จะควบคุมหรือปล่อยไปดีละ

อ่าน: 1289

อารมณ์ทุกอารมณ์เป็นอิสระ สิ่งเร้าที่มาเป็นตัวกระตุ้นและรูปแบบการตอบสนองพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งเร้าสามารถทำให้เสพติดอารมณ์นั้นๆได้โดยไม่รู้ตัว

ผู้คนล้วนมีอารมณ์พื้นฐาน 3 ชนิด อยู่ในตัว โกรธ กลัว พึงพอใจ เป็นอารมณ์หลัก

รูปแบบของอารมณ์พื้นฐานเหล่านี้ แสดงออกในรูปแบบต่างๆได้หลากหลาย เช่น

รังเกียจ เดือดดาล แค้น ที่เป็นรูปแบบของอารมณ์โกรธ
การอิจฉาและความรู้สึกผิด เป็นรูปแบบของอารมณ์กลัว
ความรักและความสุข เป็นรูปแบบของอารมณ์พึงพอใจ
ความโศกเศร้า เป็นรูปแบบของอารมณ์กลัวและโกรธที่หลอมรวมเข้าด้วยกัน

เมื่อจับต้องสาเหตุที่ก่ออารมณ์ได้ ก็มีความเป็นไปได้ที่จะจัดการหรือควบคุมอารมณ์นั้นๆ

สำหรับเรื่องขาใหญ่ก็มีประวัติอีกส่วนที่ขาดหาย คือ ปฏิกิริยาทางสรีระที่บ่งบอกความพึงพอใจ มักจะเกิดขึ้นในสถานการณ์อย่างไรบ้าง

ความสุข ความร่าเริงของเธอนั้นมีอะไรเป็นสิ่งเร้า  ความสำเร็จ หรือ การตอบสนองในลักษณะใดบ้าง ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตแล้วทำให้เธอรู้สึกสดชื่นและมีอารมณ์บวกเสมอ

มนุษย์ต้องการสมดุลระหว่างสัญชาตญาณ อารมณ์ สมอง และปัญญา เพื่อให้อยู่รอดอย่างร่มเย็นทั้งของตนเองและผู้อื่นที่อยู่ร่วม เมื่อสมดุลของสิ่งเหล่านี้เสีย ความร่มเย็นในการอยู่ร่วมก็ไม่้เกิด  กรณีของขาใหญ่ก็เป็นเช่นนั้น

ถ้าหวนกลับไปใช้ความรู้เรื่องสัญชาตญาณ 4 ด้าน ที่เรียนจากหมา สัญชาตญาณสัตว์สังคม นักล่า นักปกป้องที่ชอบหนีเอาตัวรอด และนักปกป้องที่ชอบต่อสู้

ประวัติของขาใหญ่ก็สะท้อนว่า เธอมีสัญชาตญาณของนักต่อสู้ที่สูงมาก และมีสัญชาตญาณสัตว์สังคมที่ต่ำ

มุมที่เห็นนี้ ยิ่งทำให้มั่นใจว่า อารมณ์หลุดของเธอ  เกิดจากสัญชาตญาณปกป้องที่สั่งสม สมดุลที่เป๋ไปน่าจะมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่วัย 7 ขวบแรกนั่นแหละ

โป๊ะเช๊ะ ชัดเจนว่า “ป่วยคู่” นะนี่  ป่วยคู่ แล้วก็สะสมความรุนแรงทางอารมณ์ไว้ในตัวทั้งคู่ อย่างนี้ก็หนีไม่พ้น ที่จะต้องเข้าไปวินิจฉัยว่า องค์กรแห่งนี้ป่วยหรือเปล่าแล้วหละ

ฉันนำเรื่องของหัวหน้างานรายนี้ไปปรึกษาจิตแพทย์ด้วย สิ่งที่เห็นพ้องกันก็คือ ควรมีมาตรการเสริมในหน่วยงานเพื่อดูแลหัวหน้างานไว้ก่อนเพื่อป้องกันองค์กรป่วย

