งานสูบน้ำห้วยบางทราย ดงหลวง
บ้านพังแดง เป็นหมู่บ้านไทโซ่ ที่มีที่ตั้งเป็นที่ค่อนข้างราบ เป็นหมู่บ้านขนาดกลาง อาชีพทำนาปี ข้าวไร่และมันสำปะหลังเป็นหลัก ขึ้นป่าเอาของป่ามาเป็นอาหารและเอาไปแลกข้าวบ้าง จากการทำ Feasibility study เมื่อก่อนที่จะมีโครงการนั้นพบว่าเกษตรกรต้องการแหล่งน้ำมาทำการเกษตร แม้ว่าจะมีลำห้วยบางทรายไหลผ่าน แต่ก็มีปัญหาการนำน้ำมาใช้
โครงการจึงตัดสินใจวางแผนก่อสร้างโครงการสูบน้ำเพื่อการชลประทานขึ้น มีพื้นที่รับประโยชน์ 1500 ไร่ ระบบน้ำใช้การสูบน้ำไปเก็บไว้บนถังแล้วปล่อยน้ำไปตามระบบท่อลึกใต้ดิน 1 เมตร ไปโผล่ที่แปลงนาเกษตรกรจำนวน 145 หัวจ่าย เกษตรกรเป็นผู้รับผิดชอบค่ากระแสไฟฟ้าโดยทางราชการจะรับผิดชอบในช่วง 3 ปีแรก แต่ทั้ง 3 ปีนั้นก็เก็บค่าบริการน้ำจากเกษตรกรทุกเดือนตามมิเตอร์น้ำเหมือนระบบประปาในเมืองในอัตรา ลบม.ละ .65 บาท เก็บเป็นกองทุนไว้ เมื่อปีที่ 4 เกษตรกรก็ต้องรับผิดชอบเต็มร้อยเปอร์เซนต์
รูปซ้ายมือนั้นคืออาคารสูบน้ำเมื่อสร้างเสร็จใหม่ๆ มีเครื่องสูบน้ำสองชุด เป็นระบบอัตโนมัติได้ และ Manual ได้ระบบไฟฟ้าเหมือนระบบที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์
(ดีซะไม่เมี๊ยะ….ดีเกินไป…)
รูปขวามือนั่นแหละคือปัญหา A คืออาคารสูบน้ำที่ตั้งอยู่ริมฝั่งห้วยบางทราย B คือถังเก็บกักน้ำก่อนปล่อยเข้าสู่ระบบท่อ เพราะที่ตั้งอาคารอยู่ตรงทางโค้งทางฝั่งซ้ายของลำห้วยบางทรายเมื่อฤดูน้ำหลากมาถึง น้ำก็พัดพาเอาทรายตามธรรมชาติไหลมาด้วย ซึ่งก็ไหลเข้ามาถมทับหัวสูบน้ำ ตามรูปด้านล่างซ้ายมือ
ปริมาณทรายที่ถมทับนั้นมากมายใช้แรงงานคน ประมาณสองวันเต็มๆ ที่เหน็ดเหนื่อย ขั้นตอนการเอาทรายออกก็ต้องนั่งเรือข้ามฝั่งเอาถุงปุ๋ยที่ซื้อมาจากเมืองไปใส่ทรายบนตลิ่ง ใส่เรือนำข้ามฝั่งมาวางซ้อนทับกันเป็นเขื่อนแล้วสูบน้ำภายในอาคารหัวสูบน้ำออก แค่นี้ก็ค่อนวันเข้าไปแล้ว จากนั้นก็เปิดลูกกรงเหล็กลงไปที่อาคารหัวสูบน้ำค่อยๆตัดทรายทีละกระป่อง จนเอาทรายที่ถมทับหัวสูบน้ำออกหมด..
