ระวังตาเข
เมื่อครั้งที่น้องฑูรและพ่อครูไปเป็นนักเรียนโข่งรุ่น ๑ น้องฑูรเคยเล่าเรื่องของวิทยากรผู้หนึ่่งเอาไว้และบอกว่าท่านมีอะไรที่ชวนให้นั่งเรียนด้วยอย่างสนุกด้วยลูกฮาที่ท่านมี
วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๓ นักเรียนโข่งรุ่นฉันก็ได้ประจักษ์กับหูประจักษ์ตาในความสามารถเรียกเสียงฮาของวิทยากรที่เอ่ยถึงข้างบน ชั่วโมงที่เรียนกับท่านเป็นชั่วโมงต่อเนื่องจากอาจารย์นพพร โพธิรังสิยากร ท่านคือผู้ที่เขียนหนังสือเล่มนี้ค่ะ
บรรยากาศของวันที่เรียนกับอาจารย์เปลี่ยนไปจากเดิมๆตรงที่ อาจารย์ให้ย้ายห้องเรียนไปนั่งเรียนกันอีกห้อง ไม่มีโต๊ะนั่งเรียน มีแต่เก้าอี้ล้อมเป็นวงกลมไว้สองวง
คนที่เข้าห้องก่อนต่างเลือกที่นั่งในวงกลมวงนอก ปล่อยให้วงในว่างไว้ สังเกตดูเหอะดูเหมือนเรื่องนี้จะเป็นวัฒนธรรมไปแล้วกับการหาที่นั่งเรียนตามจริตของคนวัยทำงานเนอะ
และแล้วเมื่อถึงเวลาเรียน เหอๆๆๆ…..หลายคนก็แป่วเมื่ออาจารย์ไม่ยอมให้วงหน้าว่าง เรียกให้แต่ละคนพิจารณาการเข้ามานั่งวงในใกล้ๆอาจารย์….ฉันว่าที่อาจารย์ไม่ยอมให้นั่งวงนอกกันก็เพราะว่า ชั่วโมงเรียนนี้มีชื่อว่า “การใช้ประชาเสวนา” ในพื้นที่ความขัดแย้ง ก็เป็นได้นะคะ
แล้วอาจารย์ก็เริ่มสร้างสัมพันธภาพเพื่อให้พวกเราเปิดใจเรียนร่วมกัน ความเป็นกันเองของอาจารย์เป็นอย่างไรบ้าง ดูได้จากภาษากายของเพื่อนๆพี่ๆค่ะ
อาจารย์ตกลงกติกากับพวกเราด้วยว่า อาจารย์จะทำอย่างไรหากพวกเราคนใดคนหนึ่งกำลังรับโทรศัพท์ แล้วอาจารย์ก็ทำจริงๆค่ะ
อ๊ะๆ รู้นะคิดอะไรยู้ เดาผิดแล้วค่ะ อาจารย์แค่ลดเสียงคุยกับคนที่เหลือเบาๆจนแทบไม่ได้ยินแบบเกรงใจคนรับโทรศัพท์เท่านั้นเอง แค่ทริกที่อาจารย์ทำอย่างนี้ก็ทำให้คนมีความสุขแล้วค่ะ ไม่เชื่อดูกับตาเองได้เลยค่ะ
อาจารย์เริ่มต้นด้วยชวนทำความรู้จักกับความหมายของภาษาที่ใช้กันในแวดวงสันติวิธีอีกนั่นแหละค่ะ คำแรกที่นำมาคุยกันก็เป็นคำที่ฮิตคำนี้ค่ะ “การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม” มีความหมายว่าอย่างไร อ่านกันเองแล้วกัน ต่อด้วยคำอีกคำที่คุ้นหูค่ะ
