ชวนมาเรียนรู้เรื่องเค็มๆกันหน่อย

โดย สาวตา เมื่อ 22 ตุลาคม 2009 เวลา 22:26 (เย็น) ในหมวดหมู่ ความดันโลหิตสูง, ชีวิต สุขภาพ, ดูแลสุขภาพ, อาหารกับสุขภาพ, เบาหวาน #
อ่าน: 2444

หลังจากที่เขียนเรื่องผักที่ปลอดภัยสำหรับคนโรคไตไว้ที่นี่ ก็ยังมีเหลือเรื่องเค็มๆที่ยังไม่ได้เล่า วันนี้ขอมาเล่าซะหน่อยก็แล้วกัน เพิ่งนึกได้ว่าลืมเขียนไปเลย

โดยปกติเวลาเมื่อผู้คนมีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ไต  ความดันโลหิตสูง  คุณหมอทั้งหลายจะให้คำแนะนำว่า ให้งดอาหารเค็ม แล้วมักเห็นคนที่มีปัญหาสุขภาพนั้นๆ ปรับความเค็มของอาหารไม่ใคร่ได้พอเหมาะใจหมอ ก็เลยไปค้นว่าจะช่วยยังไง ทำอย่างไรบ้างจึงจะทำได้ง่ายขึ้น

คนส่วนใหญ่จะใช้วิธีเติมเกลือ เติมน้ำปลาให้น้อยๆ  เพื่อคุมปัญหาสุขภาพให้อยู่มือ แต่ก็มักจะคุมไม่ได้ วันดีคืนดีก็มีเรื่องบวมเท้า หอบเหนื่อยจนต้องมาให้รักษา เปลืองพลังงาน เปลืองเวลา เปลืองเงินสำหรับดูแลตนไปอีกมากมาย

ความเค็ม หรือเกลือในความหมายของหมอๆ หมายถึงการกินเกลือโซเดียมเข้าไปให้ร่างกายได้ใช้ไม่มากเกินไปเมื่อเทียบกับอายุ  พูดให้ง่าย “ความเค็ม” ก็คือ เกลือโซเดียม นั่นแหละ

โดยปกติ สิ่งมีชีวิตจะมีโซเดียมเอาไว้เพื่อปรับสมดุลการทำงานภายในเซลล์ต่างๆ ปริมาณโซเดียมที่ต้องการต่อวันขึ้นกับอายุ

อาหารธรรมชาติจากพืชและสัตว์จึงมีโซเดียมแฝงอยู่ด้วยทั้งสิ้น มาดูกันว่าอะไรมีอยู่เท่าไร เพื่อจะได้นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ตรงใจกันนะคะ

แหล่งอาหารที่มีโซเดียมสูง มีดังนี้

ขนมปัง 1 แผ่น                                    130           กรัม

ผักดอง 100 กรัม                                 1-1.2       กรัม

เครื่องปรุงรส 1 ข้อนโต๊ะ                        1.5            กรัม

แหล่งอาหารที่มีโซเดียมปานกลาง มีดังนี้

ไข่เค็ม 1 ฟอง                                     500    มิลลิกรัม

เครื่องปรุงรส 1 ช้อนชา                         500     มิลลิกรัม

เนื้อสัตว์แปรรูป 1 ช้อนข้าว                    200     มิลลิกรัม

ขนมผังแครกเกอร์สี่เหลี่ยม 2″-3″             90     มิลลิกรัม

ไข่   1  ฟอง                                        90     มิลลิกรัม

เนื้อสัตว์  1 ช้อนข้าว                           30-40  มิลลิกรัม

แหล่งอาหารที่มีโซเดียมน้อย   มีดังนี้

ข้าว 1 ทัพพี                                         20     มิลลิกรัม

ผลไม้ 1 ส่วน                                   10-15  มิลลิกรัม

ผัก 1 ส่วน                                         2-4   มิลลิกรัม

ปริมาณที่กินในแต่ละวันโดยไม่เสียสมดุล  คือ

กินเกลือแกงไม่เกิน 2  กรัมต่อวัน (ขนาดประมาณ 1 ช้อนชา)  หรือ น้ำปลาไม่เกิน 3-4 ช้อนชาต่อวัน

