พลาสติก (๙) : เอื๊อกๆๆๆ

อ่าน: 1481

เมื่อรู้ ก็จะเห็นว่าขยะทุกอย่างทั้ง พลาสติก สารเคมี แก้ว ไม้ และกระดาษ สามารถนำกลับมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้

ขณะนี้มีช่องทางนำ “ขยะพลาสติก” มาหลอมรีไซเคิลเป็น “น้ำมัน” กันแล้ว หมายความว่า ไม่ควรทบทวนการใช้พลาสติกแล้วหรือ  คำตอบก็คือไม่ใช่น่า

แม้ว่ากระบวนการนี้จะเกิดขึ้นแล้วในเมืองไทย แต่ก็ยังเป็นเพียงการทดลองทำดูเท่านั้น ระยะเวลาที่ลงมือยังไม่สามารถให้ความรู้ของด้านลบที่ยังไม่รู้  ถือว่าดีที่เป็นทางออกใหม่ซึ่งมาแทน การทำลายแบบเดิมที่ฝังกลบหรือเผาทิ้งไปเปล่าๆ ปีละ 2.5 ล้านตัน ที่ในนั้นมีพลาสติก 4 ชนิดนำกลับมารีไซเคิลเป็นน้ำมันได้ อยู่ราวนี้ HDPE 1.0 ตัน LDPE 0.7 ล้านตัน PP 0.4 ล้านตัน และอื่นๆ 0.4 ล้านตัน การเผาก็แถมมาด้วยมลภาวะในอากาศ ที่ทำให้คนในบ้านเราป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเป็นอันดับหนึ่ง

ในระหว่างที่เทคโนโลยีโปแลนด์กำลังขยายความรู้อยู่ที่ระดับจังหวัด เพื่อจัดการให้เกิด “พลาสติกสะอาด” อย่างต่ำวันละ 6 ตัน ไปกลั่นน้ำมันดิบให้เกิดขึ้นแทนที่วันละ 28 บาร์เรล หรือ 4,500 ลิตร  เพื่อให้ถึงฝันปีละ 2,100 ตัน ซึ่งให้น้ำมันดิบทดแทนการนำเข้าได้ 5% ของจำนวนนำเข้าที่ปัจจุบันอยู่ที่ 7 แสนกว่าล้านตันต่อปี และการผลิตเครื่องจักรทำเองส่งออกขาย (เครื่องจักรรุ่นแรกมีขายแล้ว รัสเซีย และ เยอรมัน ซื้อไปใช้ ผลิตได้วันละ 10 ตันต่อวันหรือประมาณ 6,000-8,000 ลิตรต่อวัน)

เตาผลิตน้ำมันนี้ให้ความร้อนประมาณ 420 องศา หลอมละลายพลาสติกให้เป็นของเหลวและเปลี่ยนสภาพเป็นแก๊ส แก๊สถูกทำให้เย็นเกิด wax ขึ้น wax ถูกดักก่อนและปรับสภาพแก๊ส จากนั้นส่งไปควบแน่นด้วยระบบหล่อเย็นจนเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊สที่ไม่ถูกกลั่นตัวก็ถูกนำไปใช้ให้ความร้อนหัวเผาแก๊ส

น้ำมันที่ได้จากการกลั่นใช้เป็นเชื้อเพลิงของเครื่อง ให้ความร้อนได้โดยตรง จะนำไปเป็นน้ำมันพื้นฐานเข้าสู่กระบวนการกลั่น จะเป็นปตท. บางจาก หรือโรงกลั่นที่ออกแบบเฉพาะสำหรับน้ำมันส่วนนี้ก็ได้ จะนำไปใช้กับเครื่่องยนต์ ต้องมีการปรับสภาพของน้ำมันหรือผสมก่อนจึงนำไปใช้ได้

