เพิ่มความเข้าใจ
หลังจากเฮฮากันพอประมาณแล้ว อาจารย์ก็นำสู่การแบ่งปันเพื่อเพิ่มความเข้าใจความหมายทางภาษาของคำที่ใช้สื่อสารกันต่อ
คำบางคำตอนที่เรียนกับอาจารย์นพพร ก็ได้รู้ความหมายของคำเหล่านี้บ้างแล้ว อาจารย์เพียงแค่มาเติมต่อในบางแง่มุม เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันมากกว่า รับรู้ไว้ก่อนที่จะเกิดความสับสนกับความหลากหลายมุมของคำนะคะ
คำเดิมๆที่ผ่านตากันมาแล้ว ก็มี ๒ คำนี้นะคะ “Facilitation” และ “Mediation” อาจารย์มาเติมความรู้ในแง่ความสัมพัทธ์กับเวลาใช้งานและบางแง่มุมที่ต่างกันของมันค่ะ ลองอ่านกันเองดูค่ะ
เพิ่งมานึกได้ว่า ที่เคยเขียนถึงการระงับข้อพิพาททางเลือก ( Alternative Dispute Resolution) ในบันทึกนี้ ไว้นั้น อาจารย์นพพรก็ได้กรุณาเล่าถึงกระบวนการ ๔ กระบวนการที่เกี่ยวกับเรื่องราวของมันให้รู้จักด้วย ก็ถือโอกาสบอกซะเลยแล้วกันเพื่อจะได้ย่อยความเข้าใจไปพร้อมๆกัน
๔ กระบวนการที่ว่ามีดังนี้ค่ะ
Facilitation จัดให้คู่กรณีได้พบกัน
Conciliation ทำให้คู่กรณีประสานไมตรีกันได้
Joint-Fact Finding ค้นหาข้อเท็จจริงร่วมกัน
Mediation ช่วยให้คู่กรณีพบทางออกใหม่
รู้กันแล้ว ย่อยความรู้กันแล้ว ก็ขอชวนกลับมาที่การแบ่งปันของอาจารย์หมอวันชัยต่อค่ะ
อาจารย์ได้เล่าให้ฟังต่อถึงคำอีกคำหนึ่ง “Shutter Diplomacy” คำแปลภาษาไทยของคำๆนี้จะเป็นอะไรฉันไม่แน่ใจ ได้แต่เดาว่าคงหมายถึง กรอบกติกาข้อปฏิบัติร่วมกันของผู้มีเอี่ยวกับการเจรจา(มั๊ง)
เดาอย่างนี้ก็เพราะตอนที่อาจารย์แบ่งปัน อาจารย์นำเรื่องนี้มาให้ดูกัน แล้วก็พูดถึงการเจรจาที่ต้องมีกติกาเพื่อให้ใช้กำกับได้ค่ะ ใครรู้ว่าคำในภาษาไทยใช้ว่าอย่างไร มาบอกกันหน่อยเน้อ
ในเรื่องของการแยกคนออกจากปัญหา แยกจุดยืนออกจากคน อาจารย์อธิบายเหมือนอาจารย์นพพรว่า ให้ดูเรื่องจุดสนใจร่วม ประโยชน์ร่วมและจุดยืน แล้วยึดจุดสนใจหรือประโยชน์ร่วมในเวลาปรึกษาหารือกัน
อาจารย์ได้ขยายความหมายของทั้ง ๒ ประเด็นให้เห็นความสำคัญของมันไว้อย่างนี้ด้วยค่ะ
จุดสนใจหรือความต้องการ คือ สิ่งที่กลุ่มต้องการ หรือมีความจำเป็นต้องได้จริงๆจากการเจรจา
จุดสนใจหรือความต้องการ คือ ความจำเป็น ความหวัง ความกลัว ความห่วงกังวล ความปรารถนาที่อยู่เบื้องหลังจุดยืน
จุดยืน คือ ทางออกที่เหมาะสมของข้อพิพาทในสายตาของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
จุดยืน คือ ทางแก้ไขปัญหาที่เตรียมการไว้แล้วไม่ว่าจะเป็นผลลัพธ์สุดท้าย หรือ การแสดงความต้องการอย่างเปิดเผย
อาจารย์พูดถึงข้อตกลงที่เป็นมาตรการทางสังคมทางบวกว่าถ้าสร้างได้ก็มีพลังมหาศาล แต่ก็ต้องระวังถ้านำไปใช้ทางลบ แล้วจะยิ่งทำให้เกิดความแตกแยก ตัวอย่างที่ยกมาเล่าเป็นเรื่องการปรับถนนเพื่อทำยูเทิร์นบริเวณเส้นทางสาย ๓๒
ในเรื่องของการผ่านประชามติอาจารย์บอกว่าที่ประเทศอื่นเป็นผลของการมีส่วนร่วมแบบ double majority แต่ของเมืองไทยเป็น simple majority
มีคำอีกคำที่ฉันได้ยินอาจารย์เอ่ยถึง แต่ฟังไม่ถนัดค่ะ ได้ยินแว่วๆว่า “debuli” ไม่แน่ใจว่าฟังเพี้ยนคำหรือเปล่า ตอนที่ได้ยินคำนี้ อาจารย์พูดเรื่องการเอาคำตอบมาเป็นโจทย์ค่ะ
แล้วอาจารย์ก็นำพระราชดำรัสของร.๗ และพระราชปณิธานของในหลวงมาให้อ่านกัน เพื่อทำความเข้าใจพระราชดำรัสของพระองค์ให้เห็นถึงการมีสายประเนตรที่ลึกซึ้งกว้างไกลของพระมหากษัตรย์ไทยทั้ง ๒ พระองค์
ลองอ่านกันดูนะคะ
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
« « Prev : ระวังตาเข
Next : เสียงแท้จริงคือ…………. » »
ความคิดเห็นสำหรับ "เพิ่มความเข้าใจ"