ปลดฟอร์ม

โดย สาวตา เมื่อ 26 กุมภาพันธ 2010 เวลา 23:27 ในหมวดหมู่ การจัดการ, ประสบการณ์ชีวิต, วงเสื้อกาวน์, สังคม, เล่าสู่กันฟัง #
อ่าน: 1703

ระหว่างที่ผู้ใหญ่ใช้หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องเล่น ฉันก็เห็นเด็กนักเรียนชายคนหนึ่งเดินเข้ามา จึงชวนเขาไปว่า “มาลองเล่นเหมือนม๊ะ เหมือนจะ มั๊ย”

เด็กน้อยมองเห็นบรรยากาศที่กำลังสนุก จึงเต็มใจที่จะลองเล่นด้วย ฉันส่งหนังสือพิมพ์ไปให้ บอกวิธีเล่นให้ลองดู เชื่อว่าทีแรกที่ลงมือลอง ในหัวเขาคงคิดอะไรบางอย่าง  เพราะว่าเมื่อเขาลงมือทำ สัมผัสว่าเขาเอ๊ะกับตัวเองนา  เอ๊ะนั้นแสดงออกเป็นรอยยิ้มที่บอกความชอบว่าเจอเรื่องอยากลองดูอยู่ตรงหน้า

ที่รู้ว่ากระตุ้นต่อมอยาก ก็ด้วยเมื่อฉันสอนเขาให้เข้าใจวิธีเล่นแล้วเขาลงมือทำครั้งแรกเขาทำไม่ได้พร้อมกับมีสีหน้าบอกความแปลกใจค่ะ ระหว่างพยายามครั้งต่อมา บังเอิญว่ามีนักเรียนโผล่ขึ้นมาอีกหลายคน ฉันจึงไปเรียกเข้ามาเล่นด้วยกัน แต่เพื่อนเขาไม่ยอมเข้ามาเล่น เมื่อเห็นเพื่อนๆไม่เล่น เขาก็พาตัวเองวิ่งไปชวนเพื่อนด้วยกิริยาห่วงหน้าห่วงหลัง พะว้าพะวังหันมองกระดาษที่ทิ้งไว้พลาง มองไปทางเพื่อนพลาง สุดท้ายวิ่งกลับเข้ามาบอก “ผมขออนุญาต กลับไปโรงเรียนครับ” ฉันเชื่อว่าเขาพกความรู้สึกเสียดายที่ไม่ได้เล่นติดตัวกลับไปโรงเรียนด้วย

วาดไปยิ้มไป ขำๆหน่อยก็ใช้มือปิดปากหัวเราะคนเดียว

เมื่อจบการเล่นยางยืด เวลาก็ผ่านเลยสี่โมงเย็นแล้ว ฉันตัดสินใจจะหยุดไม่ต่อกิจกรรมใดๆอีก เกือบจะบอกให้ทุกคนแลกเปลี่ยนแบบเช็คเอาท์ในวงสนทนาก่อนลาจากกัน พลันสายตาเหลือบไปเห็นกล่องสีที่บอกให้เจ้าภาพเตรียมไว้ให้  แว๊บหนึ่งแทบไม่ได้คิด มีเสียงให้ได้ยินว่า”เปลี่ยนใจดูทีรึ ลองดูวิธีประเมินผลความพอใจแบบนี้ดูบ้าง”

ตกลงกับเสียงข้างหูแล้ว คำพูดจึงบอกออกไปว่า “ช่วยสะท้อนบรรยากาศวันนี้หน่อยว่าตลอดบ่าย ท่านรู้สึกอย่างไร โดยให้วาดภาพอะไรก็ได้ที่สื่อบอกความรู้สึกข้างในของท่านได้ จะเป็นรูปลายเส้นหรือรูปอะไรก็ได้ที่ใช้สีสื่อบอกออกมาได้ ไม่ต้องการสวย ต้องการแค่ใช้สื่อความในใจได้”

