ผู้เรียนรู้คือคนสำคัญ

โดย สาวตา เมื่อ 17 มีนาคม 2009 เวลา 9:02 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต, เล่าสู่กันฟัง #
อ่าน: 1209

ภายใต้ความตั้งใจในการนำพาคนให้เกิดการเรียนรู้นั้น มีบทเรียนรู้ของกระบวนกรแฝงอยู่ในทุกก้าวย่าง ยิ่งการทำงานในแต่ละบริบทนั้นเป็นการทำงานผ่านทีมกระบวนกรยิ่งมีบทเรียนรู้ที่พึงเก็บเกี่ยว รับรู้ และเข้าใจ

บทเรียนรู้ที่ฉันกำลังกล่าวถึงมันอยู่นี้ เป็นเรื่องของการเรียนรู้พลังแห่งใจคน พลังแห่งความรู้สึกของคน และมีใครบางคนมาแลกเปลี่ยนไว้ว่า “ความรู้สึกของคนเป็นสิ่งที่น่ารัก” ซึ่งเป็นเรื่องจริง จริงๆนะ การได้ร่วมทำงานกันในพื้นที่เรียนรู้ที่โรงพยาบาลของฉันได้ยืนยันฉันอย่างนั้นเช่นกัน

การที่สามสาวมาปรากฏกายขึ้นที่โรงพยาบาลกระบี่นั้น ทำให้ความชัดเจนในเรื่องความรู้สึกของผู้คนในโรงพยาบาลมีต่อฉันชัดเจนขึ้นว่ามันเป็นภาพร่างที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกที่เขามีขึ้นจากได้รับข่าวสารที่คลาดเคลื่อน นั่นคือการบอกต่อกันมา ถ้าถามว่าฉันเรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้ ณ วันนี้ การรับรู้นี้ไม่ได้ก่อให้เกิดความรู้สึกใดๆมากไปกว่า อ้อ มันเกิดจากข่าวสารคลาดเคลื่อน เมื่อย้อนไปถึงกาลามสูตรข้อที่บอกไว้ว่า อย่าเชื่อตามๆกัน ฉันว่าฉันได้เรียนรู้ความจริงข้อนี้จากเรื่องนี้แล้วละ

ในระหว่างการทำงานร่วมกัน บทตอนที่อยู่ในระหว่างเราทั้งสี่คนนั้น มีบทเรียนเรื่องของใจและการให้ใจอยู่ตลอดเวลา ฉันรับรู้ถึงความมีน้ำใจกับคนที่มิใช่ความหลงต่อเปลือก หากมองไปถึง ความเป็น “คน” ความเข้าใจว่าคนมีความรู้สึก ตลอดกระบวนการทุกวินาทีสิ่งเหล่านี้ได้ปรากฏออกมาให้เห็นผ่านการพูดจา การเฝ้ามอง การบอกเล่า มันเป็นประจักษ์พยานว่า เนื้อความต่างๆและบริบทที่แสดงออกแต่ละช็อตแต่ละตอนนั้น เราทั้งสี่ทำงานด้วยใจ เป็นใจที่มีน้ำใจต่อคน และแต่ละวินาทีการให้น้ำใจกับคนของแต่ละคนมันก็หมุนเวียนเปลี่ยนผ่าน มันเปลี่ยนผ่านไปตามร่องอารมณ์บ้าง การรู้สติบ้าง อย่างนั้นแหละ

บริบทที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ได้ถูกนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในยามค่ำคืนของแต่ละวัน มันให้ความรู้ที่ไม่เคยคิดว่าจะมีในเรื่องของความสำคัญของ “ใจ” “น้ำใจ” “สายสัมพันธ์” “สติ” และ “ร่องอารมณ์” ว่า เมื่อมันเกิดปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างไม่เหมาะควรเมื่อไร มันมีผลต่อการทำงานร่วมกันของการทำงานเป็นทีม นี่เป็นบทเรียนสำคัญสำหรับกระบวนกรที่ทำงานร่วมกันเป็นทีมทีเดียวแหละ ขอบอก

มีสิ่งสำคัญที่การทำงานร่วมกันสี่คนในรอบ 3 วันที่ผ่านมาสอนว่า การทำงานเป็นทีมจะประสบกับความลื่นไหล และไปสู่ผลลัพธ์ที่พอใจได้ของแต่ละคน เมื่อสมาชิกในทีมไม่ติดอยู่ในร่องอารมณ์ ยอมรับในสไตล์ของกันและกัน ยอมรับในหลักคิดของแต่ละคน และไม่หวั่นไหวกับความต่าง ไม่หวั่นไหวกับวิธีการที่แตกต่าง ไม่หวั่นไหวกับข้อต้านในใจของตน หากแต่ดำเนินมันไปตามสไตล์ หัวใจของการวางบทบาทก็มีแค่ “ยึดผู้เรียนรู้เป็นคนสำคัญ” ฉันว่าเพียงแค่นี้ ไม่ว่าจะกระบวนกรจะมีความแตกต่างกันแค่ไหนในเรื่องสไตล์และหลักคิด ผลสำเร็จในเรื่องการเรียนรู้ที่ทุกกระบวนกรคาดหวังก็จะเกิดขึ้น