มาตรการที่ว่านั้น คือ ควรมีคนคอยดูแลห่างๆเพื่อประคองให้หัวหน้างานมีโอกาสตั้งหลักกับการควบคุมอารมณ์โกรธของตน  เป็นมาตรการที่หวังผลป้องกันไม่ให้ “โกรธ” ปะทะ “โกรธ”

อีกหนึ่งมาตรการที่แนะนำไป ก็คือ ในระหว่างที่ความคิดยังไม่ตกผลึกว่า ใจจริงแล้วหัวหน้างานต้องการผลผลิตความสัมพันธ์กับขาใหญ่อย่างไร การดูแลระยะห่างเมื่อต้องมีปฏิสัมพันธ์กับขาใหญ่ก็เป็นเรื่องจำเป็น  การรับรู้อารมณ์ของตนให้ทันเมื่อต้องเผชิญหน้ากับขาใหญ่ก็จำเป็นเช่นกัน

อีกเรื่องเป็นเรื่องของมาตรการการดูแลการงานของขาใหญ่ ในฐานะเด็กเส้น ผู้บริหารที่อยู่เหนือขึ้นไปจากหัวหน้างานคงต้องเข้ามามีส่วนร่วมบริหารงานด้วย

การมอบหมายงานและการประเมินผลลัพธ์งานก็ควรเป็นผลการตัดสินใจร่วม ระหว่างผู้บริหารที่อยู่เหนือขึ้นไปจากหัวหน้างานทุกระดับและผู้บริหารที่ขาใหญ่พิง

มาตรการการดูแลงานของขาใหญ่ที่แนะนำนี้ เป็นหน้าที่ของฉันที่จะส่งข้อมูลไปให้เจ้านายของหัวหน้างาน ในฐานะที่รู้จักกันดี

ในส่วนของการดูแลขาใหญ่เรื่องอารมณ์ป่วย ฉันเชื่อว่าถ้ามีความเข้าใจประสบการณ์ในวัยเด็กของขาใหญ่ได้เมื่อไร เมื่อนั้นก็มีทางที่จะช่วยให้เธอยุติอารมณ์รุนแรงลงได้ระดับหนึ่งค่ะ

« « Prev : จะทำอะไรได้บ้างละนี่

Next : ตามลม(๒๒): อ้าว…ปลวก…ร่วมทำเหตุนี่เอง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1 ความคิดเห็น

  • #1 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 4 กรกฏาคม 2011 เวลา 22:09

    ศาสนาเราสอนว่ามันมีรัก โลภ โกรธ หลง

    ท่านพทุธทาสเสริมว่า รักโลภ ทำให้เกิดแรงดูดเข้า โกรธทำให้เกิดแรงผลักออก หลงก็เคว้งควางไม่รู้จะดูดหรือผลักดี ก็วนอยู่รอบๆ (นักจิตวิทยาฝรั่งไม่เคยรู้แบบนี้หรอก ผมว่า)

    อารมณ์ (เวทนา) นั้นว่าไปแล้ว ในตัวของมันเองยังไม่ดีไม่ชั่ว ยังกลางๆอยู่ (รวมถึงอารมณ์โกรธด้วย) แต่ถ้าเราไป “เสวย” อารมณ์ จนเกิด ตัณหาขึ้นมา ก็จะเกิดแรงดูด ผลัก วน ทันที ถึงขั้นนี้ก็ยากที่จะกู่กลับแล้ว

    ท่านพุทธทาส (อีกแล้ว) สอนว่า ต้องเอาสติ ไปดึงเอาสัมปชัญญะออกมารบกันให้ “ทันกาล”

    ใครมีสติเร็วดังศร และสัมปชัญญะ (ความรู้ วิชชา) คมดังหัวธนู ก็รบชนะอย่างทันกาล ก็ไม่ต้องเสวยอารมณ์ให้ “ทุกข์” ดังนี้แล

    ว่าแล้วนกแก้วก็ขอบินลงจากธรรมาสน์ ..แกว้ก ๆ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.030357837677002 sec
Sidebar: 0.16760802268982 sec