สว.ในสังคมใหม่

โดย bangsai เมื่อ 30 พฤษภาคม 2011 เวลา 14:01 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 2557

ผมมีประสบการณ์การดูแลผู้สูงอายุในสังคมเมือง คราวที่แม่ยายมาใช้ชีวิตบั้นปลายร่วมกันที่บ้านขอนแก่น

เราไม่มีประสบการณ์มาก่อนโดยตรง แต่ผ่านสังคมเก่าที่มีญาติพี่น้องมากมายห้อมล้อม คุณปู่ คุณย่า เจ็บป่วยลูกหลานมากมายช่วยกันดูแลแม่คราวคุณยายมาอยู่กับเราด้วยนั้นนึกออกอย่างเดียวว่าจะต้องหาคนมาดูแล

เรามีบ้านในเมืองและอาชีพก็เดินทางบ่อยมากทั้งพ่อบ้านแม่บ้าน โดยเฉพาะผมต้องไปประจำต่างจังหวัดจะมาอยู่บ้านเพียงวันหยุดงานคือ เสาร์ อาทิตย์ ลูกสาวก็ไปเรียนหนังสือต่างถิ่น ไม่ได้อยู่บ้าน คนอยู่บ้านคือ คนใช้ เรียกเธอว่าผู้ช่วยแม่บ้านก็แล้วกัน

การที่จะให้ผู้ช่วยแม่บ้านมาดูแลคนแก่ที่ป่วย หากเจ็บป่วยธรรมดาก็คงพึ่งพาอาศัยกันได้ แต่หากเจ็บป่วยที่ต้องดูแลมากๆจะแก้ปัญหาอย่างไร…..? มีทางเดียวคือส่งโรงพยาบาลและ หรือ จ้างคนมาดูแล นั่นเราต้องมีเงินมากพอที่จะใช้จ่ายรายการเช่นนี้

ที่ขอนแก่นมีสถาบันฝึกอบรมผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุ เราไปติดต่อ ก็ได้เด็กสาวมา ทางสถาบันรับประกันการผ่านงานดูแลผู้สูงอายุทั้งผู้หญิงผู้ชาย ซึ่งได้ฝึกฝนมาจึงมีมาตรฐานจึงขอรับค่าจ้างอย่างต่ำสุด 5000 บาทต่อเดือน กินอยู่กับเจ้าของบ้าน

เราจ้างมาหนึ่งคน เธอก็มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุดีแต่ สาวๆก็คือสาวๆ ย่อมมีการติดต่อสื่อสารกับคนรัก กับญาติพี่น้อง กับครอบครัวเขา และเรื่องราวของเธอเราก็รู้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ลึกๆเธอเป็นคนเช่นไรนั้นเราตั้งสมมติฐานไว้แล้วก็ศึกษากันต่อไป

มีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลผู้สูงอายุ ถึงสามคนใน 1 ปี ส่วนใหญ่เธอก็อ้างว่า กลับไปทำงานที่บ้าน คนใหม่มาก็ต้องศึกษากันใหม่ ทำความเข้าใจกันใหม่ ในที่สุดเราเปลี่ยนผู้ดูแลเป็นคนที่ 5 และเราจ้างเธอมา 2 คนที่เป็นพี่น้องกัน และเธอกำลังเรียนหนังสือ เธอบริหารเวลาเรียน ดูแลผู้ป่วยกลางวันหนึ่งคน กลางคืนหนึ่งคน เธอเป็นสาวชาวบ้านที่หน้าตาซื่อๆ ตรงๆ เงียบๆ เก็บตัวไม่เหมือนสาวๆคนอื่นๆที่รักสวย งาม และพยายามหาเวลาเพื่อตัวเองมากขึ้น แต่เธอสองคนนี้ไม่ มีแต่เรียนหนังสือกับทำงานดูแลผู้สูงอายุ เราเองพึงพอใจมาก เราเลี้ยงเธอเหมือนลูกสาว ทั้งๆที่เธอเป็นลูกจ้างมาดูแลแม่ และเธอก็ปฏิบัติกับเราเหมือนญาติผู้ใหญ่ เธอเรียนเราว่า ลุง ป้า

ต่างกันลิบลับในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุของคนในสังคมสมัยนี้กับสังคมเก่า ครอบครัวเราส่งคุณแม่ไปเป็นคนไข้ประจำกับคุณหมอที่เรารู้จักครอบครัวคุณหมอดีเพราะสามีคุณหมอเรียนจบจากสถาบันเดียวกัน และรู้จักกันมาก่อนแม้จะไม่สนิทสนมแต่ก็เคารพนับถือกัน และให้ความเป็นกันเอง ต้นทุนแบบนี้มีส่วนช่วยมากในการขอรับคำแนะนำพิเศษต่างๆ

หากเราไม่อยู่บ้านทั้งสองคน ผู้ดูแลคุณแม่สามารถยกหูโทรศัพท์ตามรถพยาบาลมารับไปโรงพยาบาลได้ทันที และคุณหมอ หรือโรงพยาบาลก็อำนวยความสะดวกให้เต็มที่เพราะเป็นคนไข้ประจำนานนับ 10 ปี นี่คือความสะดวกของสังคมใหม่ แต่ทั้งหมดนี้คือ คุณต้องมีงบประมาณใช้จ่ายในความสะดวกเหล่านี้ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพนั้น แพง(หากพึ่งพิงระบบเอกชน)…ต่อรองไม่ได้ เสียด้วย..

ผมสรุปว่า

  • ผู้สูงอายุหนึ่งคน คนดูแลเพียงหนึ่งคนไม่เพียงพอ ต้องสองคน
  • การดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง คุณต้องมีงบประมาณมากเพียงพอในระบบเอกชน

ผู้ดูแลต้องผ่านการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ

« « Prev : ครอบครัวสังคมไทยโบราณเหมาะกับสังคม สว.

Next : จากแม่สาครถึงสังคมผู้สูงอายุ.. » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

70 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 3.4425988197327 sec
Sidebar: 0.53921413421631 sec