รู้สึกอย่างไร เรียนรู้อะไรกับบทเรียนในวิถี “คืนแรก ณ เมืองเจียงฮาย”-1
อ่าน: 1601ขอลอกเลียนเคล็ดลับที่ใหญ่ชอบใช้มาทดลองทำดูหน่อยว่าให้ผลอะไร เคล็ดลับนี้ตาลแห่งห้องนั่งเล่นเคยบอกให้ได้ยินในวันที่ไปถึงห้องนั่งเล่นครั้งแรกค่ะ เธอเล่าว่า เธอมักจะถูกถามด้วยคำถามว่า “รู้สึกอย่างไร เรียนรู้อะไร”
มองภาพรวม อืม! รับรู้ความแตกต่างระหว่างคำว่า “มอง”กับ “ดู” เรียนรู้ว่า สองคำนี้มีระดับความละเอียดไม่เท่ากัน
ลองนำสองคำมารวมกัน อืม! รับรู้ว่า ”มอง-ดู-เห็น” มันเกิดพร้อมกันเร็วมาก ในขณะที่ “มอง” ใจไม่รับรู้ ในขณะที่ “ดู” ใจเริ่มรับรู้แต่ยังไม่ให้เสียง ความคิดยังไม่เริ่มทำงานตัดสิน ในขณะที่ “เห็น” เป็นเวลาที่ความคิดเริ่มทำงานตัดสิน แล้วบอกให้ใจให้เสียงออกมาให้ได้ยินเป็นเสียงแรก
เสียงแรกที่ได้ยินทำหน้าที่ปกป้องตัวตนให้อยู่รอด ซึ่งในกรณีของวิถีที่เชียงใหม่ที่นำมาทบทวนบทเรียนรู้นี้ เป็นการอยู่รอดของใจที่อยู่ภายในตัวตนค่ะ
เมื่อใจสั่งให้ปกป้อง ตัวตนก็ตื่นขึ้น แล้วคอยบอกให้ใจส่งเสียงต่อไป จึงมีเสียงแรกของผู้นำทิศอื่นๆส่งเสียงออกมาเพื่อปลุกให้ตัวตนอื่นๆตื่นขึ้นมาช่วยให้ใจอยู่รอดต่อไป ความผ่อนคลายที่เกิดจากการไม่ติดกรอบเวลา การไม่มีเงื่อนไขในการดำรงอยู่ในวิถี การที่สิ่งแวดล้อมทำให้ใจมีเสียงแรกบอกว่า “ปลอดภัย ผ่อนคลาย” อีกทั้งกายก็ไม่มีปัญหาอะไรในการดำรงอยู่ ทำให้นิเวศของฉันสมดุลในขณะที่อยู่ที่คณะเภสัชศาสตร์ในวันนั้น ผลความสัมพันธ์ในนิเวศทำให้ทั้งกายและใจของฉันอยู่รอดและอยู่ร่วมกันอย่างผ่อนคลาย ยังผลให้ใจรับรู้กับความสุขที่เกิดขึ้น
ข้อแนะนำไว้พัฒนาตนก็คือ ถ้ารู้จักหน่วงให้ความคิดช้าลงจนกริยา 2 คำแรกมีระยะห่างกันสักหน่อยหรือปล่อยวางความคิดในขณะ “มอง” ”ดู” สิ่งที่อยู่ตรงหน้าจะ “เห็น” ต่างกัน
“เห็น” มีผลมาจากใจสัมพันธ์กับความคิดผสมกันจนละเมียด ณ เวลาหนึ่งออกมาเป็นการรับรู้ด้วยเสียงแรกที่ได้ยิน
การไม่มีเงื่อนไข คือ การหลุดกรอบใดๆ เป็นเรื่องหนึ่งที่พึง “ลอง” “ฝืน” พัฒนาตน การจะหากรอบให้เจอ พึงฝึกฝนการหน่วงตัวเองให้ฟังจนได้ยินเสียงแรก ณ เวลาหนึ่งของผู้นำแต่ละคน ได้ยินแล้วให้เชื่อมโยงกลับมาใคร่ครวญและฟังเสียงแรกที่เป็นเสียงเริ่มต้นอีกครั้ง แล้วจะพบทางสว่างของการแปลงร่างด้วยอาวุธคือผู้นำสี่ทิศให้สมดุล
