ข้อเสนอต่อ DfC
สมัยที่ทำงานกับโครงการไทยเนเทอร์แลนด์ ชื่อ “โครงการการจัดการน้ำในระดับไร่นา” ที่เขื่อนลำปาวจังหวัดกาฬสินธุ์นั้น ผมทำหน้าที่เป็น ฝ่ายสังคม ที่คอยสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เจ้าหน้าที่สนามในการปฏิบัติงาน เสริมผู้เชี่ยวชาญด้านฝึกอบรม ที่ทำหน้าที่ไปสำรวจ Training Needs Assessment (TNA) แล้วก็จัดกระบวนการฝึกอบรมขึ้น ซึ่งก็มักจะเป็นรูปแบบเดิมๆ คือเป็น formal training
เมื่อผมลงสนามพบว่าน้องๆในสนามที่ได้รับความรู้มาแล้วนั้น มีหลายอย่างที่ต้องเติมเต็ม และขยายความ สาระที่พูดกันในห้องประชุม หลายคนมีคำถาม หลายคนไม่เข้าใจ หลายคนเบลอๆ
นี่เป็นเหตุที่ก่อให้เกิดการบันทึกของผมครั้งแรกขึ้น เป็นบันทึกที่เกิดจากปรากฏการณ์ดังกล่าว เมื่อผมพบก็หยิบประเด็นนั้นมาบันทึกขยายความแล้วทำสำเนาส่งให้ทุกคน นอกจากนี้ก็เป็นแบบ F2F คุยกัน แลกเปลี่ยนกัน และอาจจะเป็น Micro group discussion แค่สองสามคนก็ตั้งวงแบบไม่เป็นทางการคุยกัน ยืนคุยกันบ้าง ร้านอาหารบ้าง นั่งริมคันนาบ้าง เติมเต็มกันทันที เพื่อให้น้องๆอิ่มในข้อสงสัย ขัดข้อง
ซึ่งประเด็นทั้งหมดนั้นเราเองก็ไม่รอบรู้ไปทั้งหมด ประเด็นไหนที่ไม่แจ้งก็ไปค้นหามาแล้วเติมเต็มในรูปของบันทึกแล้วสำเนาแจกให้ทุกคนได้เรียนรู้ด้วย บันทึกนี้เป็นหลัก หยิบทุกประเด็นมาบันทึกแล้วกระจายไป ทำเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2-3 บันทึก
องค์ความรู้ที่เติมเต็มนี้ เมื่อสิ้นปีรวมเล่มได้เลยครับ จัดหมวดหมู่และเพิ่มเติมส่วนที่ไม่ครบถ้วนลงไป ก็เป็นสิ่งที่อาจเรียกว่า KM ได้แบบ Field practice และเป็นประโยชน์มากสำหรับน้องๆที่ถือว่าเป็นมือใหม่ในการเข้ามาทำงานกับชาวบ้านในสาระ การจัดการน้ำในระดับไร่นา
ในทำนองเดียวกัน ผมติดตามทุกท่านที่ทำเรื่อง Dialogue for Consciousness (DfC) เห็นพลัง เห็นความก้าวหน้า เห็นปิติ เห็นประโยชน์ และชื่นชมที่ทุกท่านต่างหยิบฉวยสิ่งที่เป็นประโยชน์จากเฮฮาศาสตร์นี้ จาก Lanpanya นี้ไปใช้
ผมใคร่เสนอแนะว่า ทุกท่านที่เข้ามาร่วมในกระบวนการ ย่อมได้ปิติ ย่อมมีพลัง ย่อมกระหายที่จะหยิบฉวยความรู้ที่เสพเข้าไปนั้นไปดัดแปลงใช้ในงาน ในชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่าให้เกิดขึ้นกับความรับผิดชอบ
แต่น่าที่จะเกิด ประเด็นปัญหาที่อยากแลกเปลี่ยน ถามไถ่ ต้องการเติมเต็ม ขยายความ แต่อาจจะยังไม่มีช่องทางที่จะทำเช่นนั้น เพราะไม่ได้ถูกจัดการวางช่องทางไว้ ข้อเสนอผมก็คือ
· เชิญท่านเหล่านั้นเข้ามาในลาน แล้วเปิด “ลาน” เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเติมเต็ม ขยายความกันต่อไปให้กว้างขวาง นอกจากผู้จัดการเป็นผู้แลกเปลี่ยนแล้ว ท่านอื่นๆที่มีประสบการณ์ก็จะได้เพิ่มเติมแลกเปลี่ยนไปอีกด้วย
· หากท่านเหล่านั้นไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะเข้า “ลาน” ได้ ผู้จัดต้องบอกกล่าวว่าขอให้ส่งประเด็นมาที่ผู้จัดแล้วผู้จัดจะแลกเปลี่ยนเป็นบันทึก แล้วส่งคืนไปให้ พร้อมๆอาจจะสำเนาให้เพื่อนคนอื่นๆรับรู้ด้วย(อย่างที่ผมทำ)
· จัดทีมงานเยี่ยมเยือนตามวาระโอกาสอย่างไม่เป็นทางการ เอาขนมไปฝาก เอาเอกสารติดมือไป.. เพื่อ ทำ Follow up และใช้โอกาสนั้นสอบถาม แลกเปลี่ยน เป็นแบบ DfC follow up ….แล้วอย่าลืมเก็บประเด็นนั้น สาระที่แลกเปลี่ยนกันนั้นมาบันทึกแล้วทำสำเนาให้ทุกคนเพื่อเรียนรู้ร่วมกันด้วย
· ใช้เครื่องมือสื่อสารอื่นๆ มือถือ โทรศัพท์สายตรง จดหมาย ..ฯลฯ เพื่อเปิดช่องให้มีการสื่อสารต่อเนื่องระหว่างกัน
· ทั้งหมดนี้เป็นเชิงรับ แต่พิจารณาการทำเชิงรุกด้วยนะครับ เช่น
· ผู้จัดตั้งประเด็นแล้วแลกเปลี่ยนไม่เป็นทางการ การตั้งประเด็น การตั้งคำถาม เป็นการกระตุ้นให้คิด ให้ควานหาความเป็นจริง แต่ทั้งนี้ควรพิจารณาความเหมาะสมรอบด้านด้วย
· การทบทวนสาระที่ใช้ในการ DfC ที่ผ่านมาโดยการขยายความในประเด็นต่างๆลงไป โดยไม่รอคำถาม แต่ประเด็นนั้นต้องผ่านการประเมินแล้วว่าเหมาะสม เกิดประโยชน์จริง…..
