ศรัทธาของเมียนมาร์ต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ
ยังค้างการเขียนไปเที่ยวเมียนมาร์อีก 1 ตอน คือการไปเที่ยวพระธาตุอินแขวน ที่น่าประทับใจยิ่งของผม เพราะ การเดินทางลำบาก(แต่ชอบ) และเห็นพลังศรัทธาของพี่น้องประชาชนเมียนมาร์ที่แห่กันขึ้นไปสักการะมหาเจดีย์พระธาตุอินแขวนที่อยู่บนยอดดอยสูงนั้น
รถแอร์ที่พาเราเดินทางจากเมืองหงสาวดีไปเข้าเขต Mon state ข้ามแม่น้ำหงสา แม่น้ำสโตง ไกด์โจก็เล่าประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพระแสงปืน ว่าไม่น่าที่จะเกิดขึ้นจริงเพราะความกว้างของแม่น้ำนั้นมากกว่าระยะทางประสิทธิภาพของปืนสมัยนั้นจะยิงข้ามได้อย่างแม่ยำ และไม่มีบันทึกเรื่องนี้ในประวัติศาสตร์เมียนมาร์และโปรตุเกส เราไม่ถกเถียงในเรื่องนี้เพราะเราไม่มีหลักฐานมาโต้ตอบกัน ก็แค่รับฟังไว้
รถแอร์พาเรามาปล่อยที่ตลาดแห่งหนึ่งเป็นท่ารถที่ใช้เดินทางขึ้นพระธาตุอินแขวนโดยเฉพาะ เป็นรถ 6 ล้อ ที่นั่งอยู่ด้านหลังดังรูปนั่น เขาอธิบายว่ารถนี้มีพลังแรงเหมาะสมใช้ปีนเขา ซึ่งมีความชันและโค้งไปมามากมาย ถนนก็ไม่กว้าง การเดินทางไปก็ต้องเป็นแบบวิ่งไปพร้อมๆกันทีละหลายๆคัน แล้วก็ไปหยุดกลางทาง เพื่อรอให้รถขาลงซึ่งลงมาทีละหลายๆคันเช่นกัน มิให้สวนรกันกลางทาง ผมว่าดีนะ ลดอุบัติเหตุ การเดินทางเราจะไปพักบนยอดดอยใกล้พระธาตุอินแขวน 1 คืน เราต้องเตรียมเสื้อผ้าใส่กระเป๋าเล็กไป ซึ่งทางบริษัททัวร์จะจัดเตรียมกระเป๋าเล็กนั้นให้เราคนละใบ
เมื่อรถหลีกกันแล้วก็เดินทางต่อไป แต่จะไม่ขึ้นไปจนถึงยอดสูงสุดนั่น จะจอดระหว่างทาง แล้วปล่อยสมาชิกเลือกว่าจะเดินขึ้นไปจนถึงยอดนั้น หรือจะนั่งเสลี่ยง 4 คนแบกขึ้นไป มีประชาชนท้องถิ่นรับจ้าง ไกด์ โจ สนับสนุนให้เรานอนเสลี่ยง เพราะเป็นการส่งเสริมอาชีพนี้แก่ประชาชนท้องถิ่น เขาก็จัดให้เราหมดเพราะบวกเข้าไปในราคาทัวร์แล้ว
ช่วงนี้เราหัวเราะกันใหญ่ เพราะ หัวหน้าทัวร์จะแจกเบอร์แก่ทุกคน ให้เดินหาลูกหาบที่เขาก็มีเบอร์ของเรา วุ่นวายแต่สนุก เหมือนเกมส์หาคู่ เมื่อเจอกันแล้วก็ดีใจและหัวเราะกัน เพราะว่า ลูกหาบเขาหวังว่าคู่ของเขานั้นเป็นผู้หญิงตัวเล็กๆ เบา แบกสบาย แต่เขามาจับคู่กับผม รูปซ้ายมือนั่นไงครับ เป็นเด็กหนุ่มเห็นผมเข้าก็หัวเราะ ขำ เอามือเกาหัว นัยว่า “ซวยแล้วกู ตัวใหญ่เบ่อเริ่มเลย”…ก๊ากสสส
เขาเดินเป็นจังหวะ แกว่งแขนเป็นจังหวะพร้อมกัน เมื่อเจ็บบ่าจะเปลี่ยนก็นัดกันเปลี่ยนทีละสองคนคู่หน้า คู่หลัง แบบคนขึ้นภูเขานั่นไม่ใช่ของเล่น ต้องพักสี่ครั้ง ห้าครั้ง แล้วแต่ลูกหาบ ไกด์ เตือนเราว่าเขาจะเรียกเงินบาทของเราเป็นการทิพ… ก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เราก็สงสารเขาอยากจะให้ แต่บอกเขาว่าขอให้ช่วงขาลงก็แล้วกัน
มีโรงแรมสองสามแห่งข้างบนยอดดอยนั้นครับ พอใช้ได้ ผมนึกถึงดอยตุง แบบนั้นครับ อากาศเย็น เห็นทิวทัศน์ไกลสุดแดน
ไกด์ โจจะเล่าประวัติความเป็นมาของพระธาตุอินแขวน ยาวเหยียด มีความสำคัญหนึ่งในห้าแห่งของเมียนมาร์ ผมไม่บอกครับว่าที่เหลือมีอะไรบ้าง อิอิ
ผมประทับใจ ผู้คนมากมายมากราบ มานอนค้างบนลานวัดข้างบนนี้ หอบที่นอนแบบง่ายๆมา ทั้งหนุ่มสาว เยาวชน คนแก่คนเฒ่า ยังกะมีงานวัด แต่นี่ไกด์โจบอกว่า ปกติเป็นเช่นนี้ทุกวัน นี่คือความศรัทธาสูงสุดที่ชาวเมียนมาร์ฝันว่าสักครั้งหนึ่งในชีวิตต้องมากราบพระธาตุอินแขวน
ทำไมต้องนอนค้าง ก็เพราะความศรัทธาซึ่งเชื่อกันว่า หากปรารถนาสิ่งใดให้อธิษฐานกับพระธาตุและไปกราบไปปิดทองท่านสามครั้งในหนึ่งคืน ตอนหัวค่ำ ตอนดึกและตอนเช้ามืด นี่เป็นเหตุที่ต้องนอนค้าง และไม่ต้องการเสียเงินเช่าที่พัก นอนที่ลานวัดนี่แหละ เต็มไปหมด ผมว่านับพันคน ที่สำคัญคือ ทุกคืน…?????!!!!!
