ตามลม(๔๒) : รู้ไว้หน่อย…เรื่องปริมาณน้ำใช้

อ่าน: 1356

ระหว่างที่รอทบทวนวิธีแก้ปัญหาที่เบ็ดเสร็จและยั่งยืน ก็มีคำถามจากผู้ที่ไปขอปรึกษาว่าน้ำเสียที่เห็นไหลอยู่มีปริมาณเท่าไร ทั้งระบบของรพ.มีเท่าไร จะได้ช่วยหาวิธีแก้ที่เป็นระบบให้ไปด้วย

ลูกน้องเล่าให้ฟังว่า มีผู้คนที่มาให้ปรึกษาไปๆมาๆอยู่หลายครั้งแล้วก็ทำให้ต้องมาหาปริมาณการใช้น้ำทั้งระบบแล้วงงกันไปอยู่พักใหญ่ตั้งแต่ยังไม่เข้ามาเกี่ยวด้วย

เพราะไม่รู้ก็ต้องเติมความรู้ ผิดถูกไม่ใช่เรื่องที่กลัว เพราะจะใช้ปริมาณเท่าที่พอได้มาชี้ทิศทางแบบกะๆ ก็เลยได้รู้ว่าคนที่เขาทำหน้าที่หาน้ำมาให้ใช้เขามีหลักกะๆมาออกแบบการจัดหาน้ำสะอาดให้โดยใช้ลักษณะกิจกรรมมาหาค่าเฉลี่ยปริมาณการใช้น้ำ

จัดกลุ่มกิจกรรมแล้วก็มีเพียง 2 ลักษณะ คือ น้ำใช้ ( น้ำในที่พักอาศัย น้ำในกิจการพานิชยกรรมและอุตสาหกรรม น้ำเพื่อกิจการสาธารณะ และน้ำเพื่อกิจการเลี้ยงสัตว์) และน้ำที่สูญเสีย

เห็นอัตราการใช้น้ำ ( ลิตร / คน ) ที่มีคนรวบรวมไว้แล้วก็เห็นความเป็นรพ.ที่ท้าทายความเชื่อเดิม และเห็นการมีน้ำใช้ในมุมที่ไม่ได้สนใจมาก่อน  ข้อมูลการใช้น้ำที่ได้มามีอย่างนี้

บ้านพักอาศัย ( ติดตั้งมิเตอร์ )       200-600

บ้านพักอาศัย ( ไม่ติดตั้งมิเตอร์ )   400-800

บ้านเช่าอาศัย                            120-200

โรงแรม                                    200-400

โรงพยาบาล                              700-1200

สำนักงาน                                   40-60

โรงเรียน ( มีร้านอาหาร )                40-60

ภัตตาคาร                                   25-40

เครื่องซักผ้า ขนาดครอบครัว           110-200/ ครั้ง

อ่างอาบน้ำ                                   90-110/ ครั้ง

ถ้านำข้อมูลนี้มาใช้งาน โอ้โฮเฮะ คนใช้น้ำต่อวันเปลืองยิ่งกว่าต้นปาล์มน้ำมันซะอีก ( ปาล์มน้ำมันใช้น้ำ 200 ลิตรต่อต้นต่อวัน)

ลองคำนวณดูก็ได้มาว่า คูเจ้าปัญหารับน้ำที่มีคนใช้ราวๆวันละ 100 คน เวลาที่มีการใช้สูงสุดมี 3 รอบ เช้ามืด เย็น และตอนสาย  จำนวนคนใช้น้ำอยู่ในราว 50 คน

เมื่อมองลึกลงไปจนเห็นสารแขวนลอยในน้ำแล้วขนลุก นี่แค่คูเดียวนะ ถ้าเป็นสระ วังน้ำ หรือสายน้ำในชุมชนขนาดใหญ่ สิ่งสกปรกแขวนลอยอยู่จะขนาดไหน

