เขียนบันทึกไม่จบ
อ่าน: 1780
งานเข้า เลยเขียนไม่จบสักบันทึก อิอิ
วันที่ 20-21จะไปภูเก็ต ค้างคืนเดียว ไม่มีโอกาสได้พบท่านอัยการ เพราะโปแกรมแน่นเลยตั้งแต่ลงไปถึงก็ทำงานเลย ยังมีอีกหลายครั้งครับที่จะลงไป
เป็นงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพราะกรมธนารักษ์ตั้งงบประมาณสร้างศูนย์ประชุมและนิทรรศการนานาชาติภูเก็ต ที่หาดไม้ขาว เคยมีการศึกษาแล้ว แต่ทางกรมฯให้ทำเพิ่มเติม ทีมงานของเราก็ลงไป
อาคารศูนย์นี้หากสร้างขึ้น จะรองรับการประชุมระดับนานาชาติได้ หากพิจารณาเผินๆก็น่าที่จะเป็นเหตุผลจูงใจให้มีการชักนำการประชุมนานาชาติที่ภูเก็ต ก็จะมีรายได้เข้าประเทศ เพราะมีระบบธุรกิจที่เกี่ยวข้องอีกมากมายที่จะคึกคัก ตามมา เช่น อาหารการกิน การคมนาคม การท่องเที่ยว สินค้า และ ฯลฯ ซึ่งกรมธนารักษ์ก็คาดหวังเช่นนั้น
การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและอื่นๆ มีส่วนดีที่จะทำการศึกษารายละเอียดและสรุปออกมาว่า การก่อสร้างและการดำเนินงานของศูนย์นี้จะบรรลุเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร จะส่งผลกระทบอะไรบ้างไหม เท่าไหร่ อย่างไร ฯลฯ
เท่าที่ศึกษาเอกสารและฟังชาวภูเก็ตพูดคร่าวๆก็ทราบว่า ปัจจุบันปัญหาที่เผชิญก็พอสมควรในเรื่องสาธารณูปโภค หากมีคนมามากขึ้น อยู่กินหลายวันก็อาจจะเป็นปัญหาได้ นี่คือข้อกังวล
ทั้งนี้เพราะว่า น้ำดื่มภูเก็ตนั้นอาศัยน้ำฝน และนำเข้ามาจากแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากภูเก็ตมีแรงจูงใจชาวต่างชาติมาท่องเที่ยวและมาลงทุน รวมไปถึงมาสร้างบ้านพักที่นี่ คนท้องถิ่นบางคนกล่าวว่า คนภูเก็ตอพยพไปที่อื่น ฝรั่งเข้ามาอยู่อาศัยมาก มากจนเกิดธุรกิจต่อเนื่องที่เราคาดไม่ถึง เช่น มีเที่ยวบินราคาถูกสายตรงจากภูเก็ตไปอุดรธานีทุกสัปดาห์ โดยไม่แวะกรุงเทพฯ มีผู้รู้กล่าวว่า เที่ยวบินสายตรงนี้บินเพื่อพาฝรั่งจากภูเก็ตไปต่อวีซาที่ลาว….???!!! แล้วกลับไปใช้ชีวิตที่ภูเก็ตต่อ..
ไม่มีอะไรหรอก แค่มาเล่าให้ฟังเฉยๆ และรูปก็ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่องด้วย เอามาใส่เฉยๆ อิอิ
เมื่อวันที่ 13 ที่ผ่านมา ตอนบ่าย ฝนตกที่ขอนแก่นมากทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในเมือง และที่ ถนนมิตรภาพหน้าร.พ.ศรีนครินทร์ ส่วนที่ท่วมมากกว่านี้ก็มีแต่ถ่ายรูปไม่ทัน ถนนกลายเป็นคลองรวมน้ำที่มาจากมอดินแดง คือ มข. มอคือโนน คือเนิน คือที่สูง น้ำจากพื้นที่สูงส่วนใหญ่คือพื้นที่มข.ก็ไหลมารวมกันตรงนี้ นี่ขนาดตกแบบที่เรียกว่าฝนไล่ช้าง คือมาหนักแล้วผ่านไป หากตกหนักเป็นเวลานาน อะไรจะเกิดขึ้น
ทีสถานี MRT แห่งหนึ่ง ผมขับรถไปรอลูกสาวเมื่อเธอเลิกจากงานแล้วนั่งรถใต้ดินมาโผล่ตรงนี้ แล้วผมรับกลับบ้านพักแถวบางเขน ผมไม่ได้คลุกคลีกับกรุงเทพฯ การขับรถไปไหนมาไหนมันลำบากใจกลัวจะเฉี่ยวชน กลัวไปไม่ถูก กลัวหาทางเข้าจุดเป้าหมายไม่ถูกแล้วเลยเป้าหมาย ..ฯลฯ หากไม่จำเป็นจริงๆก็ใช้บริการแท็กซี่ แต่งานนี้ลูกสาวขอให้ไปรับเธอ ส่วนหนึ่งเธออยากให้ผมมีประสบการณ์ในกรุงเทพฯ อิอิ ไม่ค่อยอยากมีสักหน่อย เมื่อลูกขอร้องก็เอาซะหน่อย
ผมเอารถไปจอดที่จอดรถก่อนเวลานานเป็นชั่วโมง ไปก่อนเวลาก็เพราะเกรงว่าอาจมีปัญหาจะได้มีเวลาแก้ไข เมื่อถึงที่หมายก็ผ่านด่าน พนักงานให้การ์ดจอดรด เรารับไว้ หาที่จอดได้แล้ว ซึ่งอาคารจอดรถเป็นตึกสักสิบชั้นได้มั๊ง สำหรับคนทำงานเอารถมาจอดที่นี่แล้วนั่งรถใต้ดินไปทำงาน เลิกงานก็กลับมาเอารถ วันแล้ววันเล่า ปีแล้วปีเล่า จาก “กระฉับกระเฉง” เป็น “ชินชา” แล้วเข้าสู่ “เชื่องช้า” มันเป็นวิวัฒนาการของคนทำงานในระบบ ในเมืองใหญ่ แต่คำว่าเชื่องช้า อาจไม่ได้มีความหมายจะต้องเป็นทางลบ แต่เช่องช้าเพราะสุขุมมากขึ้น มีประสบการณ์มากขึ้น ไตร่ตรองมากขึ้น จึงใช้เวลามากขึ้นในการทำอะไร ตัดสินใจอะไร…