ชาวบ้านที่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำต่างก็มาร่วมใช้แรงงานกัน ใครติดธุระไม่ได้มาก็เอาไก่ต้มมาแทน วัยรุ่นหรือลูกหลานที่กำลังหนุ่มแน่นก็เป็นแรงงานหลักต่างมาช่วยกันเต็มที่
เหนื่อยก็ล้อมวงกินข้าวเหนียวที่เตรียมมา เนื้อที่เป็นโปรตีนคือ หนูป่าย่างหอมกรุ่น.. ชาวบ้านเหนือยอย่างนี้ทุกปี จนมาสรุปบทเรียนว่า ปัญหานี้ควรแก้ไข โดยการทำหัวสูบน้ำยื่นออกไปกลางลำห้วยบางทราย เพราะตรงนั้นน้ำไหลตลอดจะไม่มีทราย ทางวิศวกรราชการมาดูหลายครั้ง ก็ยังไม่ได้แก้ไขอย่างใด
ชาวบ้านอ่อนใจที่ระบบถูกสร้างขึ้นมาโดยไม่ได้เตรียมแก้ปัญหาสิ่งนี้ ทุกปีก่อนเข้าสู่ฤดูแล้งจะต้องระดมแรงงานมาขุดลอก คนที่นั่งอยู่กรุงเทพฯก็คิดว่า “ราชการสร้างให้แล้ว แค่นี้ชาวบ้านก็ช่วยๆกันหน่อยซิ…” อุปสรรคนี้เป็นประการหนึ่งที่ทำให้การใช้ประโยชน์จากโครงการไม่เป็นไปตามที่โครงการคาดหวัง…
ประเด็นคือ ที่สถานที่อื่นที่สามารถตั้งอาคารสูบน้ำได้โดยไม่เกิดปัญหาทรายมาถมทับหัวสูบน้ำ
นอกจากนี้ยังมีจุดอ่อนอื่นๆอีก เช่น ปลายท่อระบบน้ำไม่มีทางเปิดออก, น้ำที่ปล่อยลงท่อแม้จะมีตัวกรอง แต่ตะกอนขนาดเล็กก็หลุดไปตามท่อได้ ก็จะไปจับตัวที่มิเตอร์วัดปริมาณการใช้น้ำ ทำให้เกิดไม่หมุน ก็ไม่ทราบปริมาณการใช้น้ำ ท่อรั่ว แกนวาล์วเปิดปิดน้ำที่เครื่องสูบน้ำเป็นเหล็กหล่อ เกิดหักขึ้นมา ผ่านไปเกือบปีแล้วยังไม่ซ่อม…ฯ
ระบบที่ซับซ้อน ดีเกินไปนั้นเมื่อถ่ายโอนให้อบต. จะสามารถดูแลได้มากน้อยแค่ไหน.. งานแบบนี้หากอยู่ภายใต้ระบบราชการก็ยากที่จะคล่องตัวในการบำรุงรักษา แค่บริหารจัดการระบบก็หนักอึ้งแล้ว ยังต้องมาบริหารชาวบ้านให้มาใช้ประโยชน์อีก…
แค่โครงการสูบน้ำนี้โครงการเดียวก็ต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์… มิเช่นนั้นงบที่ลงทุนไปครึ่งร้อยล้านบาท ก็จะเป็นซากอีกแห่งหนึ่งของระบบที่มีเจตนาดี แต่ไม่เอื้อต่อการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
« « Prev : ไม้ข่มเหง
Next : รับผู้ว่าแล้วมารับทูต » »
11 ความคิดเห็น
น้องเบิร์ดถามว่าปัญหางานสูบน้ำคืออะไร ก็เลยเอามาแบ่งปันเพียงบางส่วนนะครับ อิอิ มีอีกแยะ.. แค่นี้ก็หัวหงอกแล้ว..