· นำตัวอย่างความสำเร็จ หรือความก้าวหน้าของเพื่อนไปเล่าสู่กันฟัง…
· ฯลฯ..
สิ่งเหล่านี้คือ กระบวนการที่ทำต่อเนื่องภายหลังกระบวนการ DfC ครับ
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด อิอิ..
« « Prev : รู้จักชุมชนต้องเข้าถึงแก่นวัฒนธรรม
6 ความคิดเห็น
เห็นชอบ มอบลุงบางทราย 5555555 ฮิ้ว…….
เห็นชอบกับความเห็นของคุณหมอจอมป่วนค่ะ ท่าน….5555ฮิ้ว
เป็น DfC ที่ดีที่เดียว เริ่มจากการพูดคุยกันมากขึ้น เริ่มกล้าถามในเรื่องที่ยังมีข้อสงสัย กล้าแรกเปลี่ยนเรียนรู้ ในสิ่งที่เราไม่รู้ไม่เข้าใจ หรือยังสงสัย รู้จักติดปัญญาให้สมอง อย่างมีปัญญาสติ เด็กไทยส่วนใหญ่ขาดทักษะการเขียน การพูด การรู้จักกาลเทศะ เพราะระบบการศึกษา การอบรมสั่งสอนที่ยังต้องปรับปรุง จะเห็นว่าน่าเสียดายบางคนขาดเอามากๆ ทีเดียว ทั้งๆ ที่ความรู้ หน้าที่การงานก็ดี แต่น่าเสียดายถามไม่เป็น อีกอย่างเรายังขาดคือ การฝึกการเขียนการจดบันทึก เรามักจะสอนจำไว้นะ ต้องจดจำ แต่เราลืมสอนว่าจดอย่างไรจึงจำได้ จำอย่างไรจึงไม่ลืม จะจำได้อย่างไรเมื่อไม่เคยทำเลย ไม่มีปัญหา เพราะไม่เคยทำเลย อายที่จะยอมรับความจริงว่า เขารู้กันทั้งเมืองทำไมเราไม่รู้เลยพาลไม่อยากเรียนรู้ ให้ดูต้นแบบการเรียนรู้ อย่างท่านครูบาฯ ซิค่ะท่านเรียนรู้ตลอด ท่านถามตลอด ท่านใหเกียรติยกย่องทุกคนที่ท่านขอความรู้ ท่านบันทึก ท่านเขียน ท่านลงมือทำ ท่านทั้งจดและจำ จนทำสำเร็จมามากมายหลายเรื่องค่ะ
เฮียตึ๋ง
ข้อเสนอของผมหมายถึงว่า ใครที่ทำ DfC และเป็นเจ้าของเรื่อง ก็ลองคิด หากมีเงือนไขไม่เหมาะสมก็คงไม่ได้ทำ เช่นไม่มีเวลา เป็นต้น แต่หากมีเวลาก็ลองคิดดู และอาจจะมีวิธีการต่างๆที่ดีกว่าที่ผมเสนออีกมากมายครับ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดครับ
น้องสร้อยครับ
พี่เห็นน้องๆตั้งอกตั้งใจทำก็ชื่นชม และเห็นมิติที่เป็นประโยชน์แบบนี้
เลยนำประสบการณ์มาแบ่งปันครับ
พี่หลินครับ
บางทีเราก็เหนื่อยครับพี่ นั่งหน้าแป๋ว ไม่พูดไม่จาซักอย่าง
ทีคุยมือถือหละเป็นชั่วโมงหูจะไหม้เลย..
นานๆจะเจอะที่เข้าท่าซักที มันสะท้อนหลายอย่าง
มันไม่ได้ฝึกมา และต่อไปจะเป็นอย่างไร คิดไม่เป็นนี่หนักนะครับ
บันทึกก็ใช่พี่ ลองทดสอบดูว่ามีกี่คนที่เข้ามาทำงานแล้วทำการบันทึกการประชุมได้
ไม่จำเป็นต้องดีหรอก แค่จับประเด็นมาให้ได้ว่าพูดกันเรื่องอะไรบ้างแค่นี้ก็สอบตกแล้ว
ต้องมาฝึกกันใหม่ครับ
ก็แบกภาระที่ไม่ควรแบกต่อไป บางทีก็สงสารครับ
เวลานั่งแลกเปลี่ยนกัน เราต้องเป็นคนตั้งคำถาม เพื่อให้คิดและควานหาความคิดเห็น หากเราไม่เริ่มเขาก็ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร เด็กรุ่นใหม่มีปัญหามากครับ ไม่ทราบท่านอื่นๆอาจจะไม่พบก้ได้นะครับ อิอิ