ลูกสาวบอกให้ผมเดินลงไปใต้ดินดูโน่นดูนี่ ผมก็ลองทำดู เดินสวนทางคนที่เลิกงานมาเอารถกลับบ้านเป็นกลุ่มๆ ดูหน้าตาส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานต้นๆ หรือกลางๆ และจำนวนมากในกลุ่มนั้นเป็นสตรี หลายคนมีสายเสียบหูต่อเครื่องมือถือ หรือ iPhone อะไรสักอย่าง ผมลงไปสองชั้นด้วยบันไดเลื่อนที่ทำงานเร็วมากเมื่อเทียบกับบันไดเลื่อนที่ห้างสรรพสินค้า น่าจะใช้ไฟฟ้ามหาศาล เพราะมันเดินเครื่องตลอดไม่ว่าจะมีคนหรือไม่มี สถานที่เป็นโล่งๆ ไม่มีร้านค้าใดๆ อาจเป็นเพราะยังลงไม่ถึงล่างสุด เพราะมีด่านการ์ดทำหน้าที่ตรวจวัตถุต้องห้ามสำหรับทุกคนที่ผ่านเข้า ผมตัดสินใจไม่ลงไปต่อ ย้อนกลับขึ้นมา มีแถวตู้ ATM ของหลายธนาคารตั้งบริการอยู่ มีหนุ่มๆสองสามคนไปใช้บริการ เขาอาจมีโปรแกรมต่อจากนี้ก็ได้ จำเป็นใช้เงิน อากาศอบอ้าว
ผมขึ้นมาที่จอดรถ เดินไปมาดูโน่นนี่เหมือนบ้านนอกเข้ากรุง เอาน้ำในรถมาดื่ม นึกได้ว่าผมเอาเก้าอี้ที่พับได้ติดมา จึงเอามากางมุมหนึ่งแล้วเอาหนังสือมาอ่าน สายตาสลับกับการสังเกตชีวิตความเป็นไปของคนกรุงเทพฯที่มาใช้บริการที่จอดรถใต้ดิน เดี๋ยวก็มีคนออกมาจากรถใต้ดิน ขับรถของเขาที่จอดอยู่ออกไป เดี๋ยวก็มาอีก เดี๋ยวก็มาอีก สังเกตการแต่งตัวใส่แขนยาวขาว ผูกเนคไทด์ หิ้วกระเป๋า Notebook หรือบางคนห้อยไหล่ ดูท่าทางเหนื่อยอ่อน บางคนหยิบมือถือมาโทรคุย เห็นมีรถเข้ามาจอดเหมือนกัน ดูดูไปเป็นพ่อแม่ มารับลูกสาว เออ เหมือนเราเลยนะ นั่นมาทั้งพ่อทั้งแม่ หรือสามีมารับภรรยา หรือแฟน บางคู่เกี่ยวก้อยจับมือกันหวานเจี๊ยบไปขึ้นรถออกไปด้วยกัน
ผมดูเวลาแล้ว สี่ทุ่มครึ่งแล้วรถยังจอดอยู่หนาตา แต่ก็ลดลงเรื่อยๆ มีชายหนุ่มท้วมๆคนหนึ่ง เหงื่อโซกมาเลย เดินตรงมาที่ผมนั่ง “พี่ครับ รถผมแบตหมดอยู่ชั้นบน รถพี่มีสายเชื่อมแบตไหมครับ ขอยืมไปใช้หน่อยครับ” ผมเข้าใจสถานการณ์ทันที แต่ก็จนใจเพราะในรถผมก็ไม่มี รถคันเดิมมีครบ แต่คันนี้ไม่ได้เตรียมไว้ โอย ทำไงดีจะช่วยได้.. ผมแสดงความเห็นใจแต่จนปัญญา เลยแนะนำแบบกำปั้นทุบดินว่า ติดต่อตำรวจ หรือการ์ดที่นี่ได้ไหม เขาก็บอกว่า มันก็ดึกแล้วนะ ร้านรวงต่างๆก็คงปิดไปหมดแล้ว ดูเขาเป็นห่วงมาก เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า เขามีกำหนดการอย่างไรอีก อาจจะมีพ่อแม่ที่แก่เฒ่าคอยลูกกลับบ้าน อาจมีครอบครัวคอยเขา หรือเขามีงานที่ต้องรีบกลับไปทำต่อที่บ้าน …
เขาจากไปโดยไม่ประสบผลสำเร็จในการร้องขอความช่วยเหลือจากผม ผมนึกว่า เอ เราไปช่วยเขาดันรถได้ไหม อยากช่วย สงสาร เพราะใจก็นึกไปว่า นี่เป็นผู้ชาย หากลูกสาวเราเป็นเช่นนี้บ้างจะแก้ปัญหาอย่างไร ใจคิดไปร้อยแปด คิดไปว่า เธอควรมีคู่มือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าสารพัดเรื่องแบบนี้ในเมืองหลวง อย่างน้อยที่สุด เบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญๆที่สามารถขอความช่วยเหลือ หรือขอแนะนำอะไรได้บ้าง กรุงเทพฯน่าที่จะมีหน่วยฉุกเฉินที่พร้อมเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาแบบนี้ นอกจากแต่ละบุคคลจะเตรียมพร้อมให้มากที่สุดแล้วอาจจะไม่ครอบคลุมปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้…
เป็นเวลาชั่วโมงกว่าที่ลูกสาจะมาถึง เห็นรถที่จอดอยู่ค่อยๆทยอยออกไปจนบางตามากแล้ว เรากลับบ้านกว่าจะถึงบ้านก็ห้าทุ่ม หลานอีกคนที่ทำงานยังไม่กลับมาเลย ถามเธอว่า พี่เขากลับดึกอย่างนี้ทุกวันหรือ เธอตอบว่าเป็นปกติ….???!!!
ผมไม่คิดว่าเด็กรุ่นใหม่ทำงานในกรุงเทพฯจะใช้เวลาที่ทำงานและการเดินทางมากขนาดนี้ ลูกสาสกลับถึงบ้านพัก ประมาณ สามทุ่มขึ้นไปทุกคืน ยกเว้นเสาร์ อาทิตย์ที่เธอไปเรียน ป.โทที่มหิดล ส่วนหลานสาวคนนั้นที่พักด้วยกันกลับมาถึงบ้านอย่างต่ำก็ สี่ทุ่มครึ่งทุกคืน ออกจากบ้านก็แต่เช้ามืด
เธอมีเวลาที่ทำงานและการเดินทางมากกว่าอยู่ที่บ้าน ….??!!!