เหล่าผู้เข้าไม่มีใครรีรอกับโจทย์ที่โยนให้เลยค่ะ  ต่างคนต่างลงมือวาดภาพของตนเพื่อตอบ ฉันสัมผัสได้ว่าพวกเขาตั้งใจอยากบอกความรู้สึกข้างในออกมาอย่างไม่กั๊กกันสักคน รับรู้จากพลังที่อวลอยู่ในห้องว่าทุกคนมีความสุขกับการเรียนที่ทีมงานช่วยกันนำพา

บางคนวาดภาพไปพร้อมด้วยรอยยิ้ม บางคนหัวเราะกับตัวเอง บรรยากาศอวลไปด้วยเสียงหัวเราะและรอยยิ้มค่ะ บางคนที่ขอตัวไปรับลูกกลับจากโรงเรียนยังย้อนพาลูกกลับมาเข้าห้องร่วมเรียนอีกค่ะ

แม่วาด ลูกเชียร์ “น่าสนใจ เอ๊ะ ม๊ะ่ทำอะไร”

เมื่อภาพวาดของพวกเขาเสร็จลงต่างคนต่างก็ยื่นส่งกลับมาพร้อมรอยยิ้ม ส่งมอบสู่มือทีมงานของฉันที่คอยตามรวบรวมพร้อมรอยยิ้มเช่นกัน หลายคนที่พากันลุกขึ้นเตรียมตัวกลับบ้านพาตัวเดินเข้ามาใกล้ๆพวกเรา คำกล่าวขอบคุณก็หลุดจากปากอีกครั้งเบาๆ “ขอบคุณที่วันนี้ให้ความรู้ ที่ใช้ได้กับตัวเองจริงๆ”

บางคนรู้สึกดีมากๆจนถึงขนาดเข้ามาชวนว่า “ไปกินข้าวมื้อเย็นที่บ้านจะ ไปหมอ” ทั้งๆที่วันนี้แหละที่ได้ปะหน้า รู้จักหน้ากันเป็นครั้งแรก

เจ้าของโครงการเธอก็ชอบใจค่ะ ก่อนจากกันเธอเอ่ยปากว่า “โครงการนี้มีประโยชน์มาก ง่ายและใช้ได้จริง หนูมีโครงการกับผู้สูงอายุในชุมชนหมู่ละเดือน จองทีมงานของหมออีกได้ไหม”

ฉันตอบกับเธอไปว่า “ด๋ายเลยค่ะ ถ้าหากว่าน้องนัดหมายไว้ล่วงหน้า หมอๆพวกนี้เขาต้องการรู้เวลาล่วงหน้าจึงสามารถจัดการเวลากันได้”

เมื่อได้เห็นภาพวาดแล้ว อารมณ์ภาพวาดบอกถึงความสุขของผู้เข้าชัดเลยค่ะ  แม้แต่ภาพฟันที่ใช้สื่อ หรือภาพวาดของคนที่วาดรูปไม่เก่งแล้วพยายามวาดมอบให้มาก็ยังสัมผัสอารมณ์คนวาดได้เลย  อารมณ์คนวาดเป็นยังไงดูจากภาพนะคะ

บันทึกนี้เขียนขึ้นเพื่อไว้ใช้ทบทวนประสบการณ์ที่ลองฉีกแนวการเป็นวิทยากรด้านสุขภาพในรูปแบบใหม่กับอสม.เป็นครั้งแรกว่าสามารถให้ผลสะท้อนต่ออย่างไรบ้างเกี่ยวกับการเรียน การสอน และวิธีเรียนรู้ของผู้คนค่ะ

๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

หมายเหตุ  “จะ” ใช้เรียก “พี่”   “ม๊ะ”  ใช้เรียก “หญิงสูงอายุ”  เป็นภาษาที่ใช้เรียกหากันของชาวมุสลิมที่กระบี่ ที่อื่นใช้หรือเปล่าไม่รู้หรอก

บันทึกอื่น :

๑.  ติดฟอร์ม

๒. เปลี่ยนฟอร์ม

« « Prev : เปลี่ยนฟอร์ม

Next : เดือนที่ ๒ ของปีใหม่ผ่านไปแล้ว » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.082487106323242 sec
Sidebar: 0.11379599571228 sec