Fuse
เบอร์หนึ่งของหน่วยงานไปเยี่ยมพื้นที่ ก็มีการเตรียมงานกันพอสมควร สำหรับผมนั้นเฉยๆเพราะไม่ใช่ข้าราชการจึงพร้อมที่จะเผชิญของจริง และก็เผชิญจริงๆ…
หนึ่ง: ก่อนมาก็มีคนส่วนกลางส่งข่าวมาสองสามครั้ง จะเอาข้อมูลเรื่องนั้นเรื่องนี้ แค่แผนที่เข้าพื้นที่ก็ทำให้ถึงสามแบบสามครั้ง ทั้งแบบ Google ที่เป็น satellite ทั้งแบบ map แบบวาดจำลอง ไม่เอาจะเอาตามตัวอย่างที่ส่งมา โธ่หนังสือแผนที่ก็มี เสียเวลากับแค่ทำแผนที่นี่มากมายไร้ประโยชน์ เมื่อถึงเวลาจริงๆ ก็ไม่ได้ใช้แผนที่ที่สั่งการมา เพราะมีคนเจ้าถิ่นนั่งรถไปด้วย รู้ทั้งรู้ว่าต้องมีคนนั่งไปด้วย ทุกอย่างต้องป้อนให้นาย โดยการสั่งการให้ลูกน้องทำแทบตาย…นี่คือระบบราชการ
สอง: เบอร์หนึ่งมาคนเดียว ผู้ติดตามสี่สิบห้าคน ล้วนใหญ่โตทั้งนั้น เป็นการเดินทางที่เทอะทะ ใหญ่โตเกินเหตุ สิ้นเปลือง …นี่คือระบบ..red tape
สาม: ลงเครื่องที่อุบล มาถึงมุกบ่าย 5 เข้าร้านอาหารเวียตนาม กินของเล่นก่อน แล้วประชุม 6 โมงกำหนดการต้องเลิก 2 ทุ่ม ทั้ง 4 จังหวัดต้องนำเสนองานแบบรีบเร่ง ตัดสาระออกให้ได้เวลาที่กำหนด แต่ละจังหวัดเตรียมนำเสนอกันไม่ต่ำกว่า 30 นาทีพร้อมเอกสาร ในที่สุดก็จบลงที่ สองทุ่ม ทานอาหารมื้อค่ำกัน แล้วแยกย้ายกันไปพักผ่อน ….นี่คือการมาดูงาน
สี่: ขบวนแวะที่สำนักงาน เดินชมสถานที่ ถ่ายรูป แล้วเดินทางต่อ ท่านผู้ใหญ่รองลงมาจากเบอร์หนึ่งบอกให้เรานั่งไปกับเบอร์หนึ่ง นั่งคู่กับเบอร์สองเพื่ออธิบายให้ท่านทราบถึงโครงการ ท่านเบอร์สองก็ทำหน้าที่ซักเราให้ท่านเบอร์หนึ่งได้ยิน เราก็เล่าให้ฟังทั้งหมด ท่านเบอร์สองก็ถามสารพัดพร้อมแสดงความเห็นต่องานที่ทำตามมุมของท่านที่มีประสบการณ์มา แต่ท่านเบอร์หนึ่งนั่งหลับอยู่ข้างหน้า..?
ห้า: พาท่านลงไปที่อาคารสูบน้ำของโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า อธิบายสั้นๆแล้วก็ตรงเข้าประเด็นปัญหา แค่ประเด็นแรกเท่านั้นเอง เราเรียนท่านว่า ปัญหาที่พบตลอดมาทุกปีคือทรายมาถมทับหัวสูบน้ำ ต้องเกณฑ์ชาวบ้านมาขุดลอกซึ่งปริมาณมากต้องใช้เวลา 3 วันแรงงาน ประมาณ 25 คน
เท่านั้นเอง ท่านเรียกวิศวกรมาถามว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร วิศวกรเตรียมเรื่องนี้มาเสนอท่านอยู่แล้วก็กางแบบแปลนที่เตรียมมา…ใช้วิธีเอาน้ำในถังเก็บข้างบนมาพ่นใส่ทรายให้ฟุ้งแล้วดูดเอาออกไป…ด้วยปริมาณน้ำ…ลบม. เฮด เท่ากับ 30 บีบท่อให้เล็กลงมาเหลือ 4 นิ้ว แล้วบีบลงอีก…ติดหัวพ่น แล้วมีตัวดูดออก….