อาจารย์เล่าเรื่องการทำประชาพิจารณ์ให้ฟังสั้นๆว่าอเมริกาเลิกทำไปนานแล้ว แล้วตบท้ายด้วยการแลกเปลี่ยนมุมมองไว้ว่า ถ้าต้องการให้เกิดความขัดแย้งให้ทำประชาพิจารณ์ เพราะประชาพิจารณ์เป็นเวทีของการโต้วาทีกัน (debate) ใครไม่เชื่อก็นำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับความรู้ของตัวเองแล้วกันค่ะ
แล้วอาจารย์ก็พูดต่อเรื่องมุมมองต่อการเจรจาประวัติศาสตร์ ๒ ครั้งที่เกิดขึ้นที่สถาบันพระปกเกล้าแห่งนี้ อาจารย์ออกความเห็นว่าถ้ามีการแบ่งแยกขั้ว แบ่งข้าง การเจรจาก็ต้องมีคนกลาง
ส่วนเวลาคุยกันแล้วมีการขอใช้สิทธิพาดพิง ให้รอ ไม่ควรใช้สิทธิทันที เพราะใช้สิทธิทันทีเมื่อไร ก็พาตัวก้าวเข้าสู่การโต้วาทีทันทีเมื่อนั้น
อาจารย์แนะให้เห็นมุมใหม่ว่าที่โต้กันนั้นส่วนใหญ่เกิดเพราะอารมณ์ และที่อาจารย์ให้รอก็เพื่อให้สิ่งที่ควรเกิดขึ้น เกิดขึ้นมา สิ่งนั้นคือ dialogue ค่ะ
แล้วอาจารย์ก็ชวนให้รู้จักคำเพิ่มขึ้นอีก เป็นคำเหล่านี้ค่ะ
อาจารย์แบ่งปันว่า dialogue ไม่สามารถนำไปถึงการประชาเสวนาเพื่อหาทางออก ยังเป็นแค่การฟังๆๆๆๆ ที่อาจารย์บอกว่า dialogue ยังเป็นแค่ฟังๆๆๆ เพราะอาจารย์แบ่งระดับการฟังไว้ดังนี้
ระดับที่ ๑ รับรู้ รวบรวมข้อมูล download data
ระดับที่ ๒ ฟังแบบศาล คือ ฟังแล้วโต้หรือแย้ง ( debate)
ระัดับที่ ๓ สานเสวนา ( dialogue) ฟังแบบตั้งใจ ได้ยินแบบมองตาก็รู้ใจ เข้าใจแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา (deep listening)
ระดับที่ ๔ ฟังแล้วจึงเห็นทางเลือก เห็นทางเลือกแล้วจึงตัดสินใจ (deliberate)
มีคำพูดหนึ่งที่อาจารย์เล่าออกมาสั้นๆ “นักเจรจาไกล่เกลี่ยต้องไม่ตาเข” ตรงนี้ทำให้เอะใจมั๊ยค่ะว่าอาจารย์กำลังสื่อเรื่องอะไร เมื่อฉันกลับไปทวนที่อาจารย์เล่ามาเรื่อยๆ ฉันเอะใจค่ะว่า อาจารย์กำลังบอกนัยยะเตือนการฟังของนักเจรจาด้วยหรือเปล่า??????????????….. ใครก็ได้ช่วยสรุปหน่อยค่ะ
ถ้าใช่ก็แปลว่าผู้จะทำหน้าที่เจรจาพึงฝึกฝนตนให้ระดับการฟังถึงระดับที่ ๔ ไปด้วยซิน่า
