ตามรอยน้ำพุร้อน (๑)
อ่านเรื่องภูเขาไฟของ iwhale แล้วกระตุกความคิด การเตรียมรับภัยพิบัติทางการแพทย์ว่าในพื้นที่ของกระบี่มีอะไรอีกที่ควรเตรียมการต่อหลังจากมีประสบการณ์กับสึนามิ
อ่านต่อ »
อ่านเรื่องภูเขาไฟของ iwhale แล้วกระตุกความคิด การเตรียมรับภัยพิบัติทางการแพทย์ว่าในพื้นที่ของกระบี่มีอะไรอีกที่ควรเตรียมการต่อหลังจากมีประสบการณ์กับสึนามิ
อ่านต่อ »
คิวของผู้มาเล่าสู่กันฟังเมื่อหมดลง พวกเราก็มีโอกาสไปเห็นพื้นที่ภายในของมาบตาพุด วนเวียนชมสถานที่กันอยู่ราวๆชั่วโมงหนึ่งก็ออกจากไซด์งานกันมา มาถึงโรงแรมที่พักลุงเอกก็ต้อนพวกเราเข้าห้องประชุมอีกรอบ คราวนี้มีคนมาเล่าเรื่องเกาะช้างและผลกระทบในชุมชนมาบตาพุดในอีกมุมมองให้ฟัง
อ่านต่อ »
มีเรื่องที่ทางฝ่ายกนอ.ได้เล่าให้ฟังอีก จึงขอนำมาบันทึกไว้ต่อว่าเขาเล่าอะไรให้ฟังบ้าง ผู้มาเล่าเรื่องราวให้ฟังมี ๓ ท่าน คือ ดร. วีระพงษ์ จากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คุณชายน้อย จากสภาอุตสาหกรรม และคุณสมชาย จาก SCG ขออภัยที่จำนามสกุลของทั้ง ๓ ท่านไม่ได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายสยุมพร ลิ่มไทย ได้มาเล่าประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับมาบตาพุดให้เราฟังด้วย มุมมองภาครัฐฝ่ายปกครองท่านนี้เล่าให้ฟังว่า บทบาทที่เข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะผู้ว่าฯนั้นเสมือนเป็นคนกลางที่อยู่ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในพื้นที่ ที่ผ่านมาเมื่อมารับตำแหน่งผู้ว่าฯ ก็ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรมาก่อนเท่าไรนัก มารับตำแหน่งก็ได้รับทราบปัญหา แล้วก็ทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ เอกชน ประชาชน อุตสาหกรรม ประชาสังคม ผู้นำชุมชน ตั้งแต่ ๑๖ มี.ค ๕๒ เป็นต้นมา ช่วงนั้นศาลปกครองประกาศให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่เขตควบคุมมลพิษพอดี
ในเรื่องของมาบตาพุด ศ.ดร.ธงชัย มีความเห็นว่าปัญหาอยู่ตรงที่มีการสะสมมลพิษแล้วไม่ได้แก้ไข ระบบติดตามเฝ้า (monitor) EIA ไม่เดิน บังคับใช้ด้านสิ่งแวดล้อมและแรงงานไม่ได้ ผังเมืองถูกแก้ แนวกันชน (Buffer Zone) หาย ชาวบ้านไม่ไว้ใจ ไม่รู้ขีดความสามารถของพื้นที่ในการรองรับผลจากปัญหาสารระเหยง่ายพวกเบนซีน และ “ชาวบ้านดั้งเดิม” รู้สึกว่าต้องเสียสละมากเกินไปจึงเรียกร้องเขตควบคุมมลพิษ ความไม่ไว้ใจมาจากโดนแย่งสิ่งที่เคยเข้าถึง เช่น เตียงร.พ. ที่นั่งเรียนในโรงเรียน ระบบประปา