มิน่าเล่าช่วงไหนมีวันหยุดสามวันขึ้นไปต่างก็แห่ออกจากรุงเทพฯไปไหนก็ได้ที่เป็นต่างจังหวัด เป็นสภาพสังคมที่ชีวิตต้องจำนนอย่างนั้นหรือ…
สงสารลูกสาว หลานสาว และคนกรุงเทพฯจริงๆ…
@
สัญลักษณ์ @ มนุษย์รู้จักมาตั้งแต่ยุคกลาง นักธุรกิจสมัยนั้นใช้เป็นตัวย่อแทนคำว่า at (ที่) หรือ each (ตัวละ) เช่น “lace@ 1 d 1 yard” (ผ้าลูกไม้หลาละ 1 เหรียญ) นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงต้องบรรจุสัญลักษณ์นี้ไว้ในเครื่องพิมพ์ดีด และต่อมาอยู่ในแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ เมื่อปี 2515 เรย์ ทอมลินสัน วิศวกรซอฟต์แวร์ชาวอเมริกันคิดค้นโปรแกรมอีเมล์สำเร็จ แต่เขาต้องการสัญลักษณ์ที่จะแยกชื่อผู้ใช้ออกจากรายละเอียดอื่นๆเกี่ยวกับตัวเครื่องในที่อยู่อีเมล์ อักษรที่เขามองหานี้จะต้องไม่ปรากฏในชื่อของใครทั้งสิ้น ในที่สุด ทอมลินสันเลือกใช้สัญลักษณ์ @
——————
ขอบคุณแหล่งข้อมูล: จาก Reader’s Digest ฉบับ พ.ค. 2548 หน้า 22
เป็น contact ที่ไม่ปกติ ได้รับบ่อย ผมลบทิ้งหมด
หนึ่ง อาจจะเป็น virus
สอง เป็นลูกแหย่ หากเราไม่รู้เรื่องเดินตามเขาไปอาจตกหลุมเรื่องเงินทอง หรืออย่างอื่น
สาม อย่ายุ่งดีกว่าลบทิ้งหมดทุกครั้ง
ตัวอย่างข้างล่างนี้
————————
New comment on your post #2874 “ขอนแก่นอบอุ่น”
Author : NIKKIHubbard22 (IP: 95.64.12.20 , 95.64.12.20) E-mail : lindathorn@mail15.com
URL :
Whois : http://ws.arin.net/cgi-bin/whois.pl?queryinput=95.64.12.20
ความคิดเห็น:
Some time before, I really needed to buy a building for my corporation but I did not have enough money and could not order something. Thank God my brother adviced to try to take the <a href=”http://bestfinance-blog.com/topics/mortgage-loans” rel=”nofollow”>mortgage loans</a> from creditors. Thence, I did so and used to be happy with my car loan.
You can see all comments on this post here:
http://lanpanya.com/dongluang/archives/2874#comments
Delete it: http://lanpanya.com/dongluang/wp-admin/comment.php?action=cdc&c=2185
สแปมมัน: http://lanpanya.com/dongluang/wp-admin/comment.php?action=cdc&dt=spam&c=2185
เฮ่อ..วันนี้ยังไม่ได้กินอะไรเลย หิวว่ะ….
ตรงนี้ปลอดภัยดีนะ ไม่มีศัตรู ไม่มีคนแอบมองเรา อิอิ
เอ้า ทำมาหากินของเราดีกว่า..อย่าไปสนเลย คนเขายุ่งกับตั้งรัฐบาลอยู่
นั่น นั่น นั่น เหยื่อเรามาแล้ว….เสร็จเราแน่ไอ้ตัวนี้
อ้าวไปซะแล้ว…เอาใหม่ เงียบๆไว้เราเดี๋ยวเหยื่อมาใหม่
น่าน…งัย…มาอีกแล้ว …คราวนี้เสร็จกระยางอย่างเราแน่…
เรามันวิญญาณนักฆ่า แม้จะไม่ใส่ชุดดำ แต่เรื่องนี้ละก็ ฉันก็หนึ่งเหมือนกัน
นี่ไง..เห็น สีมือฉันไหมง่ะ
จั๊บ จั๊บ อาหย่อยจัง….
เมื่อยว่ะ…เปลี่ยนท่ายืน เปลี่ยนข้างบ้างดีกว่า เอ่อ…ค่อยยังชั่ว …
น่าน…. มาอีกแล้วอาหารเรา…
เย็นไว้..เดี๋ยวจัดการ เย็นไว้…เรามันมืออาชีพอยู่แล้วววว
ว๊ายยย……ผิดพลาดไปหน่อย ไม่มีใครเห็นนะ เสียชื่อโหมด
แต่เองก็เสร็จฉันจนได้ บอกแล้วว่าฉันมันมืออาชีพ
ดาราแสดงนำ: กระยางบ้าน
สถานที่: บึงทุ่งสร้าง ขอนแก่น
เรื่องที่แสดง: วิถีชีวิตกระยางบ้านนอก
โรงหนัง: ลานปัญญาเธียร์เตอร์
ผมเข้าไปนั่งทำงานที่บริษัทสองวัน มันแปลกๆ เพราะเวลาส่วนใหญ่เราอยู่ชนบท มานั่งในห้องที่ใครต่อใครนั่งก้มหน้าตลอดเวลา ก้มหน้าเพราะทำงานหน้าจอน่ะซี ทังวัน จะเข้าจะออกก็ต้องมีระบบรีโมทเปิดปิดประตู จะเข้าประตูบริษัทก็ต้องติดบัตร ถามไถ่กันว่าจะไปชั้นไหน ไปพบใคร นั่งอยู่ดีดีก็มีกาแฟมาให้กิน แอร์ก็เย็นจนรู้สึกหนาว เสียงคนสองสามคนถกกันใหญ่ว่า งานไม่เสร็จ ต้องส่งแล้ว นั่นก็กำลังทำ ไอ้นี้ต้องส่งเมื่อวานก็ไม่เสร็จ ทำท่าจะร้องไห้ …
ไม่มีต้นไม้ให้ดู ไม่มีเสียงหมาเสียงแมว อย่างดีก็เอามือถือเสียบหูเปิดเพลงที่ชอบฟังกันไป ถึงเวลาเที่ยงปิดไฟ ให้ลงไปกินข้าว บ่ายโมงจึงจะเปิดไฟ นัยว่านโยบายประหยัด ก็ดีนะ ผมเคยมานั่งในสภาพแบบนี้แล้วเมื่อสิบปีที่แล้ว อยู่ได้ปีหนึ่งก็ออกสนามและอยู่สนามตลอด
