อยู่รอด
อ่าน: 1160หลังจากหลักสูตร “การประเมินคุณภาพสิ่งส่งมอบ” เสร็จสิ้นลงแล้ว มีบางเรื่องที่ได้ยิน-ได้ฟังเบื้องหลังมา ที่อยากบันทึกไว้เป็นมุมมอง เผื่อว่าจะมีโอกาสได้ไว้ใช้ประเมินตน
เมื่อยามที่วันวารแห่งปีได้หมุนเวียนมาถึงเดือนกันยายน ในขณะที่ผู้ที่จะละจากระบบมีความยินดีกันถ้วนหน้ากับการหลุดพ้นและมีอิสรภาพจากเวลาที่ให้กับตารางงานที่มีกรอบกติกา ก็มีผู้ที่ใจหล่นลงไปถึงตาตุ่มด้วยความห่วงใยกับความอยู่รอดของหน่วยงานตน ด้วยไม่รู้ว่าหน่วยงานตนจะถูกยุบลงหรือไม่
อันที่จริงงานในหน้าที่ไม่สมควรที่จะมีคำว่า”ยุบงาน” เกิดขึ้นหรอกนะ แต่ไหงจึงมีฉันก็ไม่รู้เหมือนกัน เคยเห็นก็แต่งานถูกเปลี่ยนรูปไป แต่หน้าที่ไม่เปลี่ยน ทำให้รู้สึกฉงนฉงายกับวิธีจัดกรอบหน้าที่อยู่มากมาย มันเหมือนกับงานในหน้าที่ขึ้นกับการให้ความหมายของคนทำงานยังไงยังงั้น
ในความเข้าใจของฉัน หน้าที่เป็นภารกิจขององค์กรมากกว่าคน คนจึงมีหน้าที่ทำงานให้องค์กร เนื่องจากองค์กรเป็นนามธรรม ทำงานเองไม่ได้ ผู้ทำงานบริหารคือผู้ที่ถูกมอบให้ทำให้หน้าที่ที่เป็นนามธรรมเกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมให้จับต้องได้
และหากองค์กรที่กำลังกล่าวถึงทำหน้าที่ดูแลประชาชนในนามรัฐ มีด้วยหรือที่หน่วยงานจะถูกยุบลงด้วยว่าไม่มีหน้าที่ต้องทำแล้ว หน้าที่ดูแลประชาชนของภาครัฐปล่อยให้คนอื่นดูแลแทนได้จริงหรือ? แล้วถ้าเป็นเรื่องของการคุ้มครองประชาชนเล่า ให้ภาคอื่นดูแลแทนรัฐได้หรือ?
แปลกใจจริงเชียว ที่ได้ยินได้ฟังว่า ที่หน่วยงานถูกยุบเพราะหน้าที่ที่ทำ้นั้น ได้ส่งมอบให้หน่วยงานที่มีฐานะเป็นองค์กรในกำกับของรัฐดูแลแทนแล้ว อ้าว กลายเป็นถ้ารัฐดูแลกำกับหน้าที่นั้นด้วยการทำหน้าที่ตรวจสอบด้วยกลายเป็นหน้าที่ส่วนเกิน แปลกใจผู้บริหารจริงๆ แล้วรัฐทำหน้าที่อะไรบ้างเล่า? ออกกฎหมายอย่างเดียวหรือ รับเรื่องร้องเรียนอย่างเดียวหรือ ออกกฎแล้วใครกำกับ ควบคุมกฎนะ อยากรู้จริง คนตัดสินว่าละเมิดกฏนะมีอยู่แล้วไม่กังขา หรือว่าบ้านนี้เมืองนี้เขาจะให้กระทรวงต่างๆทำงานไขว้กัน ตรวจสอบกันได้ จริงๆหรือ? ตรวจสอบกันได้จริงหรือ?
เมื่อมีเรื่องทำนองนี้ บรรดามีที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานที่กำลังจะถูกยุบ พากันวิ่งวุ่นเพื่อหาโอกาสเข้าถึงผู้บริหารและชี้แจงเรื่องความจำเป็นของหน้าที่ที่กำลังทำอยู่ ในขณะที่องค์กรในกำกับของรัฐก็ยืนอยู่ข้างๆผู้บริหารและบอกผู้บริหารว่า หน่วยงานนี้ทำหน้าที่ซ้ำกับที่ตนกำลังทำอยู่ เกมส์อย่างนี้ใครได้ใครเสียกันนะ พอมองออกบ้างไหม?