มีสิ่งที่พึงระวังอย่างหนึ่งที่ฉันเก็บเกี่ยวได้ในครั้งนี้ ในเรื่องของการบริหารความต่างให้ดำเนินไปสู่จุดหมายที่คาดหวังในมุมของความสำเร็จตรงที่ การมีสติกับการรับรู้ตัวกระบวนกรเองว่า ตลอดเวลาที่มีบทบาทอยู่นั้น คาดหวังความสำเร็จในความเป็นกระบวนกรของตนเองหรือการเรียนรู้ของผู้เข้าร่วมกันแน่

สำหรับตัวฉัน ฉันขอบอกว่า เพียงแค่ชัดเจนว่า สิ่งที่กระบวนกรกำลังมีบทบาทอยู่นั้นเป็นไปเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้อย่างแท้จริง ความต่างในเรื่องของวิธีการในเมื่อทุกเส้นทางที่ดำเนินมันก็จะมีจุดไปพบกัน ณ ที่เดียวกัน คือ การเรียนรู้ของผู้เรียนได้

« « Prev : ก่อนถึงวันตีแตกอีสาน

Next : สวนป่าก่อนตีแตก » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

9 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 มีนาคม 2009 เวลา 11:29

    เรื่องการสื่อสาร ความเข้าใจต่อสารที่สื่อ และการคลาดเคลื่อน มักพบปัญหาบ่อยๆ ตั้งแต่เรื่องเล้กๆ จนถึงเรื่องใหญ่ๆ คอขาดบาดตายก็มีมาก ในการทำงานที่ต่างวัฒนธรรมกันมีเรื่องนี้มากทีเดียว ตั้งแต่เรื่องตลก ฮา ฮิ้ว ไปจนเรื่องที่เกิดความเสียหายต่อการผลิตทางการเกษตรและอื่นๆ

    สามี ภรรยาก็ผิดใจกันเพราะการสื่อสาร และการ คลาดเคลื่อนทั้งผู้ส่งสารและรับสาร
    ฯลฯ….

    พี่ทำงานพัฒนาชนบทเรื่องเหล่านี้เกิดบ่อยๆ ทั้งที่เตือนน้องๆและแม้ตัวเราเองก็ยังเกิดขึ้นเพราะเผลอ หรือความเคยชิน
    มันไปเข้าหลักกาลามาสูตรที่หมอตากล่าว และ/หรือเข้าหลักประมาท ที่เราคาดการณ์ คาดหวังว่าคนเหล่านั้นจะเข้าใจที่เราสื่อ หรือ เราตีความหมายว่าผู้สื่อมีความหมายเช่นนี้ เช่นนั้น

    ส่วนหนึ่งจึงย้ำกันและใช้กันมากคือ ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร   หรือแม้ทำแล้วก็ตาม แต่ตัวลายลักษณ์อักษรเองไม่ชัดเจน อิอิ..
    แต่ต่างวัฒนธรรมนี่เกิดบ่อยมาก ตั้งแต่ภาษา ไปจนคำศัพท์เฉพาะ ภาษาถิ่น ความหมายของท้องถิ่น ที่แตกต่างกัน

    สิ่งที่เกิดขึ้นแม้ระมัดระวังบางทีเงื่อนไขบังคับให้ทำได้เพียงแค่นั้น  แล้วค่อนตามไปอธิบายเพิ่มเติม

    สิ่งที่ทำได้คือ ไม่ประมาท และทำทุกอย่างให้ชัดเจนมากที่สุด เท่าที่เงื่อนไขจะทำได้
    ยิ่งสังคมที่โลกทุนครอบงำมากๆ ทุนเดิมทางสังคมหดหายไปมากๆนั้น อะไรที่ต่างไปนิดก็จะมองในแง่ร้ายไว้ก่อน แล้วก็ขยายความเป็นตุเป็นตะ..
    โอกาศของสุนทรียสนทนาเป็นโอกาสที่ดีมากๆเลยนะครับที่ช่วยสะท้อนหลายเรื่องให้กระจ่างรวมทั้งเรื่องการสื่อสารด้วยครับ

  • #2 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 มีนาคม 2009 เวลา 13:48

    ตามไม่ทันแล้วๆๆๆๆๆๆ  รอด้วยๆๆๆๆๆ  อิอิ

  • #3 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 มีนาคม 2009 เวลา 17:30

    พี่บู๊ทค่ะ เรื่องราวของการสื่อสารที่มีจุดอ่อน ทำร้ายคนและทำร้ายองค์กรมากนะค่ะพี่  น้องกลับเห็นแย้งว่า “ความชัดเจน” มิใช่การใช้ลายลักษณ์อักษรออกมาเป็นหนังสือเวียนนะค่ะพี่ หากแต่เป็น “ความตรงของการใช้คำ” ซะมากกว่า