วันนี้เปลี่ยนไปมาก เด็กใหม่ๆยังหนุ่มยังสาวเต็มไปหมด หลายคนมี ดร.นำหน้า หลายคนมาจากเมืองนอกที่มีชื่อเสียง หลายคนออกจะเป็นคนสองเพศ ทั้งหมดอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เร่งงานของเขาออกมาให้ถูกต้องตามหลักวิชาชีพและกรอบงานที่ถูกมอบหมายให้ ต้องทันเวลา ถูกต้อง และ Attractive แล้วคุณก็เอาค่าจ้างงามๆไป
ด้านล่างรอบบริษัท มีกิจการต่อเนื่องมากมาย ก็ร้านอาหาร สารพัดแบบ ชนิด ร้านขายผลไม้ ของกินเล่น จนไปถึงสถานที่รับฝากจอดรถ ที่รับทรัพย์อย่างเดียว หอพักก็เต็มไปหมด
นึกถึงสมัยก่อนที่มานั่งที่นี่ใหม่ๆ ชอบขับรถไปกินข้าวที่เสถียรธรรมสถาน ซึ่งอยู่ซอยวัชระพล ไม่ไกลจากบริษัทเท่าไหร่ ผมไม่ได้ไปนานแล้ว จึงตัดสินใจลองไปเยี่ยมดูหน่อย เสถียรธรรมสถานคือสถานธรรมของแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุตที่โด่งดังมานาน โชคดีมีที่จอดรถ ผมเดินเข้าไปก็งงไปหมด เปลี่ยนไปมากมาย ที่ว่างเกือบจะไม่มี เป็นต้นไม้ โดยเฉพาะลีลาวดี อายุผมเดาเอาว่าซื้อมาปลูกเพราะแต่ละต้นเก่าแก่ ใหญ่โตทั้งนั้น ใต้ต้นมีหินอ่อนวางเต็มไปหมด เจียรนัยให้เป็นที่นั่งสนทนากัน มีตึกใหม่ๆเกิดขึ้น มีร้านขายของที่ระลึกที่เกี่ยวกับศาสนา ผมตั้งใจจะมาทานอาหารจึงถามว่าอยู่ตรงไหน แต่ก่อนอยู่ตรงนี้ ปัจจุบันย้ายไปไหน
ผมได้รับคำตอบว่าอยู่ด้านในโน้น เดินไปก็ทราบเอง ผมไปถึงร้านอาหารมีคนกล่าวว่า “ธรรมสวัสดีต้องการอะไรค่ะ” อยากทานข้าว ผมเห็นตู้ใส่อาหารหมดเกลี้ยง เหลือแต่ก๊วยเตี๋ยวและมีจานสลัดผักสามจาน ผมบอกว่าขอก๊วยเตี๋ยวและสลัดผัก 1 จาน น้องผู้หญิงพูดจาไม่ค่อยชัดเดาเอาว่าไม่พม่าก็ชนเผ่าชาวเขาเผ่าใดเผ่าหนึ่ง เธอทำก๊วยเตี๋ยวให้ส่วนสลัดนั้นเอาไปทานเลยให้ทานฟรี…? ลาภปากผมแล้ววันนี้..
ผมทานเสร็จอิ่มพุงจะแตก ก็สลัดจานใหญ่มาก มาดื่มน้ำกาแฟเย็นแล้วจะเดินชม ได้ยินเสียงแม่ชีท่านหนึ่งสอนวิปัสสนาอยู่ จึงเดินไปตามเสียง เห็นมีกลุ่มผ้าขาว ชายหญิงวันรุ่นถึงวัยกลางคนจำนวนไม่น้อยไม่มาก กระทำตนตามที่แม่ชีสอน อบรม ผมนั่งบนหินอ่อนก้อนหนึ่งห่างๆ ไม่อยากเข้าไปใกล้เพราะจะรบกวนสายตาท่านเหล่านั้น ดีมากเลยที่คนหนุ่มสาวมาเข้าสถานธรรมแล้วมาปฏิบัติเช่นนี้ สาธุ..
พักหนึ่งผมก็เดินออก ไปดูร้านค้าของที่ระลึก ได้หนังสือมาเล่มหนึ่ง ชื่อ ความทุกข์ ความสุข ความตาย ที่แม่ชีเขียนร่วมกับเสาวลักษณ์ อดีตนักร้องสามสาวที่โด่งดังสมัยก่อน
ความจริงผมมีวัตถุประสงค์มาที่นี่ นอกจากจะมาหาอาหารแล้วผมต้องการปรึกษาเรื่องอื่นๆที่ผมสนใจ จึงไปถามแม่ชีน้อยสองท่านที่นั่งรับบริจาคเงินเป็นค่าใช้จ่ายในสถานแห่งนี้ เล่าสั้นๆให้แม่ชีฟัง แม่ชีน่ารักมาก หน้าตาสดใสปิ๊ง พูดจาไพเราะเสนาะหู แม่ชีน้อยบอกว่า เสนอให้พบแม่ชีท่านหนึ่งที่ท่านทำหน้าที่นี้ ตอนนี้ท่านติดธุระ แล้วท่านก็หยิบใบแนะนำธรรมสถานและกำหนดการต่างๆ รวมทั้งที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และเชิญให้ติดต่อนัดหมายพบแม่ชีท่านนั้นด้วยตัวเอง
ผมไม่มีเวลาสำหรับความสุขเล็กๆที่กลับมาเยือนธรรมสถานแห่งนี้ ต้องกลับไปทำงานต่อซะแล้ว ผมชอบสถานที่นี้มาก และอยากมาอีกเมื่อมีโอกาส
สาธุ แม่ชีศันสนีย์ และนักบวชผ้าขาวทุกท่าน สาธุ
แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต
ผู้ก่อตั้งเสถียรธรรมสถาน ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530
ซอยวัชรพล 24/5 รามอินทรา 55 กรุงเทพ รหัสไปรษณีย์ 10230
โทรศัพท์ 0-2510-6697 , 0-2510-4756 , 0-2509-0085 โทรสาร 0-2519-4633
จะเอาพลังงานนิวเคลียร์ หรือไม่เอา ลองมาฟังสิ่งที่เกี่ยวข้องกับกระแสไฟฟ้าหน่อยซิครับ
การวิจัยที่ออสเตรเลีย พบว่า การที่คนเราตั้งบ้านเรือนใต้ หรือ ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง เนื่องจากผลกระทบจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic field) ที่สายไฟฟ้าแรงสูงปล่อยออกมา….???