คุณมีตัวอย่างความสำเร็จวิธีการนี้ไหม….ไม่มีครับ..???!!! อ้าวแล้วคุณมั่นใจได้อย่างไรว่าวิธีนี้จะใช้ได้ที่นี่
มีวิธีอื่นไหม…ท่านผอ.กอง…..มีครับ คือผมเคยใช้ระบบปิด..ฯ…..
ใช้เวลาถกเรื่องนี้มากกว่า 45 นาทีเลยไม่ได้ไปดูพื้นที่ตรงอื่นเลย ในที่สุด ข้าราชการคนหนึ่งบอกว่า ไหนลองติดเครื่องสูบน้ำดูซิ
ผมรายงานฉะฉานว่าติดเครื่องไม่ได้ครับ เพราะมีปัญหาระบบไฟฟ้า…???!!! เป็นมากี่วันแล้ว ผมตอบสามวันมาแล้วครับ แล้วแก้ไขอย่างไร… ก็ต้องติดต่อตัวแทนบริษัทที่กรุงเทพฯให้ส่งช่างชำนาญการเรื่องนี้มาทำ แล้วจะมาเมื่อไหร่…
วุ้ย…..ตูจะบ้าตายมาบีบคั้นเอาคำตอบเบ็ดเสร็จกันตรงนี้เลยหรือ ก็เขายังไม่ตอบมาว่าจะมาเมื่อไหร่..เพราะเรื่องมันเพิ่งเกิดเราก็พยายามเต็มที่ เราทำงานมาเรารู้ดีว่าปัญหานี้เดือดร้อนถึงชาวบ้าน หากระบบเสียหาย ก็กระทบถึงชาวบ้านแน่นอน เราก็ถึงกับคิดระงับการผลิตพืชฤดูแล้งปีนี้ด้วยซ้ำไป..เพราะปัญหาระบบสูบน้ำไม่ร้อยเปอร์เซนต์
แต่ก็รับปากว่าจะแก้ปัญหานี้ให้ได้ภายในสัปดาห์หน้า… ท่านบอกว่า “ผมจะมาดูสัปดาห์หน้า”...โอ้โฮ ดีจริงๆ นายใหญ่จะเข้ามาดูอีก..
ในที่สุดคณะที่นั่งรถยาวเหยียดก็ออกจากพื้นที่โครงการไปสกลนครต่อไป..
หก: เรารีบกลับลงไปที่อาคารสูบน้ำ เรียกเจ้าหน้าที่ทุกคนมาแล้วตรวจสอบซิว่าที่บอกว่าจะลองเปลี่ยน Fuse ระบบดูนั้นทำไมไม่ทำ…คำตอบคือ หากล่อง Fuse สำรองไม่พบ เ..ว…ร..เอ้ย…
หาจนพบ ลองเปลี่ยนแล้วลองทดสอบติดเครื่องดู พบว่า เครื่องก็ไม่ทำงาน เอางี้ เข้าเมืองมุกดาหาร ไปซื้อ fuse มาใหม่ทั้งหมด ใช้ 17 ตัว เอา fuse นี้ไปด้วย ระยะทาง 60 กม. มาถึงตัวเมืองมุกดาหาร ไปหาร้านไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดสามร้าน ไม่มี fuse ขนาด 4 A ….เวรเอ้ย… เอ้างั้นตรวจสอบซิว่า fuse ที่เอามาด้วยนี้อันไหนเสียบ้าง พบว่าไม่เสียซักอัน งั้นหันหัวรถกลับไปดงหลวงใหม่อีก 60 กม.เอาไปเปลี่ยนใหม่ให้หมด
ผมลงที่สำนักงานเพราะต้องเร่งทำการสรุปเรื่องราวเพื่อทำรายงานต่อไป ปล่อยให้ลูกน้องบึ่งรถไปทำหน้าที่ อีกหนึ่งชั่วโมงถัดมาเสียโทรศัพท์ดัง เสียงลูกน้องดังลั่นสายว่า เครื่องทำงานแล้ว……
โธ่เอ้ย.คน(ลูกน้อง).โธ่เอ้ย..Fuse
เจ็ด: มาทบทวนพบว่าลูกน้องเปลี่ยน Fuse ใหม่ไม่หมดทุกตัว ซึ่งทั้งหมดมี 17 ตัว ไอ้ตัวที่ไม่ได้เปลี่ยนนั่นแหละมันเสีย….โธ่ ….ตู….
