ใบปะหน้า..
อ่าน: 3398วันนี้ไป Dialogue กับชาวบ้านเรื่องการเตรียมจัดวันไทบรูประจำปี 2553
เราแลกเปลี่ยนกันถึงสาระของงาน ในฐานะคนนอก ผมเองติดใจวิถีไทบรูเดิมๆที่ชาวบ้านบอกว่า เคยเล่าให้ลูกๆฟัง ลูกๆบอกว่า พ่อเอานิทานมาเล่า คือเด็กไม่เชื่อว่าสิ่งที่พ่อเล่านั้นคืออดีตวิถีไทโซ่
ผมเสนอให้รวบรวมสิ่งของที่เป็นเครื่องหาอยู่หากินเดิมๆของไทโซ่มาแสดง มีคนมาบรรยาย เชิญเด็กนักเรียนมาศึกษา เรียนรู้ ฯลฯ ทุกคนเห็นดีด้วย แล้วผมก็ลองสอบถามว่า ไหนลองบอกซิว่าเครื่องมือโบราณนั้นมีอะไรบ้าง…
เท่านั้นเอง แต่ละคนก็บอกว่า มีหน้าไม้ ยางน่องอาบพิษ มีเครื่องมือจับสัตว์สารพัดแบบที่ผมนึกไม่ถึงว่าไทโซ่โบราณนั้นจะมีภูมิปัญญาลึกซึ้งขนาดนี้ ง่ายๆ เป็นกลไกที่ง่าย ฉลาดและได้ผล บางคนขับมอเตอร์ไซด์กลับบ้านไปเอาเครื่องมือมาให้ดู บางคนเดินออกไปนอกวงคุย เดี๋ยวเดียวได้ไม้มาท่อนหนึ่ง แล้วก็สร้างเครื่องมือดักสัตว์แบบจำลองแต่ทำงานได้จริงๆให้ดู ฯลฯ
กำลังทำรายงานเรื่องนี้อยู่ครับ
ระหว่างนั้นผมพยายามกระตุ้นว่า การจัดงานต้องมีงบประมาณ ทางโครงการมีอยู่จำนวนหนึ่ง เป็นไปได้ไหมที่กรรมการเครือข่ายไทบรูไปประสานงาน ขอรับการสนับสนุนจาก อบต.ท้องถิ่น
ทุกคนส่ายหน้า บอกว่า เคยไปขอหลายครั้งแล้วเขาไม่เคยให้อะไรเลย ตรงข้าม เขาจะจัดศึกษาดูงานหรูๆ สร้างถนน ซื้อเครื่องจักรที่ไม่มีประโยชน์แก่ชุมชน ฯลฯ แต่ที่เรื่องการลงทะเบียนกลุ่มสวัสดิการชุมชนที่เสนอต่อจังหวัดนั้นยังไม่ผ่าน ทิ้งเรื่องไว้ตั้งหลายเดือน
ชาวบ้านเล่าให้ฟังอีกว่า นายกอบต.บอกว่า ทางราชการรับเรื่องการลงทะเบียนแล้วแต่มีแต่เอกสาร และรายชื่อสมาชิก ไม่มีใบปะหน้าเอกสารเหล่านี้ เขารอให้ อบต.ทำใบปะหน้าไป
นายกบอกว่า ใบปะหน้ามันเป็นอย่างไร ไม่เคยเห็น และไม่รู้จะทำอย่างไร ทำไม่เป็น…?????
ขำไม่ออกจริงๆ เจ้า “ใบปะหน้า” และ “นายก อบต.” ตำบลหนึ่งของดงหลวง…???
« « Prev : ความพอเพียงของสังคมดงหลวงโบราณ
10 ความคิดเห็น
ขอไปร่วมงานด้วยนะครับ
ขอเชิญชวนใส่ผ้าไทบรูมาใ้ชมด้วยนะครับ
งานวันไหนครับอาจารย์ครับ
บางทีไอ้ “ใบปะหน้า” นี่ก็ทำให้ งง กันได้อยู่นะคะ สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับการทำเอกสารทางราชการ… ตั้งแต่ไม่รู้ว่า “ใบปะหน้า” ต้องเขียนอย่างไร…จนกระทั่ง ไม่รู้ว่ามัน คืออะไร … ^_^
ยินดีอย่างยิ่งครับออต ตกลงกันเบื้องต้นว่าจะจัดกันในวันที่ 10-11 มีนาคม 53 ครับ ที่หน้าอำเภอดงหลวงครับ รายละเอียดจะทยอยเอามาลงนะครับ
อ.แป๋วครับ เป็นเช่นนั้นจริงๆ ในปะหน้า มันเป็นภาษาของเรา ของราชการ ชาวบ้านบางทีก็ไม่เข้าใจ เหมือนเราหลายครั้งที่ไม่เข้าใจศัพท์ ภาษาของชาวบ้าน หลายเรื่องเราก็เห็นใจ บางเรื่องก็ตั้งคำถามว่า ผู้นำชุมชนได้สะท้อนตัวตนของเขาออกมาว่ามีช่องว่างระหว่างชนบทกับราชการอยู่มาก ผมว่าอีกหลายเรื่องที่มีลักษณะเช่นนี้ครับ อ.แป๋วครับ
ผมเป็นกรรมการร่วมพิจารณาทุนวิจัยของราชการอยู่แห่งหนึ่ง เมื่อวันอังคารนี้เอง ทีมงานจาก มมส. นำเสนอความคืบหน้าของโครงการ ซึ่งจะไม่เล่าในรายละเอียดนะครับ แต่เขามีเว็บ http://www.digitized-isan.com ซึ่งพยายามรักษาภูมิปัญญาอีสานไว้
พี่ลองดูได้นะครับ อาจเป็นประโยชน์ ตอนนี้ ทีมมุ่งวิดีโอ แต่รูปก็มีเหมือนกันครับ
สงสัยเคยทำแต่ ใบปักหลัง ฮ่าๆๆ
ชาวเขาถูกตำรวจเรียกตรวจใบขับขี่….
ต้นมันเป็นยังไงเหรอ? เฮาบ่ฮุ้จัก อิอิ
ขอบคุณครับ คอน
ห้า ห้า พ่อครูครับ ใบปะหลังนั่นชำนาญนักครับ
ห้า ห้า โต้ มัน เป จะ ได เฮียตึ๋ง..