ผลการวิจัยที่พบว่า ผู้อยู่ใกล้กับสายไฟฟ้าแรงสูงในวัยเด็ก มีโอกาสที่ร่างกายจะพัฒนาเซลล์มะเร็ง โดยวารสาร Internal Medicine Journal เด็กที่อาศัยอยู่ภายในรัศมี 300 เมตรจากสายไฟฟ้าแรงสูงจนกระทั่งอายุ 5 ปี มีโอกาสเป็นมะเร็ง 5 เท่าตัว ในขณะที่ผู้ใหญ่ที่อาศัยอยู่ใกล้ระยะเดียวกันเป็นเวลา 15 ปี นั้นมีโอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่าตัว
การวิจัยนี้ทำขึ้นที่ ทัสมาเนีย รัฐที่เป็นเกาะตั้งอยู่ทางตอนใต้ของออสเตรเลีย โดยศึกษากับกลุ่มผู้ป่วยจำนวน 850 คน พบความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า และการเกิดมะเร็ง เช่น ลูคิเมีย (Leukemia) ลิมโฟมา (Lymphoma) และมัลติเพิลมีโลมา (Multiple Myeloma) แต่ก็ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดว่าสนามแม่เหล็กนั้นมีความสัมพันธ์แบบ cause and effect relationship กับการเกิดโรคมะเร็งดังกล่าวหรือไม่
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งทัสมาเนีย (University of Tasmania) และมหาวิทยาลัยบริสทอล (Bristol University) ในอังกฤษ ได้เปรียบเทียบข้อมูลของผู้ป่วยในทัสมาเนียที่ป่วยเป็น Lymphatic Cancer และ Bone Marrow Cancer ในอังกฤษช่วงปี 1972-1980 โดยควบคุมตัวแปรเพศ และอายุ นักวิจับพบว่า ผู้ที่อาศัยห่างจากไฟฟ้าแรงสูงไม่เกิน 50 เมตรในช่วงหนึ่งของชีวิต มีโอกาสที่ร่างกายจะก่อมะเร็งมากกว่าผู้ที่ไม่เคยอาศัยอยู่ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงต่ำกว่า 300 เมตรขึ้นไป จำนวน 2 เท่าตัว และยังพบด้วยว่าในแต่ละปี ผู้ที่อาศัยห่างจากไฟฟ้าแรงสูงไม่เกิน 50 เมตรนั้นเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็ง 7% นอกจากนั้นการวิจัยยังได้แสดงหลักฐานด้วยว่าโอกาสในการก่อมะเร็ง นั้นเพิ่มขึ้นตามความแรงของกระแสไฟฟ้า
โปรเฟสเซอร์เรย์ โลเวนทอล (Ray Lowenthal) จากมหาวิทยาลัยแห่งทัสมาเนีย ออสเตรเลีย กล่าวว่า “ผลกระทบของสนามแม่เหล็กต่อการเกิดมะเร็งเป็นที่ถกกันมานานกว่า 20 ปี หลักฐานที่บอกว่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวนั้น ยังไกลเกินกว่าที่จะสรุป และคำแนะนำนานาชาติในการจำกัดการอยู่ใกล้สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (International guideline for limiting exposure to electromagnetic field) ที่ใช้กันอยู่นั้นขณะนี้ก็อ้างอิงมาจากผลเสียต่อสุขภาพในระยะสั้น มากกว่าที่จะพูดถึงความเสี่ยงในระยะยาวอาทิ เช่น ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง”
ผมหยิบเอามาจากเอกสารวิชาการ เพราะเป็นเรื่องที่น่าสนใจ บ้านเรายังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้ หรือมีก็ไม่ทราบนะครับ แต่ระแวดระวังไว้แหละดีครับ
วันที่ 3 ผมจะไปเลือกตั้ง
แม้ว่าสีตัวผมจะเป็นสีนี้
ก็ไม่เกี่ยวกับการตัดสินใจของผมนะครับพี่น้อง
ขอนแก่นฟ้าปิดมาสองวันแล้ว กรมอุตุฯ(แหมเหมือนนอนอุตุเลย)
ว่าฝนกำลังมาจากเวียตนาม มาเถอะ ชาวนาจะได้น้ำ
เขื่อนหลายตัวจะได้เก็บกักน้ำ
พูดถึงเขื่อนแล้วก็สะท้อนบางอย่าง เขาใช้สถิติน้ำฝนที่บันทึกมาตลอดเพื่อบ่งชี้ว่าโอกาสฝนตกในเดือนนั้นๆเท่าไหร่ ความต้องการใช้น้ำเท่าไหร่ เพื่อคำนวณปล่อยน้ำออกจากเขื่อนและโอกาสน้ำฝนจะเติมลงมา พูดง่ายๆคือ พึ่งธรรมชาติเต็มๆ ทุกเขื่อนนั่นแหละ นี่คือความเสี่ยงของการเก็บกักน้ำ ปีไหนฝนดีก็รอดตัวไป ปีไหนฝนแล้งน้ำไม่เต็มเขื่อน ก็กระทบระบบการปล่อยน้ำเพื่อการเกษตรหรือกระทบระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าในกรณีที่เขื่อนตัวนั้นสร้างเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า (เช่นเขื่อนอุบลรัตน์ หรือเขื่อนน้ำพอง หรือพองหนีบ) ในที่สุดชาวนาในเขตชลประทานก็ยังพึ่งธรรมชาติอยู่ดี เพียงมีการจัดการภายใต้โครงสร้างระบบชลประทานเข้ามาเท่านั้น
(เมฆในรูปนี้เป็นเมฆเมื่อปีที่แล้วเดือนนี้ที่มุกดาหารนะครับ)
คนเราต้องยังชีวิตด้วยปัจจัยสี่ แต่การได้มาของปัจจัยสี่นั้นแตกต่างกันไปตามวิถีของแต่ละคน ส่วนใหญ่สังคมนี้ก็มุ่งไปสู่การเรียนสูงๆเพื่อหางานดีดีทำเพื่อรายได้มากๆ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มียศถาบรรดาศักดิ์ ก็ไม่ผิดหรอกเป็นปกติของสังคมที่เป็นเช่นนั้น ผมว่า..อยู่ตรงไหนก็ได้ ทำงานอะไรก็ได้ ขอให้เป็นคนดี
มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ชอบทำงานอิสระ เร่ร่อนไปตามแหล่งงานที่ตัวเองสนใจ ทุ่มเทการทำงานที่ตนเองชอบแล้วก็ไปนั่งตกงาน เดินตะรอนๆไปหางานใหม่ทำต่อไป
อ้าว..ก็เลือกชีวิตแบบนี้แล้วมาสาธยายอะไร..
