ตามลม (๓๓) : น้ำเหม็น แอมโมเนีย มะเร็ง ออกซิเจน

อ่าน: 1698

เมื่อพูดถึงความขุ่น ผู้รู้เรื่องน้ำเขาบอกว่า  โคลนตม ทรายแป้ง (Silt) แพลงตอนในน้ำ คือต้นเหตุของน้ำขุ่น

การใช้ความขุ่นบอกถึงแพลงตอน มีผู้รู้บอกไว้ว่าน้ำที่ใสจนมองเห็นก้นก็เป็นน้ำที่มีแพลงตอนน้อย แพลงตอนทำให้เกิดสีน้ำด้วย

สีน้ำตาลใส เข้ม สีชา เขียวอ่อน เขียวเข้ม เหลือง แดง หรือปนมากกว่า 1 สี หรือขุ่นบอกถึงน้ำที่มีแพลงตอนอยู่ด้วย  พรายน้ำที่เรืองแสงเป็นสีฟ้าซึ่งคนโบราณเล่าสืบทอดกันมาก็เป็นแพลงตอนชนิดหนึ่ง

แพลงตอนมีทั้งพืชและสัตว์ มีขนาดเล็ก อยู่ในน้ำทุกชนิด แพลงตอนมีประโยชน์ในการควบคุมกลิ่นในน้ำโดยควบคุมแอมโมเนียในน้ำ

ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่กินแพลงตอนสัตว์  การที่มันแพร่พันธุ์ได้เป็นจำนวนมากจนล่อใจเด็กที่พ่อแม่พามาเยี่ยมไข้ จึงเป็นสัญญาณบอกกลายๆว่าน้ำในคูหลังตึกเจ้าปัญหามีแพลงตอนสัตว์อยู่จำนวนมากทีเดียว

เล่าไปแล้วว่าน้ำมีไนไตรท์และไนเตรทด้วย ไนเตรทกระตุ้นให้พืชน้ำเจริญเติบโต ปรากฏการณ์นี้ถ้าเกิดอย่างรวดเร็ว นักสิ่งแวดล้อมเขาเรียกมันว่า “อัลกัลบลูม (Algal Bloom หรือ Eutrophication)”  เมื่อไรที่เกิดเมื่อนั้นก็เกิดผลเสียกับแหล่งน้ำ

เมื่อปูนขาวลงไปอยู่ในน้ำ ในขณะที่มันดูดคาร์บอนไดออกไซด์ไว้จะเกิดคาร์บอเนตปนอยู่ในน้ำ  มันทำให้แพลงตอนพืชได้สารอาหารครบถ้วนและดูดซึมแอมโมเนียไปใช้ได้ดี

การขาดออกซิเจนทำให้แพลงตอนอยู่ไม่ได้ ถ้าในน้ำมีออกซิเจนละลายอยู่น้อย แอมโมเนียจะเปลี่ยนเป็นไนไตรท์และไนเตรทได้ไม่สมบูรณ์ด้วย

เรื่องราวมันหมุนเป็นวงจรไม่หยุดนิ่งจนเวียนหัวทีเดียว  แต่ก็พอจะสรุปเคล็ดไว้เตือนใจได้ว่า

“น้ำเสียที่เหม็น คือ น้ำที่ออกซิเจนน้อย แอมโมเนียมาก มีสารไนไตรท์ที่ก่อมะเร็งมาก การใช้น้ำเสียจากส้วมไปใช้เป็นปุ๋ยปลูกพืชอาหาร  จึงมีอะไรที่พึงระวังการใช้ ระวังการสะสมของไนเตรทหรือไนไตรท์ในพืชอาหาร ใช้เพลินจนลืมตัวไม่ได้เชียว”

เมื่อไปสังเกตคูรับน้ำจากบ่อน้ำทิ้งใกล้ไตเทียมครั้งแรก ก็เอะใจที่คูซึ่งอยู่ปลายๆน้ำ มีตะไคร่สีเขียวปนดำอยู่จำนวนมาก ต่างจากคูหลังตึกเจ้าปัญหาไปอีกแบบ ตอนนั้นก็ไม่รู้หรอกว่าตะไคร่พวกนั้นบอกอะไร  วันนี้รู้แล้วละว่ามันเกิดจากอะไร

เมื่อใส่ปลาลงในบ่อแล้วหายจ้อยไป ก็ได้คำอธิบายชัดๆว่า ปลาตายหมดเพราะแอมโมเนียในน้ำก่อพิษนี่เอง ที่เคยสรุปไว้ใช่เลย…อิอิ

มีข้อสังเกตอีกเรื่องหนึ่งที่ได้จากตรงนี้ “น้ำเสียที่ผ่านออกมาจากส้วมตรงๆ มีคุณสมบัติเป็นกรดสูงมาก pH ต่ำกว่า 4 ได้ แค่มีน้ำราดทำความสะอาดลงไปปน ไม่ช่วยเพิ่มความเป็นด่างให้น้ำ แต่ถ้าน้ำไม่ขังนิ่ง ไหลเรื่อยๆ ความเป็นด่างจะเพิ่มขึ้น”

เข้าใจแล้วละว่าทำไมในระบบบำบัดน้ำเสียหลายแบบ จึงต้องมีพื้นที่ต่างระดับให้เกิดสภาพกาลักน้ำ หรือมีพื้นที่ให้น้ำไหล ไม่ขังนิ่ง

« « Prev : ตามลม (๓๒) : pH สูง แอมโมเนีย สาหร่ายสีเขียว เมื่อเกี่ยวกัน

Next : ตามลม (๓๔) : ตะกอนลอย ไนเตรท ขี้แดด » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ตามลม (๓๓) : น้ำเหม็น แอมโมเนีย มะเร็ง ออกซิเจน"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.022028923034668 sec
Sidebar: 0.10894894599915 sec