สรุป… ลองมาบีบแขนขาตัวเอง เอ ทำไมมันน่วมๆก็ไม่รู้..ห้า ห้า ห้า
10 ความคิดเห็น
เราติดต่อช่างไฟฟ้าจาก กฟ.มาตรวจสอบก่อนหน้าแล้ว เขาพบว่า กระแสไฟฟ้าจากหม้อแปลงใหญ่จนถึงเข้าระบบนั้นดีหมด แต่มาถึงตู้ควบคุมระบบทั้งหมดนั้น เขาไม่กล้าเข้ามาทำอะไรเพราะนอกขอบเขตของเขา และเราทราบดีว่าระบบไฟฟ้าที่นี่ดีเท่าระบบไฟฟ้าโรงงาน ควบคุมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หากเป็นอะไรไปต้องช่างจากบริษัทเท่านั้นที่จะแก้ไขได้ ช่างทั่วไปทำได้แค่ทำความสะอาดและตรวจสอบ fuse เท่านั้น เนื่องจากไฟฟ้าที่ดงหลวงไม่เสถียร กระชาก และมีฟ้าผ่าบ่อยๆ จึงมี อีกตัวที่ควบคุมคือ capacitor ในที่สุดก็เป็นที่ fuse
ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ดูแลหรือ ไม่มีครับ เพราะโอนให้ อบตไปแล้ว แต่ อบต.ไม่มีบุคลากรที่เป็นช่างมาดูแล กำลังคุยกับทางอำเภอและผู้ว่าฯ ขอให้จัดจ้างเจ้าหน้าที่มาดูแล….
มันส์พะยะคะ
พ่อครูบาฯครับ
มีข้อดีหลายประการครับที่ท่านเบอร์หนึ่งไปเยี่ยมคือ อะไรที่เป็นปัญหาติดค้างอยู่ ข้าราชการก็เดินลิ่ว ฉิวไปเลย เรื่องทรายท่วมทับหัวสูบน้ำนี้ เราทำหนังสือส่งขึ้นไปแล้วหลายฉบับ ตั้งแต่อาว์เปลี่ยนอยู่นู้น นี่ข้ามมาสองสามปีแล้ว จะรีบทำกันวันนี้พรุ่งนี้แหละทีนี้..หึ หึ
เนื่องจากท่านเป็นข้าราชการเก่ากรมชลประทาน จึงรู้เรื่องเหล่านี้ดี และเข้าใจเกษตรกรผู้เพาะปลูกดี จึงสนับสนุนทุกอย่างเพื่อให้เกษตรกรได้น้ำไปเพาะปลูก
ให้ทบทวนค่ากระแสไฟฟ้าที่เกษตรกรจ่ายเพราะสูงเกินไป นี่หากท่านไม่ไปเยี่ยม ทุกอย่างก็เดินไปตามกติกาที่เดินหน้ามาแล้ว คือราชการหมดการสนับสนุนค่ากระแสไฟฟ้าไปแล้ว ท่านเป็นผู้ใหญ่ติดสินใจได้ว่าให้กลับมาทบทวนใหม่ คือยืดการสนับสนุนต่อไปอีก 1 ปี
แต่ทั้งหมดไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะนั่นคือเรื่องเทคนิค และการบริหารจัดการ ที่สำคัญสุดและยากยิ่งสุดคือ การเปลี่ยนชาวบ้านให้มาสนใจการปลูกพืชเศรษฐกิจที่เราเรียก contract farming ซึ่งอันนี้มันสวนกระแส
ที่ว่าสวนกระแสคือ หลักการโครงการเน้นการพึ่งตนเอง ลดละเลิกการปลูกพืชเชิงเดี่ยว หันมาปลูกพืช ที่หลากหลายและชาวบ้านกินได้ขายได้ แต่พืชระบบ contract farming นั้น ต้องขายโรงงานอย่างเดียวและล้วนมักเกี่ยวข้องกับสารเคมี ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ แม้ว่าจะมีหลายพืชที่พยายามใช้เป็นอินทรีย์มากขึ้นก็ตาม แต่ก็มีความซับซ้อนในการดูแลมากซึ่งไม่เหมาะสมกับอุปนิสัยของเกษตรกรที่ง่ายๆ ไม่ต้องดุแลมาก ไม่ต้องทุ่มเทเวลามาก เพราะเขาชอบขึ้นป่า …