ไม่ได้มาร้องขออะไรหรอกครับ แต่มาเล่าให้ฟัง จะเก็บเอาไว้ตั้งคำถามกับสังคมคนเดียวก็ได้ แต่ลานนี้เปิดกว้างพอที่จะรับฟังน่ะซีครับ
น้องๆที่เคยทำงานมาด้วยกันคนหนึ่ง เธอมีสามีเป็นข้าราชการ มีลูกสาวน่ารักกำลังเรียนในชั้นมัธยม เธอเองก็มาทำงานเพื่อสังคมประเภทอิสระ เมื่อโครงการสิ้นสุดลงก็ไปหางานใหม่ทำ ก็พอมีงานอยู่ร๊อก..ชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง ก็ต้องยอมรับสภาพ เพราะเลือกชีวิตเอง จริงๆเธอจะเป็นแม่บ้านอยู่กับบ้านให้สามีเลี้ยงก็ย่อมได้ แต่เธอยังอายุไม่มากการทำงานที่ชอบ หารายได้ให้กับครอบครัวอีกทางก็เป็นการดี
ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลกำลังเนื้อหอม เพราะเป็นเป้าหมายของใครต่อใครมากมาย ทั้งนักการเมืองท้องถิ่น ระดับชาติ ต่างยึดกันให้ราบคาบ อาคารที่ทำงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดบางจังหวัด ยังกะพระราชวังแวร์ซาย ไม่เชื่อไปดูที่นครสวรรค์ซิ องค์การบริหารส่วนตำบลบางแห่ง ที่ว่าการอำเภอชิดซ้ายไปเลย
หลักการบริหารก็พูดกันมากว่าให้กระจายอำนาจส่วนกลางลงสู่ตำบล เอางบประมาณลงไป เพิ่มตำแหน่งต่างๆ อธิบายว่าเพื่อทำงานรับใช้ประชาชน ผมนั้นคลุกคลีกับตำบลเพราะอยู่ในชนบท หลายแห่งก็ดีดี๊ดี หลายแห่งก็ต้องส่ายหน้าเหมือนพัดลม..
แล้วน้องผมคนหนึ่งก็มาเล่าให้ฟังว่า
พี่…หนูไปสมัครงานเป็นเจ้าหน้าที่เกษตรประจำ อบต.แห่งหนึ่งใกล้บ้าน ตั้งใจว่า เออ เงินเดือนไม่เท่าไหร่ก็ไม่เป็นไร อยู่ใกล้บ้านก็ดีแล้ว จะได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว หนูชอบทำสวนครัวจะได้มีเวลามากหน่อย… แต่เมื่อหนูไปสมัคร ปลัดอบต.มาบอกหนูว่า อยากได้ตำแหน่งนี้ไหม ขอ 1 แสน….???
เราทำงานเพื่อสังคมมา เราช่วยเหลือชาวบ้านมานับไม่ถ้วน เราเดินหน้าเพื่อดันชาวบ้านให้ลืมตาอ้าปากได้ แต่ระบบทรามที่กัดกินสังคมให้กร่อนลงไปก็ย้อนมากัดกินใจน้องคนนี้
เธอบอกว่า พี่…เงินแสนนั่นน่ะหนูเก็บเอาไว้เลี้ยงลูกดีกว่าที่จะเสียให้ท่านปลัดเพียงเพื่อเข้าทำงาน
คำอธิบายเพิ่มเติมแก่น้องคือ ….ท่านปลัดกล่าวอีกว่า เป็นอัตราที่เคยได้มาแล้ว…..!!??
เราทำงานเพื่อแก้ปัญหาสังคมมาพอสมควร แต่มีอีกมากมายที่เราไม่ได้เข้าไปแตะ ปล่อยให้ลอยนวนต่อไปก่อน..เถอะ..
นกกระยางตัวนี้ยังไม่กลับรัง เย็นย่ำแล้วยังหาอาหาร ใช้ความนิ่งคอยจ้องว่ามีปลาว่ายมาใกล้ๆตรงนี้ไหม
ผมเป็นงงภาพซ้ายมือ
ยืนได้ไง เก่งจัง
เจ้าคุกกี้ มันอ้วนเหมือนเจ้าของ พันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์
เขารู้ภาษาคนเยอะเพราะสอนเขา แต่ไม่มากเท่าบางครอบครัว
ขนปุย ยาว หลุดร่วงเยอะ เป็นภาระที่ต้องทำความสะอาด
กลางคืนเข้านอนในบ้าน ต้องปูผ้าให้เขานอน
เช้าก็ตื่นแต่เช้ามาเอาเขาออกนอกบ้าน
จะกินอะไรก็คาบไปกินบนผ้า
ถึงเวลาอาบน้ำให้ ไม่สบายต้องอุ้มไปหาหมอ ว่างก็พาไปเดินเล่น หวีขนยาวๆให้
ให้เวลากับเขา เล่นกับเขา มีหน้าที่เห่าเวลามีคนมาที่ประตูบ้าน
โอย เกิดเป็นหมานี่ไม่ต้องทำงาน มีคนดูแลชีวิตให้
เกิดเป็นหมาดีกว่าว่ะ….ห้า ห้า ห้า
ต่อให้เดาก็คงไม่มีใครทราบว่า Lanpanya.com นี้อยู่ที่ไหน อย่างไร อิอิ
เป็น สติกเกอร์ท้ายรถผม
วันนั้นผมเอารถไปถ่ายรูป แล้วเปิดประตูหลังทำให้เป็นหลังคากันแดด
ปรากฏเงานี้ที่พื้นหลังรถ
ผมเลยเอาผ้าม่านเก่าที่ติดท้ายรถไว้มารอง
จึงได้ภาพอย่างที่เห็น
(ขออภัยที่ไม่มีสาระ)
วันนี้ผมขับรถไปรับคุณตุ๊ที่ มข. ระหว่างทางตรงสามแยกทางรถไฟจะออกถนนมิตรภาพ มีรถเมล์ต่างอำเภอจอดนิ่งอยู่ ผมเห็นรถเก๋งแซงซ้ายขึ้นไป ยังนึกว่า เอ้ารถเมล์มาจอดทำไมกลางสามแยกนี่ ทำให้รถเริ่มติด นึกตำหนิในใจว่า “คนไทยเราทำอะไรตามใจคือไทยแท้” ทำไมไม่จอดแอบชิดถนน..