นี่คือศรัทธาที่ยิ่งใหญ่ ศาสนาพุทธ ผสมผสานกับความเชื่อต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ ไกด์ โจ ขยายความว่า เขาเองก็มาอธิษฐานขอให้มีงานทำตลอดไป และอธิษฐานสามครั้งในหนึ่งคืน เขาเล่าว่า กลับลงไปเขามีงานไกด์ตลอด ไม่ได้หยุดเลย เขาเสริมความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิแห่งนี้…
ตอนหนึ่งของประวัติความเป็นมาของก้อนหินที่ลอยเหนือหน้าผาแห่งนี้มานานแสนนานโดยไม่ตกหล่นลงไป เขากล่าวว่า The National Geographic มาพิสูจน์แล้วว่าเป็นหินที่ลอยโดยการเอาวัตถุลอดผ่านฐานก้อนหินนี้ได้ และเป็นหินทะเล..????? แต่มาอยู่บนยอดเขา ซึ่งตรงกับประวัติศาสตร์ เรื่องเล่าของเมียนมาร์มาช้านานว่าเป็นหินที่เอามาจากมหาสมุทร…
จริงๆเรื่องนี้ผมไม่แปลกใจ เพราะเคยมีกรณีเช่นเดียวกัน ปรากฎการณ์ต่างๆคล้ายๆกันที่หิน หอย หรือซากฟอซซิลบนยอดเขานั้น เป็นสิ่งที่มีชีวิตในอดีตที่อยู่ในทะเลมาก่อน แต่ที่มาอยู่บนยอดเขานั้นนักธรณีวิทยามีคำอธิบายมากมายครับ
การไหว้พระธาตุนั้นห้ามสตรีเข้าไปด้านใน อยู่แต่วงนอก หากจะปิดทองต้องฝากผู้ชายเข้าไปปิด ผมเองก็เข้าไปปิดทอง และช่วยไกด์โจ ที่รับแผ่นทองของเพื่อนทัวร์สตรีมาติดกำเบ่อเริ่ม ผมติดอยู่พักหนึ่งก็ร็สึกว่า หินที่เราติดนั้นอ่อนนุ่ม…เมื่อเอานิ่วมือกดลงไปเพื่อให้แผ่นทองติดแน่นกับหินฐานเจดีย์ ก็รู้สึกได้ว่านุ่ม อธิบายได้ว่ามีแผ่นทองมาติดจำนวนมากมายมหาศาล ทับลงไปทุกวันทุกคืนทุกเดือนทุกปีนานนับร้อยๆปีมาแล้ว เหมือนกับพระพุทธที่เมืองพะโค ที่ขึ้นชื่อว่าตัวพระท่านนิ่ม ก็เพราะเหตุเดียวกันคือความศรัทธาที่มหาชนเมียนมาร์และชาวต่างชาติมากราบไหว้และเอาแผ่นทองมาบูชา ปิดทับมากมายมหาศาลนานแสนนานมาแล้ว จึงหนามากๆจึงเป็นเหตุทำให้องค์พระพุทธรูปนิ่ม ไปเสริมความเชื่อ ความศรัทธามากขึ้นไปอีกถึงอภินิหาร….
ผมไม่วิจารณ์ในเรื่องเหล่านี้ แต่ตรงข้ามผมส่งเสริม เพราะการทำเช่นนี้มัยผูกพันไปถึงการพยายามปฏิบัติตัวที่อยู่ในเส้นทางศาสนา ซึ่งเป็นฐานที่สำคัญแห่งการอยู่ร่วมกัน ส่วนการก้าวข้ามไปนั้นเป็นอีกขั้นหนึ่งของการเข้าถึงธรรม ก็เป็นปัญญาของแต่ละคน
อย่างไรก็ตาม ผมเห็นมหาศรัทธาของประชาชนเมียนมาร์ต่อศาสนสถาน ของเขา
เอ ยังมีอีกตอนนา ที่น่าเขียนถึง ฤษี ในเมียนมาร์…เก็บเอาไว้ก่อนนะ…
ความคิดเห็นสำหรับ "ศรัทธาของเมียนมาร์ต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ"