หลักการ “สองสูง”
นักธุกิจยักษ์ใหญ่ของประเทศนี้
เสนอ “หลักการสองสูง”
ซึ่ง บำรุง บุญปัญญา วิเคราะห์ว่า นี่คือหายนะใหม่ของเกษตรกรไทย
อยากทรายรายละเอียด และต้องการแลกเปลี่ยน
ไปสวนป่า 28 ก.พ. นี้ …ซิครับ..
นักธุกิจยักษ์ใหญ่ของประเทศนี้
เสนอ “หลักการสองสูง”
ซึ่ง บำรุง บุญปัญญา วิเคราะห์ว่า นี่คือหายนะใหม่ของเกษตรกรไทย
อยากทรายรายละเอียด และต้องการแลกเปลี่ยน
ไปสวนป่า 28 ก.พ. นี้ …ซิครับ..
สายวันนั้น น้องเอก คุณพ่อของแม่ชีน้อยป่านแวะมาหาที่สำนักงานมุกดาหาร
ตามประสาเพื่อนร่วมอุดมการณ์ มีอะไรก็คุยเปิดอกกัน
ทราบว่าตั้งแต่บุตรสาวเสียชีวิตความอาลัยอาวรณ์ยังมีมากมาย
เพื่อนสาวคนหนึ่งรับอาสาจะเขียนหนังสือให้
โดยจะรวบรวมข้อมูลจากทุกคนที่มี
เอกบอกว่าตอนนี้ เพื่อนคนนึ้ขึ้นไปอยู่ที่บน “ภูไม้ฮาว”
ผมจึงตั้งใจจะไปเยี่ยมเธอที่ภูไม้ฮาว
ภูไม้ฮาวคือชื่อดอย หรือ ภู ที่เป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์
สถานที่แห่งนี้เป็นที่สุดท้ายที่แม่ชีน้อยป่านอาศัยอยู่และเสียชีวิตที่นี่
เพื่อนคนนี้ต้องการอารมณ์ความรู้สึกจริงๆจึงขึ้นภูไม้ฮาวไปนอนในสถานที่ที่แม่ชีน้อยป่านเคยนอน เคยนั่งเคยอาศัยก่อนเสียชีวิต
แล้วถือโอกาสปฏิบัติธรรมด้วย
ผมจอดรถที่ตีนภูแล้วค่อยๆเดินขึ้นไปแบบไม่เร่งรีบ ดูธรรมชาติของภูไม้ฮาวซึ่งผมมาเยือนเป็นครั้งที่สามแล้ว ครั้งนี้พบชาวบ้านมาช่วยพระอาจารย์พัฒนาทางเดินให้ปลอดภัย ซ่อมแซมระบบประปา โดยทั้งหมดนั้นมาออกแรงตามความศรัทธาที่มีต่อพระอาจารย์
เมื่อเดินขึ้นไปถึงศาลาหลังแรกก็เห็นพระอาจารย์ กำลังพูดคุยกับชาวบ้านอยู่ ผมเดินเข้าไป พระอาจารย์ก็ยิ้มรับพร้อมเชิญให้ขึ้นไปกินน้ำเย็นๆก่อน ผมก้มกราบพระอาจารย์ แม้อายุเลยหกสิบไปแล้วแต่ดูยังสดใส สมกับผู้ปฏิบัติธรรมจริงๆ
ต่างซักถาม ตอบคำถามกันพอสมควรแล้วผมก็ขออนุญาตไปพบน้องสาวคนนั้นที่ขึ้นมาปฏิบัติธรรม พระอาจารย์ก็ชี้ให้ไปที่กุฏิหลังขาวโน้นนน พร้อมกับบอกให้คนพาไป…
เธอชื่อ “เงาศิลป์” เก๋ ไหมล่ะชื่อเธอ รีบเดินออกมาหาผมอย่างดีใจ หลังจากคุยกันแล้วเธอก็บอกว่า ช่างเป็นธรรมจัดสรรจริงๆ หนูกำลังต้องการเข้าขอนแก่น พี่มาวันนี้ หนูก็จะติดรถไปขอนแก่นด้วย…… เธอขอเวลาจัดการเรื่องส่วนตัวและภาระที่นี่ให้เรียบร้อยก่อน…
ผมก็เลยเดินชมบริเวณสำนักสงฆ์ไปทั่ว สวยมากครับ สงบ ธรรมชาติ เดิมๆ น่าจะเป็นสถานที่บำเพ็ญธรรมนั้นดีแล้ว ลมพัดเอื่อยๆกำลังสบาย ผมถือโอกาสเก็บรูปมามากมาย
และหนึ่งในนั้นคือ สถานที่พักและปฏิบัติธรรมคือทางเดินจงกรมของผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ทราบว่ายามค่ำคืนสถานที่สงบ บรรยากาศเงียบ อากาศโดยรอบเอื้อ มีพระอาจารย์คอยแนะนำ ตอบปัญหาการปฏิบัติธรรม….