เมื่อผมขับรถไปใกล้ๆ ก็เห็นคุณยายแก่ๆ ผมขาว มีลูกสาวจูงมือวิ่งปุเลงๆ พยายามจะรีบไปขึ้นรถเมล์คันนั้น ผมเดาเรื่องราวออกว่า อ๋อ รถเมล์จอดคอยคุณยายและลูกสาวคุณยายนั่นเอง สภาพพื้นที่จะจอดริมถนนแบบเหมาะสมก็จะเสียเวลา จะไปเลยก็อยากรับคุณยาย เลยจอดมันอย่างนี้ คงไม่นานร๊อก ผมนึกถึงใจคนขับรถเมล์
แม้ระยะทางจะไม่ไกลมากนักคุณยายก็หอบทีเดียว เข้าใจได้ครับ ใครเห็นภาพนี้แล้วก็ให้อภัยรถเมล์คันนั้น ผมเดาเอาเองนะ …..
ความเหมาะสมถูกต้องตามระเบียบจราจร หรือสามัญสำนึกของสังคมเมือง สังคมบริหารจัดการ สังคมที่ต้องการความเป็นระเบียบมากกว่า ชุมชนอื่นๆ เหตุการณ์แบบนี้ ก็คงจะต้อง
แต่นี่เขาจอดกลางสามแยก รอคุณยายไปขึ้นรถ…
ผมนึกไปถึงการจัดงานศพคุณแม่ผมที่เพิ่งผ่านมา เนื่องจากผมไม่ได้คลุกคลีชุมชนที่บ้านมานาน และไม่เคยเข้าไปอยู่วงในของการจัดงานศพ ที่เรียกว่า “แม่งาน” ก็มืดแปดด้าน แต่เราอาศัยเรามีกระบวนการ มีประสบการณ์จัดงานอื่นๆ และลักษณะการบริหารจัดการงาน สิ่งที่เราทำคือ ประชุมน้องๆ พี่ๆ ไล่เลียงว่าจะต้องทำอะไรบ้างตั้งแต่ต้นจนจบ พิมพ์ตารางละเอียด ประเด็นหลัก ประเด็นรอง เอาอะไรที่ไหน ติดต่อใคร ใครรับผิดชอบ หากไม่เป็นไปตามลำดับจะทำอย่างไร ..ฯลฯ
อาศัยน้องๆที่อยู่กับแม่ หรืออยู่ที่บ้าน เขาจึงรู้เรื่องราวแบบนี้มากกว่าผม เราก็ทำแผนการบริหารจัดการงานศพขึ้นมาแล้วมอบให้ทุกคนถือไว้ช่วยกันเติมเต็ม ทุกคืนจะมี AAR จนถึงเที่ยงคืนทุกคืน เพื่อสรุปปัญหา อุปสรรค และงานที่จะทำในวันต่อไป เรียกว่า เอาการจัดการแบบสมัยใหม่เข้ามาใช้..
แต่การเดินของงานมันมีรายละเอียดมากกว่าสิ่งที่เราคุยกันมากมายมหาศาล ทุกคนต้องพร้อมตัดสินใจทันที หรือรีบปรึกษาหารือกันเพื่อสรุปว่าจะเอาอย่างไร.. เพราะการจัดงานศพนั้นมีพิธีกรรมมากมาย แต่ละพิธีกรรมก็มีรายละเอียดเฉพาะ คนที่ดำเนินการพิธีกรรมนั้นๆเราก็ต้องประกบเพื่อขอทราบรายละเอียดเพื่อเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ มีพิธีสงฆ์ มีผู้ใหญ่มาร่วม รายละเอียดพิธีสงฆ์เป็นอย่างไร อะไรก่อน หลัง ใครจะเป็นคนทำเรื่องนั้นเรื่องนี้ โอ้โฮ….มันมากมายมากกว่าที่เราคุยกันหลายเท่านัก
ผู้ดำเนินการพิธีต่างๆนั้นขาดอะไรก็กวักมือเรียกเราให้ไปหาสิ่งนั้นสิ่งนี้มา เดี๋ยวนี้…อ้าว..ทำไมไม่บอกตั้งแต่แรก…ขนาดเตรียมกันมาแล้วนะ..
เดี๋ยวแม่ครัวก็ตะโกนบอกว่าขาดนั่น ขาดนี่ให้ไปซื้อมาเดี๋ยวนี้.. จริงๆ สิ่งที่เตรียมไว้นั้นเมื่อถึงเวลาหลายเรื่องต้องเปลี่ยนแปลงใหม่ทันทีตอนนั้น เดี๋ยวผู้ใหญ่มาทักว่าเรื่องนั้นควรจะเป็นแบบนี้ ท่านเจ้าอาวาสวัดจะเอาแบบนั้น พระผู้ใหญ่ของเราบอกว่าควรเป็นแบบนี้ ….ห้า ห้า ห้า หัวปั่นไปหมด
แต่แปลกนะครับ ทุกคนจริงจังในการจัดงานสุดฝีมือ ระหว่างดำเนินการอาจจะมีการกระแทกกระทั้นบ้าง โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นเจ้าภาพ ก็พี่พี่น้องน้องนี่แหละที่หัวปั่นทีเดียว เพราะมันไม่เป็นไปตามลำดับการประชุมมาทั้งหมด … แต่เราก็เข้าใจว่าทำไมเป็นเช่นนั้น….