  • #4 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 มีนาคม 2009 เวลา 17:31

    พี่ตึ๋งค่ะ พี่น่าจะมาด้วยจริงๆนะ ขอบอก ขอบคุณนะค่ะที่ให้น้องอิ่มมาช่วย

  • #5 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 มีนาคม 2009 เวลา 14:43

    งานเขียนเป็นทักษะของการสื่อสารความคิด หมายความว่าฝึกได้ครับ

    ส่วนจะยากหรือง่ายอยู่ที่ (1) ตัวเรา (2) เรื่องที่เราจะสื่อสาร (3) ผู้รับข่าวสาร; ในสามองค์ประกอบนี้ ควบคุมได้เฉพาะสองอย่างแรก

    การเขียนเป็นการสื่อสารทางเดียวที่กำหนดผู้รับข่าวสารไม่ได้ จึงยากกว่าการพูดคุยซึ่งยังมีโอกาสอธิบายเพิ่มครับ (ถ้าผู้ฟังไม่ใช่ตอไม้)

  • #6 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 มีนาคม 2009 เวลา 20:12

    พี่เห็นจริงอย่างที่รอกอดบอกมาน่ะค่ะน้อง การเขียนฝึกได้

    เพียงแต่ว่า ในการสื่อสารผ่านการเขียนส่วนใหญ่นั้น มีเรื่องของความตรงของการใช้คำ ที่มักไม่ให้ความสำคัญที่จะฝึกฝนในการเขียน เมื่อ”คำ”ถูกนำมาเรียงร้อยประโยค และถูกส่งไปถึงมือผู้รับข่าวสาร บางครั้งมันกลายเป็นคนละเรื่องบ่อยทีเดียวเชียว 

    ในเรื่องความตรงของการใช้คำนี้ มีโอกาสที่จะอธิบายและตรวจสอบได้หากว่าใช้ในการพูดคุยด้วยกัน

    สิ่งหนึ่งที่เป็นประสบการณ์ที่งดงามสำหรับพี่ในการทำงานร่วมกันที่กระบี่ก็คือ ทุกคำที่ใช้สื่อสารภายใต้หลักคิดที่ต่างของกระบวนกรแต่ละคนนั้น ได้มีการเช็คความเข้าใจกันเมื่อมีโอกาส ทุกคำที่แต่ละคนคาดว่าคนอื่นอาจจะไม่เข้าใจเลยค่ะ  เรียกว่า แต่ละคนที่ไม่แน่ใจในความหมายและทั้งคนที่ใช้คำของตัวเองต่างไม่รีรอที่จะเริ่มทำความเข้าใจขึ้นก่อนเมื่อสะดุดใจ

    เป็นการเติมเต็มให้เกิดความเข้าใจเส้นทางที่จะช่วยกันเดินต่อไปอย่างไร้ซึ่งความเคลือบแคลงความหมายของมัน เพื่อให้ความสำเร็จเป็นเรื่องของการดูแลตนของผู้เข้าร่วมอย่างแท้จริงค่ะ 

    ดีใจที่ได้ร่วมงานกับสามสาวค่ะ รู้ว่าทุกคนเหน็ดเหนื่อยกับการทำงานภายใต้ความต่าง แต่นี่คือสิ่งที่มีค่าที่ได้มอบให้กันที่พี่รับรู้

    พี่ว่ามันเป็นของขวัญที่ต่างคนต่างได้ให้กัน เป็นของขวัญที่สูงค่ายิ่งนะค่ะ เพราะว่ามันจะช่วยทำให้แต่ละคนได้ทำหน้าที่ดูแลคนต่อตามบริบทของตนได้ยอดเยี่ยมยิ่งขึ้นๆ 

    และที่สำคัญก็คือ พี่ว่าเราต่างได้เรียนรู้และได้พบอัตตาที่ซ่อนตัวอยู่อย่างเงียบๆด้วยค่ะ  ซึ่งนี่ก็เป็นของขวัญอีกชิ้นที่สวยงามเช่นกันค่ะน้อง

  • #7 จันทรรัตน์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 21 มีนาคม 2009 เวลา 21:28

    ช่วงเวลาที่คุยแลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์ และพูดคุยกันเป็นช่วงเวลาที่มีค่ามากค่ะ พี่สาวตา …
    ขอบคุณสำหรับการสอนโดยไม่สอนในหลายๆเรื่องจากพี่สาวตานะคะ

  • #8 ลานอุ๊ยจั๋นตา » Blog Archive » จดหมายถึงกิ๊ก ให้ความคิดเห็นเมื่อ 22 มีนาคม 2009 เวลา 8:57

    [...] ไปร่วมเป็นกรรมการ…เอ๊ย..กระบวนกรที่กระบี่ [...]

  • #9 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 25 มีนาคม 2009 เวลา 23:02

    เราต่างคนต่างสอนกันนะอุ๊ยจ๋า


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.078706026077271 sec
Sidebar: 0.11843490600586 sec