เราพิสูจน์ในปีนี้ว่า มันสำปะหลังอินทรีย์สามารถทำได้และเพิ่มผลผลิตได้ด้วยจาก 3 ตันต่อไร่เป็น 8 ตันต่อไร่
เรื่องนี้ผมรับโจทย์ยากมาทำงาน แต่ก็ท้าทายดีครับ
น่าติดตาม อย่างยิ่ง ครับพี่น้อง
พ่อครูครับฯ
เราสรุปว่า พืช Contract Farming นั้นไม่เหมาะสมกับดงหลวง เพราะชาวบ้านไม่คุ้นเคยกับ พืชพวก Intensive crop ที่ต้องดูแลใกล้ชิด ถามว่าแล้วจะเอาพืชอะไรมาปลูก
ผมคิดว่าย้อนกลับไปเอาพืชง่ายๆ หรือพืชที่เขาคุ้นเคยมาแล้ว คือ ข้าว และ มันสำปะหลัง
ข้าว คือทำการตเพิ่มผลผลิตข้าว และทำข้าวอินทรีย์ โดยอาศัยระบบน้ำที่มี แต่ไม่ใช่ทำนาปรังนะครับ ทำนาปีนี่แหละ แต่ระบบน้ำเป็นแค่เสริมในช่วงที่ฝนไม่ตก ขาดแคลน ผลผลิตข้าวอินทรีย์ก้ดีกับสุขภาพเขา และขายในราคาที่สูงขึ้นกว่าปกติ อาจพิจารณาเอาเกณฑ์ของทางราชการมาควบคุมเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค
มันสำปะหลัง ชาวบ้านปกติทำแบบง่ายๆ ปลูกแล้วทิ้งให้เทวดาดูแล เราก็มาทดลองใช้ปุ๋ยชีวภาพ มูลสัตว์ น้ำหมักพ่นใบ แกลบ พบว่า หัวมันยาวกว่าเมตร มีน้ำหนัก ได้ถึง 8 ตันกว่า เกือบสามเท่าของที่เคยผลิต หากทำดีกว่านี้ก็จะน่าได้มากกว่านี้ครับ มันอินทรีย์น่าที่จะสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร โดยไม่ต้องปลุกมาก ครอบครัวละไม่เกิน 5 ไร่
ตอนนี้เกษตรกรคนที่ทำการเพาะปลูกมาแล้ว มั่นใจว่าจะทำต่อไปและจะทำให้ดีมากขึ้น
ผมไม่ใช่นักเกษตรแต่ต้องเล่นเกษตร คิดว่าจะลุยในช่วงเวลาที่เหลืออยู่นี่ครับ
บริหารจัดการเทคนิคนั้นไม่ยาก เพราะมันมีขั้นตอนแล้ว แต่พัฒนาคนที่ซิ หากไม่คลุกจริงๆไม่มีทาง อย่าหวังว่า พูดดีดี เพราะๆสองสามชั่วโมงแล้วเขาจะบรรลุธรรม เปลี่ยนแปลงทันทีในวันรุ่งขึ้น ไม่ใช่ ยิ่งเรารู้ว่า ไทยโซ่ เป็นคนชอบป่า ดอย ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก มีลักษณะพิเศษ ก็ต้องยิ่งหาจุดสร้างเขาให้ได้… โจทย์ยาก แต่ค่อยๆคิดอ่านทำไป อาจใช้เวลาสักหน่อยก็คุ้มค่าหากเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นครับ
ข้าวที่ว่านั้นเป็นพันธุ์อะไรคะพี่บู๊ด
ของที่นี่เป็นข้าวดอย ชาวปกากะญอเรียกว่าบือโป๊ะโระ เป็นพันธุ์พื้นเมืองอยู่มานานดั้งเดิม เม็ดอ้วน ๆ สั้น ๆ สีขาว เหลืองหรือน้ำตาล มีการวิจัยพบว่าสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าหอมมะลิหลายเท่า ปลูกง่ายด้วยค่ะ ไม่ใช้น้ำเหมือนข้าวข้างล่าง