ที่กังขาอีกเรื่องก็คือ ความรู้เรื่องหน้าที่ขององค์กรในตัวผู้บริหาร เหมือนดังว่า ผู้บริหารไม่รู้จักหน้าที่ขององค์กรเลย หน่วยงานไหนใครบอกว่าให้ยุบก็ยุบตามไปเรื่อย หน่วยงานไหนใครบอกให้ตั้งใหม่ก็ตั้งใหม่ไปเรื่อย อย่างนี้เชียวหรือ
หากผู้บริหารไม่รู้ว่าองค์กรมีหน้าที่อะไร อย่างไร ก็เหมือนการเป็นไม้หลักปักขี้เลน คนทำงานที่ไปเกาะอยู่บนไม้หลักอย่างนี้มีแต่จะอยากหนีตาย เพราะรู้ว่าจะพาพวกเขาไปฝังในขี้เลนให้หายใจไม่ออกได้ อย่างนี้ความมั่นคงขององค์กรจะเหลืออะไรนะ
องค์กรสำคัญๆระดับรัฐเป็นไม้หลักปักขี้เลน ใครเสียประโยชน์เดาได้ไหม
มุมดีที่มองเห็น คือ เป็นความดีที่แต่ละองค์กรระดับประเทศต่างมองการดูแลประชาชนเป็นผลประโยชน์ของตน เป็นประโยชน์ของหนทางที่จะทำให้องค์กรตนอยู่รอดที่มีร่วมอยู่
มุมด้อยที่มองเห็นก็คือ การดูแลประชาชนมีหลายมิตินะ ที่แย้งและแย่งกันทำหน้าที่อยู่ต่่างมองแค่มิติเดียว อย่างนี้ประชาชนไม่ได้รับการดูแลผลประโยชน์หรอกนะ ด้วยว่าไม่มีการคานหน้าที่กัน มอบแล้วมอบหน้าที่ไปเลยให้ทำแทนโดยไม่ต้องคาน ไม่ต้องงัดจะดีหรือ
หากแบ่งๆกรอบการทำงานร่วมกันให้ชัดเจนว่าหน้าที่ ใครทำ ใครกำกับได้ การเสียประโยชน์ของประชาชนฝ่ายเดียวก็จะเปลี่ยนไปเป็นได้ประโยชน์ทุกฝ่ายนะ เป็นการอยู่ร่วมที่มีความหมายมากกว่าทีเดียวสำหรับทุกคน ประชาชนก็อุ่นใจกับการที่รัฐเป็นที่พึ่งนะ
ยุคเปลี่ยนผู้บริหาร เป็นช่วงที่ทำให้คนทำงานมีทั้งสุขและทุกข์ ไม่ว่าคนที่ผละจากไปด้วยหมดหน้าที่แล้วตามวาระหรือคนที่ยังมีวาระอยู่ทำงานต่อตามหน้าที่ โลกของการทำงานใบนี้ไม่เปลี่ยนไปเลย
อย่างนี้หรือเปล่าทีี่มีคนเขาเรียกว่า “การเมืองในองค์กร” นะ
เรื่องนี้ให้บทเรียนรู้สำคัญว่า คนเป็นหัว สำคัญๆๆๆๆ
ว่าแล้วก็นึกไปถึงนิทานเรื่อง “กบเลือกนาย” และแล้วปัจจุบันขณะก็เตือนใจให้วางอุเบกขากับอะไรๆที่กำลังจะได้เจอะเจอตามมาในไม่ช้านี้ นะอุ้ยนะ
บันทึกอื่น
2. เยี่ยม
« « Prev : เยี่ยม
3 ความคิดเห็น
อ่านแล้วยิ้มกว้างววววว
หน้าที่ทับซ้อน ผู้บริหารบางคนรู้แต่ว่าตัวเองทำอะไร แต่ไม่เคยเห็นภาพทั้งหมดว่า งานไปทับซ้อนหรือขาดโหว่ตรงไหน
สุดท้ายก็ตัดสินใจบนข้อมูลที่ขาดแหว่ง
คนลำบากระยะแรกอาจจะเป็นคนทำงานระดับปฏิบัติ แต่ระยะยาว ก็คือประชาชนนั่นแหละค่ะน้องว่านะ…แพะทั้งปี
อย่างที่พี่สร้อยว่านั้น ผมคิดว่าผู้บริหารไม่รู้ว่าหน้าที่ของตัวเองคืออะไรนะครับ
ถ้าผู้บริหารกำหนดขอบเขตหน้าที่เฉพาะที่รู้สึกว่าเป็นของตนเอง แทนที่จะเป็นขององค์กร ผู้บริหารท่านนั้น น่าจะไปนั่งต่อจิ๊กซอว์แทนการทำงานบริหารครับ
#1 เป็นเพราะว่าเวลาเอาแพะมาตุ๋น รสชาดมันอร่อยรึเปล่านะ (เนื้อแพะเป็นเนื้อสัตว์ที่ปลอดไขมันที่สุด แถมเลี้ยงง่าย ให้อะไรก็กินดะ อย่างนี้กระมัง จึงมีคนชอบแพะ…อิอิ
#2 เวลาเป็นบริวารในเมืองตาหลิ่ว ที่มีผู้บริหารแบบว่าอย่างความเห็นน้อง ทำใจลำบากกับการหลิ่วตาตามจริงๆเลยน้องเอ๋ย ในระยะยาวหากบริวารหลิ่วตาตามนั่งต่อจิ๊กซอว์ด้วย เมืองทั้งเมืองจะเป็นอย่างไรไม่รู้เนอะ ได้ใครเป็นแพะบ้าง คราวนี้ตื่นเต้นกันไปทั้งเมืองอีกแหละ