ขอบใจน้องน้อยกันหน่อย ที่ช่วยเข้ามาเติมความรู้ให้ค่ะ
อ่าน: 2532หลังจากเขียนมาหลายบันทึก ก็มีความคิดเห็นมาร่วม ช่วยเพิ่มความรู้ให้ในเรื่องของเกลือและน้ำตาล ข้อความในความเห็นหลายท่านคงจะได้อ่านแล้ว ตั้งใจจะเขียนเรื่องข้าว แป้งให้จบก่อนเรื่องนี้ แต่ไหนๆก็มีคนหวังดี มาช่วยเติมความรู้ให้กันแล้ว ฉันเลยต่อเรื่องเกลือ น้ำตาลก่อนละกัน
ใครอยากจะใช้ข้อมูลก็นำไปใช้นะค่ะ แล้วก็ไม่แปลกว่า จะลืมอย่างที่น้องเขาบอกไว้ตอนต้น ฉันก็ลืมมันค่ะ จะใช้ทีไรก็ต้องไปเปิดตำราก่อนทุกที และเพราะเป็นอย่างนี้ เลยปิ๊งขึ้นมาว่า ที่เอาเรื่องแบบนี้ไปสอนคนไข้ไว้นั้น เวลาคนไข้จะใช้ มิต้องเปิดตำราเหมือนกันหรือไร ปิ๊งให้แวบคิดอย่างนี้ จึงได้เปลี่ยนแปลงการแลกเปลี่ยนการให้ความรู้ค่ะ เปลี่ยนมาเป็นวิธีที่ใช้ได้ทันทีขณะที่กิน โดยใช้ความเข้าใจค่ะ
เอาแค่ธงโภชนาการนี่แหละ วัดดวงกันไปเลย แล้วรู้เพิ่มอีกหน่อย ว่าเกลือมันอยู่ที่อะไรอีก ซึ่งน้องเขาก็บอกมาบ้างแล้วนะค่ะ ขอนำมาสรุปไว้อีกครั้งค่ะ
แหล่งเกลือในอาหาร : เกลือแกง อาหารแห้ง ขนมแห้ง ผลไม้แห้งทั้งหลายที่เข้ารูปดองเค็ม ดองหวาน หมักเค็ม อาหารเครื่องกระป๋อง ผงปรุงรสทั้งหลายทุกยี่ห้อ ผงชูรสทุกยี่ห้อ
ทีนี้เวลาเราพูดกันเรื่อง เกลือเค็ม เราจะคิดว่า มีแต่เกลือแกงเท่านั้นที่เค็ม ยังมีเกลืออย่างอื่นที่เค็มนะค่ะ ลองมาดูคุณสมบัติน้ำทะเลกันหน่อยไหม ฉันอยากรู้จึงไปค้นหาความรู้ค่ะ รู้แล้วเลยเอามาบอกต่อค่ะ เป็นเรื่องความเค็มของน้ำทะเลที่มีคนช่วยสรุปไว้ในเว็บค่ะ
ความเค็มของน้ำทะเลที่ระดับน้ำทะเลนั้นแตกต่างไปตามที่ต่าง ๆ ทางซีกโลกเหนือน้ำทะเลเค็มที่สุดที่ใกล้ ๆ กับ ละติจูด 25 องศาเหนือ ทางซีกโลกใต้เค็มมากที่สุดที่ประมาณ ละติจูด 20 องศาใต้ เนื่องจากการระเหยของน้ำทะเลมีมากและหยาดน้ำฟ้ามีน้อย จากบริเวณนี้ไปทางเส้นศูนย์สูตรและขั้วโลกความเค็มจะลดลง
ดูได้ที่รูปนี้น่ะครับ
http://www.marine.tmd.go.th/thai/oceanhtml/Image559.gif
ทีนี้รู้กันแล้วนะค่ะว่า ที่น้ำทะเลมันเค็มนะไม่ใช่แค่มาจากเกลือแกงอย่างเดียว เพียงแต่เราเอาเกลือแกงมาใช้กินเพราะเป็นเกลือที่มีโซเดียม ซึ่งมีความสำคัญมากกับการทำงานของเซลล์ในร่างกายของเราเมื่อเทียบกับเกลือชนิดอื่นๆค่ะ
