T&V และ V&C system

ไม่มีความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ มีนาคม 26, 2013 เวลา 22:29 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 4427

 

ประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา ท่านที่คลุกคลีกับการส่งเสริมการเกษตร จะได้ยินคำว่า T&V system คำนี้มาจาก Training and Visiting System เป็นหลักการของนักส่งเสริมการเกษตร ที่กรมส่งเสริมการเกษตร กำหนดให้เกษตรตำบลทั่วประเทศใช้หลักการนี้ กล่าวคือ เมื่อจัดฝึกอบรมเกษตรกรในหลักสูตรใดๆไปแล้ว ก็จะต้องมีแผนงานออกไปเยี่ยมเยือนในชุมชนต่อเนื่องต่อไปอีก เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง และเติมเต็มต่างๆทางหลักการ วิชาการกัน

ดูเหมือนจะมีแผนงานนัดพบเกษตรกรตามจุดต่างๆ เช่นทุกวันพุธ ไปพบเกษตรกรหมู่ที่ 5 ที่ศาลากลางบ้าน เพื่อพูดคุยกันในเรื่องที่อบรมมาแล้ว ปัญหาอุปสรรค และอื่นๆ ทราบมาว่าแผนงานนี้ล้มเหลวในที่สุด

เท่าที่ผมทราบ T&V system มาจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของชาวอิสราเอล ที่รัฐบาลไทยโดยกรมทส่งเสริมการเกษตรนำมาใช้ ผมว่าหลักการดี แต่แนวทางปฏิบัติไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของชุมชนแบบไทยๆ


เมื่อปี 2551 โดยประมาณ ผมรับผิดชอบงานที่มุกดาหาร แล้วมีโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าขึ้นในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เราส่งเสริมชาวบ้านปลูกพืชในระบบ Contract farming ที่หลายๆคนรังเกียจนัก แต่กลุ่มธุรกิจที่เราทำสัญญากันนั้นคือ โครงการหลวงเต่างอย มาส่งเสริมชาวบ้านผลิตมะเขือเทศส่งโรงงานผลิตน้ำมะเขือเทศเข้มข้นส่งออกนอก

อาว์เปลี่ยนเอาตัวทุ่มเทลงงานนี้เต็มที่ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร ส่วนหนึ่งเราใช้ระบบที่พัฒนามาจาก T&V system คือ V&C system หรือ Visiting and Coaching system ผมเองคลุกคลีกับแนวทาง T&V มาก่อน เห็นจุดอ่อน จึงพัฒนามาเป็น V&C system

แนวทางคือ เมื่อ อบรมเกษตรกรเรื่องการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจแล้ว ก็ให้เขาเริ่มกระบวนการเพาะปลูกตามขั้นตอนต่างๆ ภายใต้การกำกับ ของเจ้าหน้าที่วิชาการของโรงงานและของโครงการ แต่ส่วนใหญ่นักวิชาการโครงการเป็นผู้ทำหน้าที่นี้

ไปเยี่ยมเยือนแปลงเกษตรกร คุยกัน แนะนำในสิ่งที่เกษตรกรควรทำ เพิ่มเติมในสิ่งที่นักวิชาการเห็นว่าควรแนะนำ คือการทำหน้าที่ Coaching แก่เกษตรกรนั่นเอง หากทำอย่างเข้มข้น เกษตรกรก็จะจัดเจนในกระบวนการผลิตตามหลักการที่ควรทำ ก็เป็นหลักประกันผลผลิตที่จะเกิดขึ้น เพราะเราทราบดีว่า ระบบ Contract farming นั้น ก็คือ ระบบ Intensive crop นั้นเอง เกษตรกรที่ไม่คุ้นเคยก็จะบกพร่องต่อสิ่วที่ควรทำตามกำหนดทางหลักการวิชาการ…..