นอกจากเธอแล้วยังมีแม่ชีสาวอีกหลายท่าน แม่ชีอายุเลยกลางคนไปแล้วก็หลายท่าน
แต่ละคนมีทุกข์มาทั้งนั้น ทั้งใจ ทั้งกาย ต่างก็มาหาที่พึ่ง สำนักสงฆ์ พระอาจารย์ครรชิตแห่งภูไม้ฮาว
บนทางเดินนี้ไม่ใช่แคทวอล์ค แต่เป็นทางเดินจงกรมของสตรีสาวหลายท่านที่มาบวชเป็นแม่ชีผ้าขาวที่มุ่งมั่นมาที่นี่ แต่เท้าบนทางเดินนี้ไม่ได้ใส่ส้นสูง หรือรองเท้าแพงระยับของยี่ห้อใดๆ
เธอเปลือยเท้าเปล่า เดินจงกรมยามเวลากลางคืนที่สงบ
ใช่ครับ รูปรอยเท้านี้คือ รอยเท้าของสตรีผู้ปฏิบัติธรรม เป็นรอยเท้าจงกรม ตรงจุดที่ต้องหมุนตัวกลับพอดี
นี่คือ รอยเท้าผู้ปฏิบัติธรรมครับ…
สมัยที่ทำงานกับโครงการไทยเนเทอร์แลนด์ ชื่อ “โครงการการจัดการน้ำในระดับไร่นา” ที่เขื่อนลำปาวจังหวัดกาฬสินธุ์นั้น ผมทำหน้าที่เป็น ฝ่ายสังคม ที่คอยสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เจ้าหน้าที่สนามในการปฏิบัติงาน เสริมผู้เชี่ยวชาญด้านฝึกอบรม ที่ทำหน้าที่ไปสำรวจ Training Needs Assessment (TNA) แล้วก็จัดกระบวนการฝึกอบรมขึ้น ซึ่งก็มักจะเป็นรูปแบบเดิมๆ คือเป็น formal training
เมื่อผมลงสนามพบว่าน้องๆในสนามที่ได้รับความรู้มาแล้วนั้น มีหลายอย่างที่ต้องเติมเต็ม และขยายความ สาระที่พูดกันในห้องประชุม หลายคนมีคำถาม หลายคนไม่เข้าใจ หลายคนเบลอๆ
นี่เป็นเหตุที่ก่อให้เกิดการบันทึกของผมครั้งแรกขึ้น เป็นบันทึกที่เกิดจากปรากฏการณ์ดังกล่าว เมื่อผมพบก็หยิบประเด็นนั้นมาบันทึกขยายความแล้วทำสำเนาส่งให้ทุกคน นอกจากนี้ก็เป็นแบบ F2F คุยกัน แลกเปลี่ยนกัน และอาจจะเป็น Micro group discussion แค่สองสามคนก็ตั้งวงแบบไม่เป็นทางการคุยกัน ยืนคุยกันบ้าง ร้านอาหารบ้าง นั่งริมคันนาบ้าง เติมเต็มกันทันที เพื่อให้น้องๆอิ่มในข้อสงสัย ขัดข้อง
ซึ่งประเด็นทั้งหมดนั้นเราเองก็ไม่รอบรู้ไปทั้งหมด ประเด็นไหนที่ไม่แจ้งก็ไปค้นหามาแล้วเติมเต็มในรูปของบันทึกแล้วสำเนาแจกให้ทุกคนได้เรียนรู้ด้วย บันทึกนี้เป็นหลัก หยิบทุกประเด็นมาบันทึกแล้วกระจายไป ทำเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2-3 บันทึก
องค์ความรู้ที่เติมเต็มนี้ เมื่อสิ้นปีรวมเล่มได้เลยครับ จัดหมวดหมู่และเพิ่มเติมส่วนที่ไม่ครบถ้วนลงไป ก็เป็นสิ่งที่อาจเรียกว่า KM ได้แบบ Field practice และเป็นประโยชน์มากสำหรับน้องๆที่ถือว่าเป็นมือใหม่ในการเข้ามาทำงานกับชาวบ้านในสาระ การจัดการน้ำในระดับไร่นา