เหวอเลยค่ะพี่บู๊ด นึกถึงประปาหมู่บ้านเลย ปัญหาคือน้ำไม่สะอาด ไม่ผ่านการรับรอง แต่ปรับแก้แบบไม่ได้เพราะผู้รับเหมาสร้างแบบนั้น ปัญหาเกิดขึ้นเพราะการก่อสร้างไม่ได้ศึกษาอย่างรอบด้าน ทั้งลักษณะของน้ำ ลักษณะที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล คิดเพียงสร้างให้สูบน้ำได้ก็พอ
เมื่อสร้างตามงบประมาณประปาหมู่บ้านแล้ว คราวนี้จะทำยังไง จะทุบก็ไม่ได้เสียดายงบ จะรับรองก็ไม่ได้เพราะไม่ผ่านเกณฑ์ แล้วชาวบ้านจะใช้น้ำยังไงเพราะแหล่งน้ำธรรมชาติก็เจ๊ง ต้องซื้อน้ำกิน น้ำใช้อีกจบกันเลย… แถมวันดีคืนดีมีข่าวตัวอะไรลอดออกมาให้สนุกสนาน วุ้ย ขอบ่นหน่อยเถอะค่ะ
แล้วเจ้าโครงการนี้จะทำยังไงกันต่อคะ ทรายที่ไหลมากับน้ำมาจากไหน? ชะลอการไหลของทรายได้มั้ยคะ หรือว่าสูบทรายเอามาใช้แบบท่าทรายไปเลยดี แต่ชอบรูปอ้ายที่ลงไปแช่ในน้ำจริง ๆ ขนาดเปียกยังหล่อเลย อิอิอิ
ความจริงในทัศนพี่ ทุกปัญหาแก้ได้ แต่อำนาจในการแก้ไขไม่ได้อยู่ในมือเรา งบประมาณที่จะใช้ไม่ได้อยู่ในมือเรา อ้าวก็ทำเรื่องเป็นหนังสือไปซิ ทำครับ ทำไม่รู้กี่ฉบับยแล้ว ส่งหาย ส่งหาย อิอิ เราก็สั่นหัว แล้วมาเรียกร้องให้เราทำงานกับชาวบ้านให้มีการใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ หากข้อเสนอไม่ได้รับการตอบสนองทันต่อเวลาที่เหมาะสม จะเอาประสิทธิภาพในการทำงานมาจากที่ไหน
บ่นอีกครั้งว่า ระบบราชการมีส่วนดีมากมาย นับไม่ถ้วนถึง แต่ที่แย่ๆก็เห็นๆกันนี่แหละครับ
ทรายมาจากไหน มาจากธรรมชาติครับ เพราะพื้นที่นี้เป็นป่าเมื่อฝนตกหนักๆก็กัดเซาะมาตามธรรมชาติ
เอาทรายไปขายซะเลย คุณภาพทรายไม่ดีพอครับ มันเป็นทราบตับเป็ด ที่ละเอียดหยิบและผสมดำๆมาด้วย เอาไปก่อสร้างไม่ได้ แต่เอาไปทำอย่างอื่นได้ เช่นถมที่ แต่ก็ไม่มากพอ
พี่เคยเสนอให้ระบบธุรกิจเข้ามาเช่าพื้นที่ใช้ประโยชน์เลย เพราะเขา มีคน มีเงิน มีความรู้ ก็น่าที่จะใช้ประโยชน์เต็มที่ได้ แต่ไปติดต่อแล้วเขาไม่เอา เขาบอกว่า เขามีประสบการณมากเกี่ยวกับแรงงานที่เป็นชาวบ้าน หากเป็นเรื่องการจ้าง ก็จะล้มเหลวเพราะเมื่อคนคุมอยู่ก็ทำ พอคนคุมไปทำงานอื่น ลูกจ้างก็แอบหยุดทำงาน รบรากันไม่ไหว เขาบอกให้แรงงานเป็นชาวบ้านรับผิดชอบเอง ได้เสียอยู่ที่ชาวบ้านเองนั่นดีที่สุด