แม่พิมพ์ โถตันคำ เป็นเกษตรกรตัวเล็กๆ เป็นสตรี เป็นปราชญ์ชาวบ้านในด้านเศรษฐกิจแบบพอเพียง ในรูปแบบไร่นาสวนผสม แม่พิมพ์จบแค่ ป 4 แต่คลุกคลีกับเครือข่ายอินแปงมานาน ผ่านการฝึกอบรม ศึกษาดูงานภายใต้ ส.ป.ก. มานาน

วันนี้ผมมาเยี่ยมแม่พิมพ์ คุยกัน ตอนหนึ่งแม่พิมพ์บอกว่า ส.ป.ก. เรามีโครงการเกษตรกรทายาท เอาเยาวชนมาอบรมแบบเข้มข้นแล้วก็ปล่อยกลับบ้านใครบ้านมันไป แล้วแม่พิมพ์ก็ชวนเพื่อนเกษตรกรวิทยากรในเครือข่าย ไปเยี่ยม ลูกศิษย์ที่เป็นลูกหลานเหล่านั้น สองเดือนครั้งโดยประมาณ วนเวียนไปหาคนนั้นคนนี้ เอาข้าวไปกินกัน แล้วไปดูว่าเกษตรกรทายาทเหล่านั้นทำอะไรไปแล้วบ้าง ไปพูดคุยกัน ไปช่วยให้กำลังใจ ให้แนวคิด ให้ความรู้เพิ่มเติม จนถึงไปช่วยกันลงมือปลูกพืชให้เป็นที่ระลึก

ผมถามแม่พิมพ์ว่า ใครให้แม่พิมพ์ทำเช่นนั้น แม่พิมพ์บอกว่า ทำเอง ก็เอ็นดูลูกหลาน มาอบรมแล้วมันจะไปทำต่ออย่างไรก็ไปเยี่ยมกัน ……

ให้ตายซิ….ผมนึก นี่แม่พิมพ์ไม่ได้เรียนการส่งเสริมการเกษตร ไม่เคยฝึกอบรมเรื่อง T&V system แต่แม่พิมพ์เอาความคิดเรื่องนี้มาอย่างไร นี่มันหลักการ V&C system

จริงๆ มันเป็นสำนึกพื้นฐานของ “ครูคน”


คิดใหม่ ทำใหม่

ไม่มีความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ มีนาคม 26, 2013 เวลา 21:11 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 3446

 

มีน้องนิสิตคนหนึ่ง ผู้ชาย มาแลกเปลี่ยนเรื่องการปลูกป่า ผมสอบถามเขาว่า มาจากจังหวัดไหน ที่บ้านทำอะไร ฯ เธอตอบว่า อยู่ชัยนาท หันคา ที่บ้านทำลานมัน เตี่ยก็อยากให้กลับไปรับมือต่อ แต่น้องคนนี้มาเรียนที่สถาบันนี้แล้วเกิดแนวคิดใหม่ว่า อยากเลิกลานมัน และอยากปลูกป่าเพราะมีที่ดินที่เป็นป่าเสื่อมโทรมอยู่มากประมาณ 300 ไร่ (หากจำไม่ผิดนะครับ)

เรื่องราวหลายเรื่องหลุดมาจากปากน้องนิสิตคนนี้ ซึ่งสะท้อนว่า แนวคิดเขาเปลี่ยนไปจากเดิมที่อยากทำธุรกิจต่อจากเตี่ย แต่เมื่อมาศึกษาที่สถาบัน เรียนรู้มากมาย เดินทางไปดูงานที่นั่นที่นี่ แล้วเกิดความคิดใหม่ อยากฟื้นฟู ป่าเสื่อมโทรม ทำป่าที่ให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นกว่าที่จะปล่อยทิ้งเฉยๆ หรือ เตี่ย ปล่อยให้ชาวบ้านมาเช่าที่ปลูกมันสำปะหลัง


 

เมื่อผมถามว่าทำไมถึงคิดจะทำสิ่งเหล่านี้….เธอตอบว่า ก็ผมมาเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ ที่ไม่เคยเห็น ไม่เคยคิดมาก่อน มาได้ยิน มาสัมผัสอีกมุมหนึ่งของความจริงในสังคมนี้…ฯลฯ…..