หลักของการจัดงานคือ ประหยัด ถูกต้องตามประเพณี กระชับไม่ยืดยาด แค่การตัดสินใจเรื่องการเชิญผู้ใหญ่มาทอดผ้าบังสกุลตอนเวลาเผา สามวันก็ตกลงกันไม่ได้ อิอิ น้องคนนั้นบอกต้องเชิญผู้ใหญ่เขา น้องคนนี้ต้องเชิญเจ้านายเขา หากเชิญคนนี้ คนนั้นก็ต้องเชิญ ไม่งั้นไม่ได้ และคาดการณ์กันว่านักการเมืองท้องถิ่นก็จะแห่มากันเพื่อเสนอหน้าเป็นปกติในงานแบบนี้ และส่วนใหญ่บีบบังคับเจ้าภาพให้เขาเป็นประธานในการทอดผ้า ไม่เช่นนั้น อาจได้รับผลกระทบในเรื่องอื่นๆ ผมเป็นงงกับไอ้นักการเมืองแบบนี้ บังเอิญ ผมรู้จักหมด และเขารู้ว่าบ้านผมซื้อเสียงไม่ได้ และมาบังคับไม่ได้ แม้ว่าจะมีความพยายามแหย่มาก็ตาม…
การรับฟังความเห็นจากผู้เฒ่าผู้แก่ของชุมชนเป็นเรื่องสำคัญ การขอปรึกษาหารือญาติผู้ใหญ่ของเราเป็นเรื่องสำคัญ การไปกราบขอคำแนะนำพระผู้ใหญ่เป็นเรื่องสำคัญ ฯลฯ และคำแนะนำทั้งหมดบางเรื่องไม่ตรงกันเลย ห้า ห้า ห้า เราต้องมาตัดสินใจและกระทำมิให้ทุกฝ่ายน้อยใจ เสียน้ำใจ…
ผมสรุปเองว่า สังคมไทยชุมชนเป็น “สังคมขลุกขลิก” ไม่สามารถเอาแบบเป๊ะๆแบบสังคมเมือง สังคมการจัดการได้ จะมีขาด มีเกิน มีน้อย มีมาก แต่งานไปได้ ทุกอย่างไปได้ เพราะทุกคนพร้อมยื่นมือมาช่วย พร้อมยื่นมือมาแนะนำ บอกกล่าว นี่คือลักษณะแม่งานของชุมชน และหากจะมีอะไรขาดๆเกินๆไปบ้าง ก็ไม่ใช่เรื่องต้องตำหนิ ติเตียน ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง
ประสบการณ์ครั้งนี้ผมคุยกับน้องสาวที่เป็นข้าราชการที่บ้านว่า น่าทำ “คู่มือการจัดงานศพนะ” นี่คิดแบบคนที่ทำงานสมัยใหม่ หากแม่งานชาวบ้านจริงๆมาได้ยินก็คงหัวเราะก๊ากส์ จนน้ำหมากหกแน่ๆ เพราะเรื่องที่เรานึกไม่ถึงมีตั้งเยอะ และไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน ต้องแก้ปัญหากันเฉพาะหน้าตรงนั้น
การจัดงานศพในมุมของผมที่ผ่านมานั้นมันขลุกขลิกๆ แต่ผ่านไปด้วยดี หลายคนแอบชมลับหลังว่ากระชับดี และแอบมาขอเอกสารบางอย่างไปเป็นตัวอย่างด้วย เช่น การเขียนประวัติผู้วายชนม์ ก็ไม่เหมือนงานอื่นๆ เขาชอบว่างั้น การให้ลูกหลานอ่านคำกลอนให้คุณยายด้วยตัวเขาเอง เน้นการตรงเวลา และผู้มาทอดผ้าหน้าเมรุนั้นเอาเพียง 1-2 คนเท่านั้น ฯ
ความขลุกขลิกนี้ผมว่าคล้ายๆรถเมล์คอยคุณยายกลางสามแยกนั่นแหละ เมื่อเห็นสาระของเหตุการณ์นั้นแล้วก็เข้าใจ และยืดหยุ่นได้ แต่สังคมที่วุ่นวายแบบสังคมเมืองนั้น ต้องการความแน่นอน ชัดเจน ต้องการระเบียบ กฎ กติกามากกว่า ต้องการกฎหมายบังคับมากกว่า
มุมมองนี้เองที่ผมนึกไปถึงเรื่องราวหลายเรื่องที่ผมทำงานในชนบท มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ..
คนข้างกายติดต่อกับศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ท่านสนใจจะร่วมมือในการจัดสัมมนาวิชาการเรื่องหนึ่ง แต่ศาสตราจารย์ท่านนั้นขอเวลาไปจัดการเรื่องเวลาที่ต้องรับผิดชอบการสอน
หลังจากที่เกิดสึนามิญี่ปุ่นร่ำไห้ โลกเศร้าสลด… ท่านศาสตราจารย์หายหน้าไป
คนข้างกายเล่าว่า ท่านศาสตราจารย์ติดต่อมาแล้วว่าจะมาไทยและปรึกษารายละเอียดเรื่องการจัดสัมมนาที่คุยกันไว้
ท่านเล่าต่อว่า ตอนนี้ ญี่ปุ่นเผชิญปัญหาหนักคือเรื่องการ “ขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า“ หน่วยงานต่างๆ ทั้งเอกชน รัฐ ทั้งใหญ่ทั้งเล็ก ต้องหันมาปรึกษากันว่าจะร่วมมือแก้ไขกันอย่างไร
น่าสนใจนะครับว่าเขาแก้ปัญหานี้อย่างไร
มหาวิทยาลัยต้องเปิดเทอมเรียนหนังสือ เสนอให้ลดการใช้ไฟฟ้าทุกด้านให้เหลือที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น แล้วทดลองทำ
หลังจากทดลองทำแล้วพบว่ายังไม่สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าได้ มหาวิทยาลัยเสนอ “ปิดการเรียนไปหนึ่งเทอม…????!!!!”
นี่คือเหตุผลที่ท่านศาสตราจารย์มาเมืองไทยได้เพราะว่าง
หากบ้านเราเผชิญวิกฤติเช่นนั้นจริงๆ
เราจะทำอย่างไรหนอ… แผนงานชาติด้านนี้มีไหม เรียนรู้จากญี่ปุ่นแล้วทำแผนแก้ปัญหาซิท่านผู้บริหารประเทศ… เราต้องเผชิญแน่นอนในอนาคต
นิวเคลียร์ ก็ไม่เอา เขื่อนก็ต่อต้าน แล้วใช้ไฟกับโครมๆ
พลังงานทางเลือกก็ไม่จริงจังจะค้นคว้า วิจัย กัน..
เสนอชาวลานไว้ว่า มีชุมชนหนึ่งสามารถแก้ปัญหาพลังงานความร้อนได้โดยการนำขี้วัวทั้งชุมชนมาผลิตก๊าส เอาไปหุงต้มได้ทุกครัวเรือน น่าสนใจไปศึกษาดูงานกันไหมล่ะ หากมีเวลาจะเอาข้อมูลมาเผยแพร่สักหน่อย..
ท้องฟ้าเย็นวันที่ 28 พ.ค. 2554
งานฌาปนกิจศพแม่สาคร ช่วงฉ่ำ เสร็จสิ้งลงแล้ว..
ลูกๆแม่สาคร ช่วงฉ่ำ กราบขอบพระคุณทุกท่านที่เดินทางไปร่วมงาน
ที่ร่วมทำบุญ และที่ส่งใจไปให้
ขอขอบพระคุณด้วยความซาบซึ้ง ทุกๆท่าน..