เลยคิดกันว่าจะเอามูลนิธิเข้าไปทำการชักชวนชาวบ้านปลุกผักปลอดสารพิษนำร่องส่งโรงพยาบาลในเมืองมุกดาหาร ส่งร้านค้า ส่ง lotus น่ะครับ โดยเอาคนลงไปทำระบบ visiting and coaching (V&C) ที่เรียกว่า Intensive care(IC) ต่อระบบการปลุกพืชผัก นี่แค่คิดเบื้องต้นนะครับ ที่ต้องใช้ V&C แบบ IC เพราะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตของชาวบ้านที่เป็นไทโซ่ ให้คุ้นเคยการผลิตแบบ IC น่ะครับ
สวัสดีค่ะ ลุงบู๊ด
หนู พลอยเองนะค่ะ พลอยสิรินทร์ ลูกแม่ติ๋มหน่ะค่ะ
หลังจากที่แม่ให้หนังสือ “เจ้าเป็นไผ” มาอ่าน หนูก็เลยตามมาอยู่ที่นี่ด้วยหน่ะค่ะ
ปกติเป็นคนเขียนบล๊อคอยู่แล้วด้วย ^^ จึงอยากมาร่วมแบ่งปันความรู้ที่นี่ด้วย
ลุงบู๊ดเก่งจังเลยนะค่ะ อ่อ เกือบลืมไปว่าแม่ติ๋มก็ทำบล๊อกแล้วนะค่ะ หลังจากที่ได้แรงบันดาลใจจากคุณลุงนั่นเอง ^_^
ตามลิ้งนี้เลยค่ะ http://timsam.exteen.com/
แล้วจะมาอ่านความรู้ดีๆที่ลานดงหลวงของลุงบู๊ดเรื่อยๆนะค่ะ สวัสดีค่ะ
นี่ลานรีวิวของหนูนะค่ะ
http://lanpanya.com/reviewzone/
สวัสดีหนูพลอย หลานรัก
ลุงดีใจที่หนูมาเยี่ยมและตั้งใจเขียน blog นะ ดีแล้ว ที่ลานแห่งนี้เกือบทั้งหมดเป็นคนทำงาน เป็นผู้ใหญ่ หนูมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็จะได้รับคำแนะนำดีดีนะ หนูต้องเรียนรู้มากๆ เพราะทุกท่านล้วนมีประสบการชีวิต ประสบการณ์จากหน้าที่การงานมากมาย ประสบการณ์คือปัจจัยที่สำคัญในการบ่งบอกแนวทางที่ดี ที่เหมาะสม ที่ถูกต้อง เด็กๆอย่างหนูกำลังเรียนรู้ ต้องเรียนรู้มากๆจากลานนี่นะ เป็นการเรียนลัดด้วย
ดีแล้วพลอย เดี๋ยวลุงไปเยี่ยม blog ของแม่ติ๋มนะ
ค่ะลุงบูด น้อมรับคำชี้แนะทุกประการค่ะ
เรื่องตัวหนังสือจะปรับนะค่ะ มันเล็กไปจริงๆนั่นแหล่ะค่ะ
อย่างไรเสียต้องขอให้ลุงบูดชี้แนะด้วยนะค่ะ ^__^
แล้วจะแวะมาอีกค่ะ ราตรีสวัสดิ์
ตอนนี้หนูใช้ธีมเดียวกับลุงบู๊ดแล้วนะค่ะ
เห็นคุณน้ำฟ้าและปรายดา(ไม่ทราบชื่อ)แนะนำให้ใช้ธีมนี้
ปรับตัวอักษรแล้วด้วยค่ะ อ่านง่านขึ้นเยอะเลยค่ะ
แล้วจะมาอีกนะค่ะ หวังว่าคุณลุงคงสบายดี ^^
เยี่ยมเลยหนูพลอย คนแก่ เอ้ย..คนผู้ใหญ่ จะได้อ่านสะดวกหน่อย ไม่งั้นต้องเอาแว่ยขยายมาส่อง อิอิ
เก่งมาก..ลูกพลอย
ลุงสบายดี
ฝนฟ้าไม่ค่อยปกติเท่าไหร่ ลุงบู๊ดดูแลสุขภาพด้วยนะค่ะ ^^
ขอบใจมากจ่ะหนูพลอย ลุงเพิ่งมาเปิดคอม เพิ่มเดินทางกลับมาจากมุกดาหารมาถึงเดี๋ยวนี้เอง ไปทำงานและงานเลี้ยงท่านทูตประเทศไทยประจำเวียตนาม เขามาเยี่ยมเพื่อนเก่าๆที่มุกดาหาร และไปงานต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดคนใหม่ เป็นรุ่นน้องที่ มช ลุงสบายดี มีเวลาก็เขียน blog บ่อยๆนะ