พลาสติก (๙) : ของเล่น

อ่าน: 1886

เมื่อครั้งที่ชวนพ่อครูแว๊บไปบุกถึงถิ่นของอาจารย์ทวิช  ไปเจอของชิ้นหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นของโบราณได้สำหรับเด็กสมัยใหม่ เพราะเดี๋ยวนี้คงไม่สามารถหามาให้ดูง่ายๆ ถามเด็กๆก็คงตอบว่าไม่รู้จักแล้ว วันนี้จะหาคนที่มีภูมิปัญญาผลิตของสิ่งนี้ขึ้นมาไม่ได้แล้วมั๊ง หาง่ายก็แต่คนเคยเห็นเคยใช้งาน

เจ้าสิ่งนี้แหละที่กระตุกให้คิดเรื่องของแถมจากขยะ เมื่อไปเจอความลับเรื่องขยะที่หลุมขยะเทศบาลอย่างในภาพข้างล่าง ไปดูเขาแล้วก็ย้อนมาดูตัว อืม รพ.ก็เป็นแหล่งหนึ่งที่ทำให้เกิดขยะเฉกเดียวกับในภาพ  จึงมีแรงค้นต่อว่า จะจัดการพลาสติกเหลือใช้ให้เป็นด้านบวกทำอะไรได้อีก

ก็เป็นการร่วมด้วยช่วยกันคิดและทำแล้วนำมาแลกเปลี่ยนกัน ในฐานะคนหนึ่งที่ขอมีเอี่ยวทำงานด้าน “การวางแผนจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน” และ ด้าน “การวางแผนจัดการทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” คงไม่ว่ากัน

แม้จะมีความเสี่ยงกับความเจ็บป่วยอยู่มากมาย เขาก็ไม่ยี่หระกับมัน ควรแล้วฤาที่จะทำไม่รู้ไม่ชี้ไม่ช่วยกัน

เมื่อหลายสิบปีก่อน เคยลงมือช่วยป๊ะป๋า สางกองขยะเพื่อปลูกต้นไม้ แล้วพบไส้เดือนตัวโตๆ ทั้งที่ในกองขยะนั้นก็มีพลาสติกฝังอยู่มากมาย ตอนนั้นกับตอนนี้อัตราการใช้พลาสติกต่างกันมาก

ขยะที่ทิ้งประจำวันทั้งจากในบ้านและที่ทำงาน ล้วนใส่ถุงดำออกมาทิ้ง จึงให้ภาพกองขยะอย่างในภาพ  อย่างนี้จะแยกขยะสดกับพลาสติกที่ปะปนก็ไม่ยากแล้ว  ถ้าใช้ไส้เดือนดินช่วยแยกพลาสติก

ไส้เดือนดินช่วยได้โดยไม่เปลืองแรงในการย่อยขยะ มาดูกันว่า “ไส้เดือนดิน” ช่วยอะไรได้บ้าง ปิ๊งอะไร หยิบไปจัดการกับขยะใกล้ตัว ได้เลย

« « Prev : พลาสติก (๙) : เอื๊อกๆๆๆ

Next : พลาสติก (๑๐) : ตัวดูดน้ำ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2011 เวลา 3:42

    พลาสติกเพิ่งจะเข้ามาเพ่นพ่านเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้
    ก่อนหน้านั้นสังคมไทยภูมิปัญญาไทยใช้อะไรแทนพลาสติก
    การจัดการแต่ละยุคอย่างหนึ่งอย่างใด แตกต่างกันไป
    ขอเสนอวิธีฝังกลบขยะประจำครัวเรือน
    1 ขุดหลุม หรือเจาะหลุม ไว้ข้างต้นไม้
    2 รวบรวมขยะไปฝังกลบทุกเดือน
    3 ย้ายหลุมออกไปต้นโน้นต้นนี่
    4 ก็จะไม่เป็นภาระต่อการจัดเก็บ และไม่ต้องสะสมขยะ
    5 ถ้าต่างคนต่างจัดการขยะตนเองก็ไม่จำเป็นต้องมีโรงขยะ
    6 ควรส่งเสริมวิธีบริหารขยะประจำครัวเรือน
    7 ถ้ารู้วิธี เลือกวิธี ที่เหมาะสม ขยะจะเป็นเรื่องเล็ก
    8 แต่ถ้าต่างคนต่างทิ้งขยะ ขยะจะล้นโลก สิ้นเปลืองงบประมาณมหาศาล
    9 ขยะเป็นอะไรที่มากกว่า ของทิ้ง ของไร้ค่า
    10 ขยะประจำวัน เกิดจากใคร คนนั้นต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่โบ้ยให้คนอื่นแก้ไข
    11 ที่มาที่ไปของขยะ สามารถพูดคุยกันได้เชิงกลยุทธ
    12 ทำให้เกิดนโยบายขยะในครัวเรือน จะช่วยลดขยะในใจ อิ อิ

  • #2 ทวิช จิตรสมบูรณ์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2011 เวลา 9:53

    คลิกไปฟังตามลิงค์แล้วแต่ไม่สามารถฟังจนจบได้ครับ เลยอดรู้เรื่องความเก่งของไส้เดือน

    ว่าแต่ว่าตะหงิดขึ้นมาว่าทำไมเรียก ว่า ไส้เดือน ไส้ปี ไส้วัน ไม่ได้หรือไร หรือ ไตเดือน ตับเดือน ก็ยังไหว

    คนไทยบางคนเรียก กะเดือน ก็มี ตกลงมันภาษาอะไรแน่ อย่าบอกนะว่าลอกฝรั่ง จีน แขก เขมร์ มอญ มา

