แรง ลึก อ่อน-แข็ง-เหลว–ทำให้รับรู้ต่าง อันตรายต่าง

อ่าน: 1454

การพบว่าศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่กลางเกาะภูเก็ต ( 16 เมษายน 2555) หรือที่พม่า ห่างจากอ.แม่สายไม่กี่กิโลเมตร (21 มีนาคม 2554) แล้วการสั่นสะเทือนรับรู้ได้หลายร้อยกิโลเมตรไกลถึงกรุงเทพฯ พิษณุโลก

การเกิดแผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา ( 11เมษายน 2555) ซึ่งจุดศูนย์กลางอยู่ห่างจากกรุงเทพฯเป็นพันกิโลเมตร หรือเกิดในจีน ที่มณฑลเสฉวน (12 พ.ค.2551) ซึ่งห่างออกไปกว่า 2 พันกิโลเมตร แล้วกรุงเทพฯรู้สึกได้ มีผู้รู้ให้คำอธิบายว่า ที่รับรู้ไวเพราะพื้นที่กรุงเทพฯเป็นแอ่งดินอ่อนหรือดินเลน

เมื่อนักวิชาการหลายคนออกมาให้ความรู้  มีข่าวทางการบอกว่า ศูนย์กลางอยู่ที่ภูเก็ต จุดเกิดแผ่นดินไหวอยู่ตื้น แล้วตามมาด้วยคำเฉลยว่าศูนย์กลางอยู่ที่เกาะยาวลึก 10 เมตร รายงานเป็นทางการจาก USGS

ก็สัมผัสความสับสนในกลุ่มชาวบ้าน จะเชื่อใครดี  สะกิดว่าในภาวะที่คนตื่นกลัวอันตรายจะเกิดกับตัว การให้คำแนะนำเพื่อเตรียมตัวรับมือกับภัยในแต่ละระยะเวลา มีมุมระวัง “ไม่สร้างโรคทางใจเพิ่มกับคน”  อืม ละเอียดอ่อนไม่เบาเลยงานนี้

เมื่อมุมเตือนให้ใคร่ครวญเรื่องการข่าว และการตามข่าวแว๊บขึ้นมา ก็เห็นมุม การ “ตื่นข่าว”  ของคนให้คำแนะนำว่าสำคัญไม่เบา ถ้าคนให้คำแนะนำตื่นข่าวซะแล้ว โรคข่าวเป็นพิษจะทำให้คนป่วยทางใจเพิ่ม

แรงสะเทือนที่ภูเก็ตเพียง 2-3 ริกเตอร์ทำให้บ้าน 33 หลังเสียหาย  แผ่นดินไหวในเม็กซิโก ทำให้บ้านเรือน 800 หลังพังทลายจากความแรง 7.4 ริกเตอร์  ช่วยเตือนใจมากว่า  ขนาดความเสียหายกับความแรงของแผ่นดินไหวมีความสัมพันธ์กันแบบไม่ตรงไปตรงมา

ในอดีตเคยเกิดเหตุแผ่นดินไหวใกล้กรุงเทพฯ ขนาด 5.9 ริกเตอร์ (ปี 2526 รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์)  ความเสียหายไม่มาก เวลานั้นมีตึกสูงไม่มาก

แบบแผนอาคารที่ปลูกสร้างในเม็กซิโก เมื่อเกิดแผ่นดินไหวใหญ่พังลงมา แบบแผนอาคารในภูเก็ต เมื่อเกิดแผ่นดินไหวคราวนี้ ก็พังลงมา ช่วยทำให้เห็นภาพการบาดเจ็บที่แตกต่างระหว่างคนที่อาศัยในบ้านชั้นเดียวกับ คนที่อยู่ในตึกสูง

เหตุการณ์เวียงหนองล่ม เตือนให้นึกถึงเหตุการณ์หลุมยุบที่เกิดหลังสึนามิปี 2547 ใต้ดินลึกลงไปของพื้นที่กระบี่เป็นหินชุดที่มีหินแกรนิตน้อย หินชนิดอื่นมาก  ใต้ดินภูเก็ตมีหินแกรนิตมากและหนา

ช่วยให้เห็นความง่ายยากของการล้มครืนของบ้านที่อยู่ในที่ดินแข็ง กับดินทราย ดินเลน  ดินที่มีจำนวนหินแกรนิตกับมีหินอื่นๆแตกต่างไป

11 เมษายน 2555 คนอยู่บนชั้น 2 ของอาคารคนละฟากตึกของโรงพยาบาล รับรู้แรงสะเทือนต่างกัน คนที่อยู่ฟากหนึ่งเวียนศีรษะ คนอีกฟากไม่รู้สึกอะไรเลย  ก็ให้ความรู้ว่า แรงสะเทือนของแต่ละจุดในตึกก็แตกต่างกัน

อย่างนี้ก็แปลว่า การแนะนำเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับคนไข้ที่นอนรักษาตัว ในแต่ละชั้นตึก แต่ละอาคารที่เหมาโหลแนะนำกันนั้น ไม่เหมาะแล้ว  การเตรียมเส้นทางอพยพผู้ป่วยระหว่างเกิดเหตุการณ์ที่ทำเหมือนกันอยู่ก็ไม่น่าจะเหมาะด้วย

« « Prev : แผ่นดินไหว…น้ำสระกระฉอก…น้ำพุร้อน?????

Next : จุดเกิดเหตุที่สุมาตรา : ความลึกของพลังงาน ก่อคลื่นสูงขนาดไหน » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "แรง ลึก อ่อน-แข็ง-เหลว–ทำให้รับรู้ต่าง อันตรายต่าง"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.030552864074707 sec
Sidebar: 0.14806699752808 sec