ตามลม (๓๒) : pH สูง แอมโมเนีย สาหร่ายสีเขียว เมื่อเกี่ยวกัน

อ่าน: 2300

แอมโมเนียที่มีพิษต่อสิ่งมีชีวิตเป็นอันไอออนไนซ์แอมโมเนีย (NH3)  ที่ไม่เป็นพิษเป็นไออนไนซ์แอมโมเนีย สัดส่วนของ 2 ตัวนี้ตัวไหนจะมีมากน้อย ค่า pH น้ำมีส่วนเกี่ยวมาก

pH ที่สูง  แอมโมเนียจะอยู่ในรูปของอันไอออนไนซ์แอมโมเนียมสูง อุณหภูมิและเกลือแร่ก็ทำให้อันไอออนไนซ์แอมโมเนียสูงด้วย แล้วก็ไม่ต้องแปลกถ้าพบว่า ยิ่งมีสภาวะร่วมของสิ่งเหล่านี้ อันไอออนไนซ์แอมโมเนียก็ยิ่งสูงนะคะ

แอมโมเนียที่ละลายในน้ำมาจากของเสียที่สัตว์และคนขับถ่ายออกมาและจากเศษอาหารที่เหลือค้างอยู่ในน้ำ  การพบแอมโมเนียในน้ำจึงเป็นตัวชี้บอกว่ามีของเสียจากส้วมลงมาปนในน้ำ

พูดถึงคุณภาพน้ำ ใครรู้ว่า กรมควบคุมมลพิษหรือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติใช้แอมโมเนียตัวไหนอ้างอิงคุณภาพน้ำ มาบอกกันด้วยค่ะ

การจะรู้ว่าในน้ำมีแอมโมเนียมสูงหรือเปล่า เขาใช้วิธีวัดก๊าซที่เรียกว่า ไนไตรท์ (NO2) เจ้าตัวนี้เปลี่ยนแปลงมาจากแอมโมเนียโดยฝีมือของสิ่งมีชีวิิตตัวเล็กๆที่ไม่เห็นด้วยตา ซึ่งเรียกกันว่า แบคทีเรียตรึงไนโตรเจน (Nitrifying bacteria)

กระบวนการจัดการของเจ้าตัวเล็ก ไม่ได้สิ้นสุดที่ไนไตรท์ มันจะเปลี่ยนต่อให้เป็นไนเตรท (NO3) และก๊าซไนโตรเจน  ถ้าวัดก๊าซไนไตรท์ไม่ได้ก็วัดไนเตรทแทน

น้ำที่มีไนเตรทสูง เป็นน้ำที่ทำให้ปลามีภูมิคุ้มกันลดลง ในน้ำสกปรกมีออกซิเจนต่ำ เข้าใจแล้วละว่าทำไมจึงไม่พบปลาในน้ำเสียทั้งหลาย

ไนไตรท์ในน้ำที่มีสภาวะเป็นกรดให้โทษกับปลา ถ้าน้ำเป็นด่างจะไม่ออกฤทธิ์ มันเปลี่ยนร่างกลับไปเป็นแอมโมเนียได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องบำบัดน้ำที่มันละลายอยู่

นอกจากไนไตรท์จะเปลี่ยนร่างได้ ไนเตรทเองก็เปลี่ยนร่างเป็นไนไตรท์ได้

ไนไตรท์เป็นสารก่อมะเร็งให้คนได้ และทำให้เม็ดเลือดแดงของคนขาดออกซิเจนได้เหมือนในปลา เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ต้องสนใจว่าได้จัดการน้ำเสียจากส้วมที่ออกมาปนในคูก่อนปล่อยให้มันไหลไปต่อว่าดีพอหรือยัง

ที่ไหนมีออกซิเจนเยอะ และมีไนเตรท พืชชอบ จึงใช้ข้อสังเกตนี้เป็นเครื่องมือดูน้ำได้ น้ำตรงไหนที่พบมีสาหร่ายสีน้ำเงินปนเขียว บอกได้เลยว่าน้ำตรงนั้นมีไนเตรทสูง และใช้บอกกลายๆได้เลยว่ามีแอมโมเนียละลายอยู่ในน้ำเยอะด้วย

ผักตบชวาก็เป็นพืชชนิดหนึ่ง ที่นำมาลอยน้ำแล้วช่วยดูดรับไนเตรทไปใช้เป็นปุ๋ย ลักษณะของต้นที่นิ่มเหมือนฟองน้ำ ทำให้มันดูดเจ้าไนเตรทไว้กับตัวได้เยอะเลย

การที่มันสะสมไนเตรทได้เยอะและเป็นพืชที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารของคนด้วย หลังจากใช้บำบัดน้ำเสียแล้ว จึงไม่ควรนำไปเป็นอาหารสัตว์

ผู้รู้เขาเล่ามาให้ฟังว่า ผักตบชวาทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลงด้วยนะ ถ้าหากว่าใช้เกิน 25% ของพื้นที่ มิน่าละวันแรกที่ลอยผักตบในคู ค่า DO ของน้ำจึงลดต่ำลง

ผู้รู้เขาบอกด้วยว่า การใส่อะไรที่มีรูพรุนลงไปไว้ในน้ำก็ช่วยได้เยอะในการจัดการกับไนเตรท รูพรุนเหล่านี้มันทำให้เกิดพื้นที่อับอากาศไว้เป็นบ้านที่เจ้าตัวเล็กผู้มีความสามารถเปลี่ยนร่างไนเตรทเป็นไนโตรเจนได้อิงแอบนอน

พืชน้ำที่สามารถดูดไนเตรทได้ยังมีอีกหลายชนิด เช่น สาหร่ายหางกระรอก ธูปฤาษี กก แฝก พุทธรักษา โกงกาง แสม

« « Prev : ตามลม (๓๑) : เกลือแกง ปูนขาว ลดพิษไข่เน่าได้

Next : ตามลม (๓๓) : น้ำเหม็น แอมโมเนีย มะเร็ง ออกซิเจน » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ตามลม (๓๒) : pH สูง แอมโมเนีย สาหร่ายสีเขียว เมื่อเกี่ยวกัน"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 2.8020548820496 sec
Sidebar: 4.5698449611664 sec