เรื่องราวที่นำมาเล่าก็เพื่อเพิ่มความเข้าใจว่า แหล่งน้ำเป็นรังโรคที่เราเองมีส่วนร่วมสร้างมันขึ้นมา ลงมือช่วยกันลดความเป็นรังโรคด้วยการดูแลไม่ให้ปนเปื้อนความสกปรกกันเถอะนะ

« « Prev : ตามลม(๔๑) : รู้จักคลอรีนมากขึ้นอีกหน่อยก็ดีนะ

Next : ตามลม(๔๓) : เขาบำบัดน้ำกันยังไง…หลักคิดที่ใช้ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 6 สิงหาคม 2011 เวลา 15:33

    ตัวชี้วัดสำคัญของ รพ. สีเขียว อีกตัว คือ ปริมาณการใช้น้ำต่อหัวประชากร ต้องวิจัยว่า น้ำที่ใช้มาจากไหนมาก จัดลำดับ แล้วหาทางแก้ไปเรื่อยๆ (กำปั้นทุบดินชะมัด)

    แต่พอใช้นำน้อยลง ความเข้มข้นยิ่งสูง ความเหม็นอาจยิ่งมาก (เหม็นแหละดี ดีว่าไมเหม็นแล้วเป็นพิษ นี่อันตรายที่สุด) อาจเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสด้วยการหมักแก๊สชีวภาพเสียเลย หรือ แก๊สอื่นใดก็ตาม ที่อาจสกัดเอาสารต่างๆ มาทำประโยชน์ได้ นอกเหนือจากเชื้อเพลิง เรื่องพวกนี้คิดทำวิจัยได้ไม่สิ้นสุด จะเอาปริญญาเอกสักกี่ใบก็ได้

    ตค นี้เจอกันนะหมอเจ๊ เตรียมเครื่องกรองหูไว้ด้วย อิอิ

  • #2 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 สิงหาคม 2011 เวลา 21:23

    เหม็นแล้วเป็นพิษ ไม่เหม็นก็เป็นพิษ เหม็นแล้วคนบ่นว่าจนไม่เป็นอันทำงาน ไม่เหม็นก็เป็นพิษให้พะวงความปลอดภัยของคนที่อยู่ใกล้ๆ คนที่กำลังไม่สลายที่มาให้ดูแล

    ดูเหมือนทางออกจะดีอย่าง เสียอย่าง เมื่อเดินทางมาถึงเวลานี้ ก็ลงเอยที่ความคิดเดียวกับอาจารย์ คือ เก็บก๊าซด้วยวิธีผลิตก๊าซชีวภาพ ซึ่งกำลังจะลองอยู่ค่ะ ว่าวิธีที่เหมาะกับการจัดการตรงนี้จะเป็นอย่างไรจึงไม่เกิดแรงต้าน และเกิดความเข้าใจว่าทำไมต้องลงเอยที่เก็บก๊าซเชื้อเพลิงไว้ใกล้ตัว รวมไปถึงวิธีจัดการบำรุงรักษาสถานที่ด้วย

    แล้วยังฝันไปถึงการมีไฟฟ้าใช้จากก๊าซด้วย หากต้องติดเครื่องปรับอากาศให้ตึกนี้เพื่อแก้เรื่องความชื้นและความร้อนในตึก รออาจารย์มาช่วยทำฝันให้เป็นจริงอยู่ค่ะ

    สำหรับมาตรฐานขนาดโรงพยาบาล ถึงได้ก๊าซแล้วก็ยังต้องมีการบำบัดน้ำทิ้งอยู่ดีค่ะอาจารย์ ในส่วนตัวก็เสียดายน้ำที่ไหลทิ้งทุกวันด้วย จะใช้ประโยชน์จากน้ำทิ้งไปทำอะไรได้อีก ตรงนี้ก็รอผู้รู้มาช่วยให้ความรู้เช่นกันค่ะ

    หมอแจ้งน้องๆในงานบริหารที่มาช่วยงานอยู่แล้วว่า ให้ล้างหู เปิดพื้นที่ในสมอง รอไว้รับความรู้จากอาจารย์ค่ะ ตค.นี้เจอกันนะคะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.037039995193481 sec
Sidebar: 0.11178302764893 sec