ตามธรรมดาอาหารที่ผลิตแบบอุตสาหกรรม รัฐจะบังคับให้ติดฉลากบริโภค ซึ่งระบุส่วนประกอบอาหารไว้ให้แต่ก็ไม่ใช่บังคับทุกชนิดค่ะ จึงขอแนะนำให้ท่านสังเกตก่อนซื้อ ดูทั้งตรา อ.ย. และฉลากบริโภคนะค่ะท่านขา เท่าที่ฉันสำรวจ อาหารผลิตสำหรับส่งนอก หรือของนอกที่มีมาตรฐาน มักจะมีติดอยู่ แต่ยากอยู่ที่อ่านมัน ก็ตัวหนังสือมันเล็กมากๆๆค่ะ จะอ่านมันละก็ต้องใช้แว่นขยายอ่านมันก็มี ตามกรรมของคนตาแก่ค่ะ
ส่วนของฉลากบริโภคจะเขียนส่วนประกอบอาหารไว้ให้ มีทั้งหมดทั้งน้ำตาล ไขมัน เกลือ และใยอาหาร ตลอดจนจำนวนพลังงานที่มีหน่วยเป็นแคลอรี่ บางชนิดบอกด้วยว่าแหล่งไขมันมาจากอะไรค่ะ สัดส่วนที่บอกไว้เป็นเปอร์เซ็นต์มั่ง น้ำหนักกรัมมั่ง สำหรับเกลือนั้น เขาจะบอกไว้ในชื่อ “โซเดียม” ค่ะ
จึงขอเล่าต่อเรื่องจำนวนเกลือและน้ำตาล จำนวนมากที่สุดที่พอรับได้ ในเรื่องของเกลือน้องเบิร์ดมาช่วยเม้นท์แทนแล้ว ฉันขอยกมาบอกกันใหม่ เพื่อทวนความจำกันค่ะ
แนะนำให้กินเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน ถ้าเทียบเป็นโซเดียม ก็ให้กินโซเดียมไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน หรือ 2,000 มิลลิกรัมต่อวันค่ะ
สำหรับน้ำตาลนั้น แนะนำว่า คำว่าน้อยๆที่สุด หมายถึง ไม่เกิน 4 ช้อนชาต่อวันค่ะ
ถ้าเวลาไปอ่านฉลากอาหารหรือฉลากบริโภค แล้วไม่บอกไว้เป็นช้อนชา ให้เทียบช้อนชากลับมาเป็นน้ำหนักได้ดังนี้ค่ะ
1 ช้อนชา เท่ากับ 5 กรัมค่ะ
มั๊ยละเริ่มเมาตัวเลขกันรึยังค่ะแม่ยกทั้งหลายเจ้าขา นี่ไงเล่าคือเหตุผลว่าทำไมฉันจึงบอกว่าไม่อยากให้จำอ่ะค่ะ เข้าใจเรื่องหลักๆแล้วก็ฝึกทำไปก็จะทำได้ง่ายเองแบบการฝึกกด ATM ค่ะ
สำหรับภาพต่อไปนี้ ถือซะว่าเป็นของฝากค่ะ
เครื่องมือวัดความหวาน ใช้วัดความหวานของเหล้า ไวน์
เครื่องมือวัดความเค็มของของเหลว
Next : เปรี้ยวหวาน รสกลมกล่อม » »
8 ความคิดเห็น
ตอนนี้ไม่ค่อยได้วัดอะไรเท่าไหร่ค่ะ ถือหลักว่ากินอะไรก็ตาม อย่ากินปริมาณมาก อย่ากินซ้ำๆ บ่อยๆ เอาค่ะ
#1 กินกะๆอย่างเข้าใจนะดีแล้วค่ะ จะกินแล้วยังชั่งตวงวัดในยุคสมัยที่กินนอกบ้านเป็นหลักนี่นะค่ะ กลุ้มแทนเลยค่ะ หาร้านยากนะค่ะ
กินกะๆนี่แหละง่าย อะไรไม่กินก็เขี่ยไว้ข้างจาน อะไรจะกิน กะดูแล้วน่าจะมากไป ได้ไปแบ่งปันชวนคนอื่นมาร่วมด้วย ทำให้ได้สมาคมใหม่ในที่ที่เราอยู่อีกด้วยนะค่ะ
พูดถึงชมรมคนช่างกินอ่ะค่ะ ตอนนี้มีอยู่ชมรมหนึ่งแล้ว อาจารย์สมัครได้นะค่ะ ประธานชมรมชื่อ จอมป่วนค่ะ ตัวเองกินเขี่ยๆ แต่สั่งให้คนอื่นกินเยอะๆ อย่างนี้ก็มีด้วยค่ะ