คิดเป็นโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับคนทั่วๆไป

แต่ก็อย่าเผลอกินดุ่ยๆเชียว ให้ดูอายุไว้ด้วยจะดีมากๆ

6 เดือนแรก      200-400      มิลลิกรัม/วัน

6-11 เดือน     175-550       มิลลิกรัม/วัน

1-3 ปี            225-675       มิลลิกรัม/วัน

4-5 ปี            300-900       มิลลิกรัม/วัน

6-8 ปี            320-950       มิลลิกรัม/วัน

9-12 ปี          350-1,175    มิลลิกรัม/วัน

13-15 ปี        400-1,500    มิลลิกรัม/วัน

16-18 ปี        425-1,600    มิลลิกรัม/วัน

19-30 ปี        400-1,475    มิลลิกรัม/วัน

31-70 ปี         400-1,450   มิลลิกรัม/วัน

ระหว่างท้องต้องการเพิ่มขึ้น                50-200 มิลลิกรัมต่อวัน

ระหว่างให้นมลูกต้องการเพิ่มขึ้น        125-350 มิลลิกรัมต่อวัน

เครื่องปรุงรส อาหารสำเร็จรูปยอดนิยมนั่นนะตัวดีนะคะ เป็นแหล่งเผยแพร่โซเดียมที่สำมะคัญเชียว

อย่าลืมหลีกเลี่ยง และงดการใส่มันซะนะคะ  ผงชูรส คะนอร์ ผงไก่ ผงเนื้อ สำหรับทำแกง ผัด น้ำมันหอย มีหมดแหละ  รายละเอียดมีสาวสวยมาช่วยบอกไว้ที่นี่แล้วค่ะ

แล้วขอชวนฝึกใช้ฉลากโภชนาการด้วยค่ะ เพราะว่าเดี๋ยวนี้อาหารซองมีเยอะ

บันทึกอื่น

1. หวานลมปากกับอ้อยตาลหวานลิ้นและเค็มปากใช้อย่างไรจึงรู้กินพอดีหรือเปล่า

2. ขอบใจน้องน้อยกันหน่อย ที่ช่วยเข้ามาเติมความรู้ให้ค่ะ

3. มาต่อกันอีกหน่อยเรื่อง เปรี้ยว หวาน เค็ม

4. ไออุ่น ไอร้อน และการใช้เคล็ดลับ

« « Prev : สืบต้นตอไข้หวัดใหญ่ดูหน่อยว่าจะมีงานอะไรอีก

Next : ดูโหงวเฮ้งกันหน่อยดีมั๊ย » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 22 ตุลาคม 2009 เวลา 23:40 (เย็น)

    ขอบคุณครับ

  • #2 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 ตุลาคม 2009 เวลา 11:02 (เช้า)

    คนที่บ้านกินเค็ม พานไปต่อที่ลูกสาวด้วย เตือนก็ ค่ะๆ แล้วก็แอบเหยาะซีอิ้วลงไปอีก  อิอิ

  • #3 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 ตุลาคม 2009 เวลา 22:12 (เย็น)

    #1 #2 พี่บู๊ดค่ะ วิธีลดกินเค็ม จะใช้วิธีงดแบบหักดิบเลยไม่มีทางสำเร็จค่ะ

    ทำให้ง่ายได้โดยค่อยๆปรับลิ้นที่รับรส

    อย่างเช่น เคยกินอะไรแล้วต้องเติมทั้งๆที่ปรุงมาเองกับมือหรือไม่จิ้มก็กินได้ เคล็ดลับความสำเร็จชองลดการเติมแบบมีแถมอยู่ตรงนี้ค่ะ 

    เช่น เคยเติมจำนวน 1 ช้อนชา ก็ลดเติมแค่ 3/4 ช้อนชาไปก่อน ชินกับรสแล้วจึงลดอีกเป็น 1/2 ช้อนชา จนชินแล้วปรับลดอีก จนกระทั่งกินแบบไม่เติมก็ได้
    ผนวกกับความตั้งใจว่า ทุกวันของสัปดาห์ (เจาะจงไปเลยค่ะพี่ เช่นวันศุกร์) จะลดการเติมรสเค็มโดยจิ้มให้น้อยลง เติมให้น้อยลง อย่างที่ยกตัวอย่างไว้

    เรื่องของการปรับพวกนี้ ใช่ว่าทำยาก หากแต่หักดิบทำ จึงไม่สำเร็จค่ะ

    แนะนำให้ใช้วิธีค่อยๆเดินออกจากไข่แดงทีละน้อยดังตัวอย่างข้างบนค่ะพี่  

    ขออย่างเดียว “ความตั้งใจ” จะลด และ “ลงมือทำ” ในสิ่งที่ตั้งเป้าเล็กๆก่อน ทีละนิดทีละหน่อย

    แล้วจะไม่เชื่อตัวเองเลยว่า ทำได้ไงค่ะพี่

    ลุ้นตัวเองในเรื่องเล็กๆ ไหวอยู่แล้วค่ะพี่  สังขารไม่รอให้เราพร้อมปรับหรอกค่ะ มันเป็นไปของมันเงียบๆ โผล่เมื่อไรเมื่อนั้น จะเกิดความเสียดายเวลาที่ผ่านไปค่ะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.046571016311646 sec
Sidebar: 0.14308881759644 sec