    ชอบใจไอเดียบาท่านในการกำจัดขยะส่วนตน ยกเว้นคนอยู่แฟลต คอนโด ห้องเช่า น่ะครับ ที่คงทำไม่ได้
    แบบนี้ต้องทำเครื่องหมักส่วนตนขาย รับรองว่าขายได้ทั่วโลกแน่ๆ โดยเฉพาะในยุโรปที่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมมากในช่วงนี้
    หมักแก๊สออกมาได้ ก็เอาไว้ต้มมาม่า หรือ ต้มกาแฟกิน แค่นี้ก็ขายได้แล้ว

    ออกแบบ จดสิทธิบัตร แล้วขายทั่วโลก ไปโลดแน่ แล้วเอาเงินมาทำอะไรสนุกๆ เล่น เช่น สร้างโรงเรียนทางเลือก

  • #3 ป้าหวาน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2011 เวลา 20:43

    ชอบไอเดียพ่อครูตรงการบริหารขยะประจำครัวเรือนค่ะ
    ชอบไอเดียอ.ทวิชตรงเครื่องหมักส่วนตน (ทำขาย จดสิทธิบัตร เอาตังค์มาสร้าง ร.ร ทางเลือก ยังมีอีกหลายอย่างเลยที่ทำแนวนี้ได้นะคะ สุดยอด)

    เรายังคงรอการขยับขององค์กรต่างๆที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ แต่คงอีกนาน เบื้องต้นน่าจะขยายความรู้ ความเข้าใจ ไปยังประชาชน ซึ่งน่าจะเป็นผ่านลูกหลาน เด็กนักเรียนตั้งแต่อนุบาล เหนื่อยคุณครูอีกแล้ว..ผ่านสถาบันการศึกษา สถาบัน องค์กร ที่ทำงาน ต่างๆ น่าจะเริ่มกันเป็นเรื่องเป็นราว เลิกทิ้งขยะ มาเป็น บริหารขยะ ทำทุกคน ดีจริงๆค่ะพ่อครู

    สมมุติมีกิจกรรมให้เด็กๆเอาพลาสติกมา ให้ช่วยกันกับคุณครูดูว่าอะไรอยู่กลุ่มไหน เพื่อความเข้าใจเบื้องต้น ว่ามีอันตรายอะไรใกล้ตัวบ้าง เสร็จแล้วสอนเรื่องการแยกพลาสติกออกจากขยะทั่วไป เพื่อนำไปบริหารอย่างถูกวิธี
    ตามองค์กรต่างๆก็ทำ รุกด้วยการลุก แบบถึงตัวทุกๆคน

    ถึงแม้จะยาก แต่คงต้องปลูกจิตสำนึกกัน รวมพลังสู้ๆ

  • #4 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2011 เวลา 21:56

    #1 พ่อครูค่ะ ไอเดียนี้ใช้ได้กับที่อยู่อาศัยที่มีบริเวณให้พอปลูกต้นไม้ได้ แต่บ้านลอยฟ้าที่หันไปหน้าไปทางไหนก็เห็นแต่ฟ้ากับปูนคงหมดสิทธิ วิถีคนเมืองกับขยะล้นถังจึงหนีกันไม่พ้น ถ้าไม่ปรับตัวใหม่อีกหน่อยขยะก็ล้นจนท่วมปากหายใจไม่ออกเอา จะรอให้มีอปท.ที่มีกึ๋นอย่างหมอป่วนมาช่วย ก็คงช่วยได้ไม่ทั่วหรอกนะคะ

    #2 หนุนเต็มที่เลยค่ะอาจารย์เรื่องสิ่งผลิต ผลิตออกมาช่วยกันทำให้คนมีสุขภาพเร็วๆนะคะ อยากได้เป็นชนิดจัดการกับพลาสติกได้เจ๋งค่ะ ส่วนขยะสดนั้นเดี๋ยวนี้มีวิธีจัดการได้ง่ายๆแล้ว ขอแต่มีภาชนะใส่และมีน้ำตาลหรือกากน้ำตาลและปลูกต้นไม้ ขยะที่ห่วงว่าต้องนำไปหมักไม่ต้องรอแล้ว นำมาใช้ได้หมด แต่ก็จัดการนำก๊าซมาใช้เป็นพลังงานไม่ได้ถูกปล่อยทิ้งไปอยู่ดี สิ่งผลิตอาจารย์ถ้าจัดการหมักแล้วแถมก๊าซหุงต้ม ดังระเบิดอยู่แน่แล้วค่ะ คิดเร็วๆนะคะ

    #3 ใช่เลยค่ะป้าหวาน มัวรอองค์กรต่างๆออกมารณรงค์ จะกลายเป็นกว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้แล้ว เรื่องยากของการเรียนรู้เรื่องพลาสติกคือ ให้เด็กคลุกคลีกับมันโดยครูรู้ไม่หมด อาจสร้างอันตรายด้านสุขภาพให้กับเด็กได้ จำเป็นต้องจัดการหลักสูตรให้ดีๆค่ะ และครูก็ต้องคั้นหัวกะทิความรู้มาสอนให้ ที่ง่ายกว่าก็คือ ลงมือทำเองก่อนเลย จนได้เคล็ดวิชามาส่งต่อความรู้ง่ายๆแต่เจ๋ง เด็กไม่เสี่ยงต่อการคลุกคลีมากนัก ได้เคล้ดแล้วก็นำมาถ่ายทอดให้กัน


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.14900422096252 sec
Sidebar: 0.11267280578613 sec