ในทำนองเดียวกัน ผมติดตามทุกท่านที่ทำเรื่อง Dialogue for Consciousness (DfC) เห็นพลัง เห็นความก้าวหน้า เห็นปิติ เห็นประโยชน์ และชื่นชมที่ทุกท่านต่างหยิบฉวยสิ่งที่เป็นประโยชน์จากเฮฮาศาสตร์นี้ จาก Lanpanya นี้ไปใช้
ผมใคร่เสนอแนะว่า ทุกท่านที่เข้ามาร่วมในกระบวนการ ย่อมได้ปิติ ย่อมมีพลัง ย่อมกระหายที่จะหยิบฉวยความรู้ที่เสพเข้าไปนั้นไปดัดแปลงใช้ในงาน ในชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่าให้เกิดขึ้นกับความรับผิดชอบ
แต่น่าที่จะเกิด ประเด็นปัญหาที่อยากแลกเปลี่ยน ถามไถ่ ต้องการเติมเต็ม ขยายความ แต่อาจจะยังไม่มีช่องทางที่จะทำเช่นนั้น เพราะไม่ได้ถูกจัดการวางช่องทางไว้ ข้อเสนอผมก็คือ
· เชิญท่านเหล่านั้นเข้ามาในลาน แล้วเปิด “ลาน” เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเติมเต็ม ขยายความกันต่อไปให้กว้างขวาง นอกจากผู้จัดการเป็นผู้แลกเปลี่ยนแล้ว ท่านอื่นๆที่มีประสบการณ์ก็จะได้เพิ่มเติมแลกเปลี่ยนไปอีกด้วย
· หากท่านเหล่านั้นไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะเข้า “ลาน” ได้ ผู้จัดต้องบอกกล่าวว่าขอให้ส่งประเด็นมาที่ผู้จัดแล้วผู้จัดจะแลกเปลี่ยนเป็นบันทึก แล้วส่งคืนไปให้ พร้อมๆอาจจะสำเนาให้เพื่อนคนอื่นๆรับรู้ด้วย(อย่างที่ผมทำ)
· จัดทีมงานเยี่ยมเยือนตามวาระโอกาสอย่างไม่เป็นทางการ เอาขนมไปฝาก เอาเอกสารติดมือไป.. เพื่อ ทำ Follow up และใช้โอกาสนั้นสอบถาม แลกเปลี่ยน เป็นแบบ DfC follow up ….แล้วอย่าลืมเก็บประเด็นนั้น สาระที่แลกเปลี่ยนกันนั้นมาบันทึกแล้วทำสำเนาให้ทุกคนเพื่อเรียนรู้ร่วมกันด้วย
· ใช้เครื่องมือสื่อสารอื่นๆ มือถือ โทรศัพท์สายตรง จดหมาย ..ฯลฯ เพื่อเปิดช่องให้มีการสื่อสารต่อเนื่องระหว่างกัน
· ทั้งหมดนี้เป็นเชิงรับ แต่พิจารณาการทำเชิงรุกด้วยนะครับ เช่น
· ผู้จัดตั้งประเด็นแล้วแลกเปลี่ยนไม่เป็นทางการ การตั้งประเด็น การตั้งคำถาม เป็นการกระตุ้นให้คิด ให้ควานหาความเป็นจริง แต่ทั้งนี้ควรพิจารณาความเหมาะสมรอบด้านด้วย
· การทบทวนสาระที่ใช้ในการ DfC ที่ผ่านมาโดยการขยายความในประเด็นต่างๆลงไป โดยไม่รอคำถาม แต่ประเด็นนั้นต้องผ่านการประเมินแล้วว่าเหมาะสม เกิดประโยชน์จริง…..
· นำตัวอย่างความสำเร็จ หรือความก้าวหน้าของเพื่อนไปเล่าสู่กันฟัง…
· ฯลฯ..
สิ่งเหล่านี้คือ กระบวนการที่ทำต่อเนื่องภายหลังกระบวนการ DfC ครับ
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด อิอิ..