บรรยากาศของความผ่อนคลาย สร้างได้ด้วยการปลดกรอบเวลาให้หลวม การไม่มีเงื่อนไขเป็นกรอบรัดรึงผู้คน ช่วยปลดล็อคให้เกิดความผ่อนคลายขึ้น บางทีเราก็ไม่รู้ว่า เราติดกรอบ หรือไม่ จนกว่าเราจะหน่วงตัวเองจนมีเสียงในตัวเราเตือนขึ้นให้เกิดความสะกิดใจ
บทสรุป : หน่วง “มอง-ดู-เห็น” เพื่อให้ได้ยินเสียงแรกที่เริ่มต้นให้ชัดๆ
ใจมีเสียงด้วยน่ะ
รสชาติของการลองของ เป็น การเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่เป็นผลมาจากใจสั่งมาให้ฝึกเดินออกจากพื้นที่ไข่แดงซะบ้าง
เมื่อได้ลองแล้วก็ได้ลิ้มรสชาติของมันว่า “ไม่เห็นเป็นอะไร”
การที่ไม่ยอมลอง ไม่ใช่เพราะความเป็นหนู ไม่ใช่เพราะใจสั่งมา แต่เป็นเพราะ “กายต้องการให้ใจอยู่รอดจึงส่งเสียงสั่งให้ผู้นำทิศอื่นๆมาปกป้องหนูตะหาก”
ปลดกรอบเวลาให้หลวม ปลดกติกาที่รัดรึงให้หลวม ความผ่อนคลายจะเกิดขึ้นมาเอง
Keywords : หน่วงให้ช้า มอง-ดู-เห็น ลองของ ปลดกรอบให้หลวม ไม่เป็นไรหรอก ไม่เห็นเป็นอะไร ฝืนอย่างละเมียดละไม
หมายเหตุ บันทึกนี้ตัดตอนมาจากบันทึกเรื่อง “ติดกรอบ กับ ลองของ ฉุกใจคำนี้” เลยยกความเห็นของน้องรอกอดตามมาด้วย
ชอบข้อสังเกตเกี่ยวกับ มอง-ดู-เห็น ครับ น่าจะเป็นเช่นเดียวกับ แว่ว-ได้ยิน-ฟัง
สมัยสงครามโลกเลิกใหม่ๆ พ่อผมไปเรียนอังกฤษ ไปอยู่กับครอบครัวพระ รู้จักแต่ในนามของ “ท่าน vicar” พ่อเล่าว่าท่าน vicar จบ Oxford มีครุยเก่าๆ ซึ่งเกือบเน่าแล้ว แต่ชาว Oxford ถือว่ายิ่งเก่ายิ่งขลัง
ท่าน vicar สอน English literature ให้เวลาที่อยู่บ้าน (vicarage) ด้วยความอยากรู้อยากเห็น ผมก็ถามพ่อว่า English literature นี่ เรียนแล้วได้อะไร เหมือนอ่านนิยายหรือไม่ พ่อตอบว่าได้ “น้ำหนักคำ” คำแต่ละคำ มีน้ำหนักไม่เท่ากัน ภาษาจะสละสลวยหรือไม่ ความคิดจะลึกซึ้งหรือไม่ ส่วนหนึ่งดูกันตรงนั้น
เท่านั้นล่ะครับ ปิ๊งเลย ถ้าความคิดยังติดแหงกอยู่แค่ ผิด/ถูก หรือ ใช่/ไม่ใช่ โลกจะมีแค่สองสี เป็นไบนารี ไม่มีสุนทรีย ไม่มีน้ำหนัก ไม่มีความลึกซึ้ง เหมือนประชาธิปไตยคือเสียงข้างมาก
จิตใจที่ละเอียดอ่อน และไวต่อความรู้สึก มีน้ำหนักเหมือนกัน!
ขอบคุณสำหรับบันทึกครับ
« « Prev : ติดกรอบ กับ ลองของ ฉุกใจกับคำนี้
Next : ถอดบทเรียนกระบวนกร-1 » »
ความคิดเห็นสำหรับ "รู้สึกอย่างไร เรียนรู้อะไรกับบทเรียนในวิถี “คืนแรก ณ เมืองเจียงฮาย”-1"