วิธีปลูกคือจะเข้าฝนก็เผาที่ผืนนาให้ราบเรียบ (อันนี้จะเปลี่ยนให้ได้เลย) แล้วเอาจอบไปสับ ๆ เอาเมล็ดพันธุ์ข้าวไปหยอด กลบแล้วก็ปล่อยไว้อย่างนั้น เพราะเค้าใช้น้ำน้อยมาก ๆ ค่ะ ไม่ต้องไปคอยรด ไม่ต้องไปใส่ปุ๋ย คอยดูแต่หญ้าก็พอแต่พอต้นขึ้นแล้วก็ปล่อยไปคอยเกี่ยวอย่างเดียว เพราะอึดมากโรค แมลงไม่มี ให้ผลผลิตดีนะคะขนาดเหลือกินเอามาขายได้ล่ะ
ตอนขึ้นแม่สลองพี่บู๊ดเห็นเค้าเอาข้าวมาให้พี่แดงเนาะคะ เบิร์ดยังแปลกใจว่าทำไมบนนั้นกินข้าวหอมมะลิแถมขัดขาวด้วย ซึ่งข้าวดอยที่เบิร์ดว่าขายที่ตลาดข้างล่างลิตรละ 25 บาทนะคะ ได้ราคาเชียวล่ะ เบิร์ดซื้อมากินบ่อยเพราะเค้าสีแบบข้าวกล้อง มีจมูกข้าวครบ หุงก็นุ่มดีนะคะ
ข้าวที่ชาวบ้านปลูก พันธุ์พื้นบ้านหายไปเกือบหมดสิ้น เพราะกรมส่งเสริมการเกษตรเอาข้าว กข.ไปเปลี่ยนพันธุ์ เป็นเจตนาดีของทางราชการ แต่มาถึงปัจจุบันมันไม่ใช่แล้วนะครับ เมื่อปีที่แล้วเอาข้าวพันธุ์ที่ชื่อพิลึกพิลั่น คือ พันธุ์ “เล้าแตก” ไปให้ชาวบ้านปลูก ก็โอเคอยู่นะ พันธุืเล้าแตกนี้ พี่เอาความรู้มาจาก อาม่าหลินฮุ่ย ที่ไปบรรยายทางทีวี ว่ามันเป็นพันธุ์พื้นบ้านที่มีคุณค่าอาหารเหมาะแก่คนเฒ่าคนแก่มาก พอดีลูกน้องคนหนึ่งเป็นคนกาฬสินธุ์ บ้านเขามีพันธุ์นี้เลยเอามาขยายให้ชาวบ้านปลูกครับ หากชาวบ้านชอบใจปีหน้าก็จะขยายออกไปอีก
ส่วนพันธุ์ที่เบิร์ดกล่าวถึง ชื่อ พิสดารนั่น “บือโป๊ะโระ” ก็น่าสนใจ ดูจะเป็นข้าวไร่หรือเปล่าครับ เอ…หากเอามาทดลองก็น่าจะดีนะ อ่านดูคุณสมบัติแล้วน่าสนใจครับ
ขอบคุณครับ
น้องเบิร์ด เมื่อกี้พี่เข้าไปหาข้อมูลมาแล้ว สนใจครับ เดี๋ยวพี่จะเอาเรื่องนี้ไปคุยกับ ผอ.ศูนย์ขยายพันธุืพืช กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นน้อง มช.เขาน่าจะให้ข้อมูลได้มากขึ้นในแง่วิชาการว่า หากเอามาทดลองปลุกทางอีสานจะเป็นอย่างไรบ้าง ขอบคุณครับ
ดีจังค่ะที่พี่บู๊ดเข้าไปค้นหา เค้าเป็นข้าวไร่ค่ะพี่บู๊ด ปลูกง่ายมาก เพราะชาวปกากะญอเค้าก็รักอิสระไม่ชอบอะไรที่วุ่นวายต้องดูแลมากมายอยู่แล้ว ถามเค้าว่าปลูกที่ข้างล่างได้มั้ยเค้าบอกว่าได้ มีคนเอาไปปลูกตั้งเยอะแล้ว เห็นดอยรายปลายฟ้าที่ส่งข้าวให้รพ.เค้าก็มีมาขายนะคะ เรียกง่าย ๆ ว่าข้าวดอย …มีข้าวเหนียวดอยด้วยค่ะพี่บู๊ด
พี่โทรคุยกับ ผอ.ศูนย์ขยายพันธุ์พืชกาฬสินธุ์แล้ว เขาบอกว่า ปลูกได้ทางอีสาน หากอุณหภูมิเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 20 องศา ปลูกได้ แต่หากเอาไปปลูกทางภาคใต้อาจจะมีปัญหาเพราะระบบนิเวศต่างกัน เขาบอกว่าที่ศูนย์ขยายพันธุ์ข้าวไร่สะเมิง(อ้าว..ถิ่นเก่าเรา)น่าจะมี และที่ขอนแก่นก็ที่ศูนย์ขยายพันธุ์พืชชุมแพก็น่าจะมี ให้ลองติดต่อดู เดี๋ยววันอังคารคงรู้เรื่องครับ