรต่อท้องถิ่น ควรกระตุ้นให้เกิดการปรึกษาหารือกันในแนวใดบ้าง ในฐานะคนทำงานชนบทก็เห็นดังกล่าวนี้แหละครับน้องเบิร์ด
freemind ครับ อาจจะไม่ถึงกับวิจัยเต็มรูปแบบก็ได้ หรือใครจะหยิบไปทำให้ถูกต้องตามระเบียบวิจัยก็ดี ประเด็นของผมก็คือ จะเอาผลนั้นมาประกอบการนำไปออกแบบการทำกิจกรรมเพื่อการพึ่งตนเอง ให้เกิดความรอบด้านมากขึ้น และเห็นรูปธรรมมากขึ้น กระชับมากขึ้น
หากท่านผู้นำที่มีชื่อเสียงเหล่านั้นจัดทำการศึกษาและมีตัวเลขอยู่แล้วก็ยิ่งดีครับ แหมอยากรู้รายละเอียดเรื่องนี้จังเลยจะได้เอาเป็นแบบอย่างและสานต่อแนวทางนี้
ปัจจุบันนั้นเรื่องการพึ่งตนเองนั้นเราสนับสนุนชาวบ้านให้ทำกิจกรรมต่างๆเพื่อลดรายจ่ายนั้นไม่ยาก แต่การเพิ่มรายได้นี่ซิ ไม่ง่ายเลย
น้องนิดครับ แนวคิดเรื่องนี้ ความจริงชนบทในอดีตทำมาก่อนแล้วโดยธรรมชาติมาเปลี่ยนไปเพราะระะบบทุนนิยมนี่แหละ แล้วปัจจุบันเรากลับไปมองของเดิมที่เราผ่านมา ดีที่มีกรณีตัวอย่างมากมายทั่วทุกภาคของประเทศไทยเรา