เมื่ออาจารย์แบ่งปันต่อว่า นักเจรจาไกล่เกลี่ยควรแสดงออกด้วยภาษากายว่าฟังอยู่ ซึ่งอาจารย์ก็มีลูกเล่นทำให้ดูค่ะด้วยการ ฟังไป พยักหน้าไปแล้วทำเสียง อือ ฮึ..ฮึ..อือม์…….ก็ทำให้บรรยากาศการเรียนชวนฮาหมือนที่อัยการชาวเกาะเคยเล่าให้ฟังไม่มีผิดเลย…มีภาพยืนยันความฮาด้วยค่ะ….อิอิ
6 ความคิดเห็น
ดูจะเรียนสนุกนะคะ
อาจารย์หมอวันชัย เคยเป็นกรรมการ RDI ที่คนข้างกายทำงานอยู่ ผมเองก็เคยเป็นกรรมการคู่กับท่านในนาม NGO แต่ก่อนสำนักสันติศึกษาที่ มข.ก็อยู่ที่ตึก RDI ลูกสาวท่านก็เปิดโรงเรียน HUG school ที่น้องออตเป็นครูสอนศิลปกับเด็กอยู่ ศรีภรรยาท่านก็เปิดโรงเรียน Bilingual school ที่ชื่อ KKVS หรือขอนแก่นวิเทศศึกษา เอาฝรั่งจาก NZ มาสอนเด็กไทยที่ขอนแก่น ลูกสาวผมก็เคยเรียนที่นี่ 1 ปีก่อนไปต่อ NZ วันเสาร์-อาทิตย์ ท่านก็จัดรายการวิทยุ เราก็ฟังท่านอยู่
ท่านเป็นคุณหมอที่มาโดดเด่นเรื่องกระบวนการเรียนการสอน หลักคิดต่างๆ โดยเฉพาะแนวทางสันติศึกษา ครับ ช่วงหลังไม่ได้ติดตามงานของท่านเลยครับ
บรรยากาศเรียนสนุก ลุกนั่งสบายจังค่ะ
เรื่อง “ไม่ตาเข” นี้ น่าจะหมายถึง นอกจากต้องพัฒนาระดับการฟังจนถึงระดับที่ 4 แล้ว ยังต้องพัฒนาการรับรู้ (มอง-เห็น) ให้ถูกต้องเที่ยงตรง ไม่มีอคติ (bias) อีกด้วย
จะแอบตามพี่เข้าห้องเรียนบ่อย ๆ นะคะ
น้องสร้อยจ๊ะ ชั่วโมงนี้ฟังเพลินเลยค่ะ อาจารย์มีมุกเยอะจริงๆ อ่านหนังสือที่เขียนกับฟังจากเจ้าตัวนี่อารมณ์คนละเรื่องเลยเชียว
พี่บู๊ทค่ะ จำได้ว่าตอนที่เจออาจารย์โสรีช์ และได้คุยถึงอาจารย์หมอ อาจารย์โสรีช์ท่านบอกว่า แนวทางของอาจารย์หมอ อาจารย์ยังไม่เรียกว่าเป็นสันติวิธีที่แท้จริงค่ะ น้องก็น้อมรับมาแบบฟังหูไว้หู ฟันธงแค่ว่าเป็นการบอกเล่าจากการมองต่างมุมที่ช่วยสะกิดว่า มีมุมต่างและมุมเหมือนอยู่ในหลักคิดของอาจารย์ ๒ ท่าน ส่วนอะไรต่าง อะไรเหมือนนั้น น้องก็คงต้องตามเรียนรู้ต่อไปค่ะพี่ โชคดีที่อาจารย์ไม่ใช้คำว่า “…เฮงซวย” ……อิอิ
น้องจ๋า บรรยากาศอย่างนี้ถูกจริตคนเป็นผู้ใหญ่เน้อ แต่ทำไม๊ทำไม ผู้ใหญ่ไม่ยอมจัดห้องให้อย่างนี้มั่งเลย
อืม ตามมาแล้วได้คุยกันด้วยอย่างนี้ ตามมาเลยค่ะ
ที่แลกเปลี่ยนมานั้นใช่เลยค่ะ หากการฟังของผู้คนถึงระดับ ๔ ได้ สิ่งที่น้องเอ่ยถึงมันออกมาเองจากคนๆนั้นค่ะ