สวัสดีค่ะพี่หมอเจ๊
ตามอ่านมาเรื่อยๆแล้วก็เอ๋อ..เพราะได้รับการพาดพิงเข้าอย่างจัง ทำให้ต้องโผล่ทั้งหัวและตัวเข้ามา แหะ แหะ
ช่วงที่ผ่านมามีอ.หมอกำพลท่านมาพูดเรื่องดุลยภาพของกายและจิต วิถีแห่งกรรมและสติปัญญา ทำให้ได้อะไรดีๆเหมือนกันค่ะ
บันทึกของท่านพี่กำลังเกี่ยวกับเรื่องกิน งั้นเบิร์ดเอาเรื่องกินมาฝากค่ะ
อ.หมอกำพล พันธ์ชนะ ท่านได้พูดไว้ว่าคนเราต้อง ” กินเป็น..อยู่เป็น ”
จึงควรมีคำถาม 3 ข้อก่อนกินอาหาร ( ไม่ต้องชั่งตวงวัดให้เหนื่อยยากเนาะคะ ^ ^ )
1.จะกินเพื่ออะไร
2.จะกินอะไร
3.จะกินอย่างไร
คำถามทั้ง 3 ข้อนี้จะช่วยให้เราหยุดคิดพิจารณาและใช้สติสัมปชัญญะมากยิ่งขึ้นก่อนที่จะกินค่ะ ทุกข์ที่เกิดจากความประมาทในการกินก็จะลดลง และเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นน้อยลงด้วย
#3 มั๊ยละ แกล้งยั่วให้โผล่ หลงกลพี่ซะเลย…อิอิ….มาช่วยกันนะดีแล้วน้อง
ใช้สิทธิถูกพาดพิงนะ OK! เลย
ในแวดวงเราสาธารณสุขจะไปรู้จากใครมาบอกต่อ ได้อยู่แล้วน้องไม่ต้องเกร็ง
ความรู้ออกจากปากใครก็ยังเป็นความรู้อยู่ดี คนเอาความรู้ไปใช้เขาไม่ใคร่สนหรอก เพราะเรื่องที่เรามาคุยต่อให้ มันทำเพื่อช่วยคน ไม่ได้ทำเอาหน้าอะไรนะน้องเอ๋ย กุศลจิตมันช่วยเราอยู่แล้ว ปกป้องภัยให้เราอยู่แล้วละ
ไปเรียนต่อมาจากใครบอกกันเพื่อจะได้บอกคนฟังต่อว่า บางเรื่องไม่ได้คิดเอง บางเรื่องคิดเองแหละ อ่านมาแหละแล้วมาคิดต่อ
เรื่องธรรมด๊าธรรมดา เนอะน้อง ไม่ต้องเกร็งเลย
ตามมาติดๆ แทรกได้แทรกเลยนะค่ะ จะได้ช่วยกันคลี่มุมช่วยกันทำความเข้าใจเรื่องพรรค์นี้กันไง….. อิอิ…ชวนมาเป็นทีมช่วยทำมาหากินค่ะ
ที่รู้ๆ ในลานฯของเราจะมีรสเค็มเป็นหลัก ฮ่าๆๆๆๆๆ
พาดพิงจอมป่วน หาเรื่องดึงมาป่วนล่ะสิ
ใครอ่านของหมอเจ๊ไม่สนุกก็ไปอ่าน คนเคยอ้วน ที่ลานจอมป่วนได้นะครับ สนุ๊กสนุก ดึงลูกค้าดื้อๆเลย 555555
จะตอบแถมหมอเบิร์ดหน่อย
1.จะกินเพื่ออะไร
2.จะกินอะไร
3.จะกินอย่างไร
1.กินเพื่อมีชีวิตที่สับปะลังเคอยู่ต่อไป
2.กินทุกอย่างที่มีให้กิน
3.กินให้มันอร่อยแม้ว่าจะไม่อร่อย
#5 #6 อิอิ….ไม่เค็ม ก็จะป่วนไม่ไหวค่า….ฮิๆๆๆ
#7 ที่เอามาคุยให้ฟัง คือ อยากให้กินให้อร่อย….และยังได้สุขภาพบวกที่อยากได้ค่ะ เอ!ว่าแต่คำนี้ “สับปะรังเค”?