เขาว่า กระบวนการดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งทางน้ำ อากาศ หรือกลิ่นรบกวนอันมีผลต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน ตรงนี้ยังไม่เชื่อว่าไม่กระทบต่อสุขภาพ เร็วเกินไปที่จะสรุปในประเด็นของการเกิดมะเร็ง แล้วกระบวนการก็มีประเด็นน่าห่วงตั้งแต่ การนำขยะเก่าที่ฝังกลบไว้แล้วมาจัดการใหม่ เริ่มจากทำความสะอาด บด จัดการความชื้น แล้วจึงแปรรูปเป็นน้ำมัน  หลังจากนั้นก็ต่อด้วยนำน้ำมันมาใช้ต่อกับเครื่องจักรกลหนัก เครื่องปั่นไฟฟ้า เครื่องจักรกลหนัก เรือขนานยนต์ และเครื่องจักรทางการเกษตร

มาดูเวลาของการฝังกลบกันหน่อยเหอะ ว่าทำไมจึงมีคนบอกว่าต้องใช้เวลากว่า 500 ปี กว่าพลาสติกเหล่านี้จะย่อยสลายและมีปัญหาอะไรอีกที่ซ่อนอยู่ แล้วส่งเสริมให้เกิดมลพิษ

ผลเสียของการนำขยะมากำจัดแบบกองมูลฝอยกับพื้นกลางแจ้งมีหลายด้าน

-จะทำให้อากาศเสียถ้าเผา ควันและสารมลพิษจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์เกิดขึ้น

-จะทำให้น้ำเสีย เมื่อน้ำฝนชะกองขยะที่ยังตกค้างบนพื้น ไหลลงแม่น้ำ

-กำลังสร้างรัง ทำฟาร์มลี้ยง หรือเปิดครัวเลี้ยง สัตว์นำโรค อย่าง หนู แมลงวัน ไว้แพร่โรคให้ตัวเองและบุคคลอันเป็นที่รัก

-จะเกิดกลิ่น รบกวนความสุขสบาย ของจมูกและสายตา พารำคาญใจ เมื่อบรรดาสิ่งของที่ไม่ต้องการใช้แล้วนั้นเน่าเปื่อยลง

ไปพบมาแล้วว่า กว่าโฟมจะสลายใช้เวลา 500 - 1,000 ปี

มีแถมอายุเจ้านี่มาด้วยทำให้สะดุ้งเฮือก ยกมือก่ายหน้าผากเลย  : ผ้าอ้อมสำเร็จรูป 500 ปี   ก้นบุหรี่ 12 ปี

กลืนน้ำลายเอื๊อกๆแล้วร้อง…เฮ้อ…ถ้าจะลดขยะที่แหล่งกำเนิด…โดยชวนคนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ง่ายที่จะให้คนรักสบายเปลี่ยนตัวเองเลย

เพิ่งรู้ว่า  หลังปี พ.ศ. 2520 ผ้าอ้อมอนามัย เปลี่ยนจากความเป็นเยื่อกระดาษหุ้มผ้าใยเทียมไม่ทอ (เรยอน) มาเป็น Polymer gel หุ้มด้วยพลาสติก PE หรือ PP  และมีเซลลูโลสเป็นวัสดุประกอบด้วย อย่างนี้นี่เอง

เห็นอนาคตชัดเลยว่าต่อไปอีก 500 ปีข้างหน้าเวลามีคนขุดหาวัตถุโบราณจะเจอของหน้าตาเป็นยังไง…55555

« « Prev : พลาสติก (๘) : ทำลาย

Next : พลาสติก (๙) : ของเล่น » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1 ความคิดเห็น

  • #1 ทวิช จิตรสมบูรณ์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2011 เวลา 17:07

    ยุคหินเก่า หินใหม่ สำริด เหล็ก พลาสติก

    ต่อไปผมทำนายว่า ยุคไม้ครับ ไม้ทีมีเต็มป่าเมืองไทย มากกว่าฝร้ง 100 เท่า แต่คนไทยไม่เคยสนใจ หันไปนิยมแต่การรูดคาร์ดพลาสติก


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.14392399787903 sec
Sidebar: 0.16846990585327 sec