ผมถามต่อว่า หากไม่รับไม้ต่อจากเตี่ย…ก็จะต้องทำให้เตี่ย ผิดหวังน่ะซี… เขาพยักหน้า และบ่งบอกว่านั่นคือสิ่งที่เขาจะต้องหาทางทำความเข้าใจกัน

ชื่นชมน้องนิสิตคนนี้ที่กล้าหาญ และชื่นชมหลักสูตรนี้ที่ส่งผลแห่งความสำเร็จในหลักการ Smart farmer ออกมาแล้ว แตกหน่ออ่อนออกมาแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ใช่ที่สุด แต่เป็นเครื่องบ่งบอกว่า เกิดสำนึกทางสังคมที่เขารู้สึกจากด้านลึกข้างในออกมาแล้ว

เหลือแต่ว่าหลักสูตรนี้จะต้อง เข้ามาสัมผัสปรากฏการณ์แบบนี้ให้ได้ แล้วประคับประคองสำนึกนี้ และค่อยๆร่วมกับน้องนิสิตนี้ให้เขามีทางออกที่ดีที่สุดกับครอบครัวผู้เป็นบุพการีของเขา

มีน้องนิสิตคนอื่นๆอีกครับที่มีลักษณะเช่นนี้

หากพระองค์ทรงทราบเรื่องราวเช่นนี้ พระองค์จะต้องทรงชื่นพระหทัยเป็นยิ่งนัก

ข้าฯน้อย…ขอสนับสนุนหลักสูตรนี้ครับ


พฤติกรรมผู้ที่จะเป็น Smart Farmer

ไม่มีความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ มีนาคม 26, 2013 เวลา 0:01 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 4287

ดูภาพนี้ท่านคงเห็นด้านขวามือที่นิสิตท่านนี้เอาขยะมาเสียบบนเศษกิ่งไม้ ผมเชื่อว่าวันที่นิสิตจุฬามาสวนป่าวันนั้นคงเห็นภาพนี้กันบ้าง

เห็นแล้วคิดอะไร….


ผมเชื่อว่าท่านคิดอะไรดีดี แต่ท่านไม่ได้เขียนออกมา

ผมเดินตามกลุ่มนิสิตที่เดินตามพ่อครูบา ลุยป่าแล้วเล่าเรื่องต่างๆให้ฟัง ตลอดเส้นทางเดินสักสองชั่วโมงนั้น นิสิตหนุ่มท่านนี้เดินตามและฟังพ่อครูไปด้วยเหมือนเพื่อนนิสิตท่านอื่นๆ แต่นิสิตท่านนี้เก็บขยะที่พบในป่าเอาออกมาด้วยโดยหยิบมาใส่บนกิ่งไม้ที่หาได้ในป่าตามภาพ…

ขอปรบมือให้นิสิตท่านนี้ครับ เธอแสดงถึงจิตใจที่แคร์ต่อสภาพแวดล้อม และไม่ดูดาย เธอทำประโยชน์ไปพร้อมๆกับการเดินฟังการบรรยายของพ่อครูบา หายากจริงๆที่จะเห็นภาพแบบนี้ หากถามว่าคนอื่นๆที่เดินป่าไปพร้อมๆกันนั้นเห็นขยะแบบนี้กันบ้างไหม ผมก็ว่าต้องมีคนเห็นเพราะเดินกันไปตั้ง 50 คน แต่มีคนเดียวที่ทำสิ่งดีงามเช่นนี้

อย่างน้อยที่สุด มันสะท้อนถึงจิตใจที่สะอาด ที่ยอมเก็บสิ่งสกปรกออกมาจากป่า….

เราขอปรบมือให้น้องนิสิตท่านนี้ครับ



Main: 0.028437852859497 sec
Sidebar: 0.044131994247437 sec