พลาสติก (๗) : เสื่อมสลาย

อ่าน: 1831

เคยใช้กาละมังพลาสติกมั๊ยค่ะ พอมันแตกแล้วเราทิ้งไว้ นานๆเข้ามันก็เปราะ ไปจับต้องมันเข้าบางชิ้นก็บิแตกติดมือ เมื่อรู้ว่าสารเคมีผลิตพลาสติกย่อยสลายได้พบมากว่า ๑๐ ปีแล้ว ก็สนใจว่ากาละมังนั้นเป็นพลาสติกย่อยสลายหรือเปล่า

จะดูยังไงว่าพลาสติกนั้นเป็นพลาสติกย่อยสลายได้  ตอนนี้ก็มีแค่เรื่องอายุการสลาย และเข้าถึงข้อมูลวัตถุดิบในกระบวนการผลิตเท่านั้นเอง

พลาสติกที่ย่อยสลายได้จะย่อยตัวมันให้หมดไปภายใน ๑ ปี

เกินจากนี้ก็เป็นพลาสติกที่มีสารเคมีอันตรายแฝงอยู่ทั้งนั้น และใช้เวลานานมาก เช่น

โฟม ไม่ย่อยสลายเลย

ขวด ถุงพลาสติก ๔๕๐ ปี

รองเท้า ๒๕-๔๐ ปี

ถ้วยกระดาษเคลือบ ๕ ปี

จะเห็นว่ารู้อายุก็ไม่ช่วยให้คนมีโอกาสเลือกใช้พลาสติก เพราะจะรู้จักชนิด ต้องรอให้มันสลายตัว

ถ้ากลับไปที่เลือกด้วยตัวเลขกำกับที่เล่าไว้แล้ว ก็พบว่ายากตรงที่การกำกับมาตรฐานการผลิตของบ้านเรา และความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ผลิตไม่ดี บรรจุภัณฑ์พลาสติกหลายอย่างที่ออกมาในตลาดจึงไม่มีตัวเลขกำกับไว้

อย่างนี้จะใช้พลาสติกย่อยสลายได้ มีแต่ต้องเข้าถึงข้อมูลวัตถุดิบการผลิตจึงเลือกได้ก่อนใช้ หรือไม่ก็ต้องอาศัยความซื่อสัตย์ของผู้ผลิต ช่วยระบุว่าเป็นพลาสติกชนิดย่อยสลาย (จะเชื่อใน CSR ได้หรือ ????? ) เท่านั้นแหละ

สำหรับคนที่ไม่สนใจรีไซเคิล มันยากตั้งแต่เริ่มต้นให้จำตัวเลข และประเภทแล้ว อย่างนี้น่าจะทำให้ง่าย แบบไม่ต้องจำ ระบุวันหมดอายุใช้งานของพลาสติกเหมือนตราอย.จะได้มั๊ยนี่

คนจะได้ไม่ต้องจำ และง่ายต่อการให้ความร่วมมือในการเลือกใช้พลาสติก ลดโลกร้อน

“สลาย” มีความหมายว่า “หมดไป”  เวลาพลาสติกสลายตัวมีความแตกต่าง และความเหมือน  เหมือนกันตรงที่เมื่อสลายแล้วเล็กลงๆ ต่างกันตรงการปล่อยสารออกจากตัวเมื่อขนาดเล็กลงๆ จึงน่าสนใจการสลายตัวของพลาสติกไว้ เพื่อใช้จัดการมันเมื่อกลายเป็นขยะ

การสลายตัวของพลาสติกมี ๕ รูปแบบ

๓ ใน ๕ เป็นการสลายตัวที่จุลินทรีย์เข้ามามีบทบาทในการทำให้หมดไป  ๒ ใน ๔ รูปแบบมีน้ำ หรือ แสงเข้ามาเกี่ยวข้อง  มาดูกันว่าเป็นยังไง

วิธีแรก   ใช้จุลินทรีย์ทำให้พลาสติกมีขนาดเล็กลงๆ ด้วยการไปเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีของพลาสติก ภายใต้เวลาหนึ่งที่กำหนด ให้กลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ ( Biodegradable plastics)

วิธีที่ ๒   ใช้น้ำทำให้พลาสติกเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีก่อนแล้วต่อด้วยวิธีแรก ( Hydro-biodegradable plastics)

วิธีที่ ๓   ใช้แสงทำให้พลาสติกเปลี่ยนแปลงก่อนแล้วต่อด้วยวิธีแรก ( Photo-biodegradable plastics)

วิธีที่ ๔   ใช้น้ำทำให้พลาสติกเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีให้เปราะก่อน แล้วใช้ความร้อน (heat ageing ) หรือแสง (UV ageing) ทำให้แตกหัก (Bioerodable plastics)

วิธีที่ ๕    เปลี่ยนแปลงโครงสร้างพลาสติก ด้วยกระบวนการหมักร่วมไปกับขยะอินทรีย์ในสภาวะแวดล้อม ที่มีการใช้ออกซิเจนที่กำหนด ( Compostable plastics) ทำให้ภายใน ๑-๓ เดือน  พลาสติกกลายเป็นปุ๋ยผสม ใช้ปรับสภาพดินให้ร่วนซุยได้

ตัวอย่างขวดที่ย่อยสลายด้วยวิธีการที่ ๕

« « Prev : พลาสติก (๖) : ย่อยสลาย

Next : พลาสติก (๘) : ทำลาย » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 ป้าหวาน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2011 เวลา 19:25

    เมื่อโฟมเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เราน่าจะมีการใช้(ผลิต)พลาสติกที่ย่อยสลายได้มาแทนโฟมที่ใช้เป็นกล่องใส่อาหารนะคะ ไม่ทราบว่ามีแล้วหรือยังค่ะ เรื่องการย่อยสลายและสารอันตรายจากพลาสติกนี้น่าสนใจมาก และน่านำไปร่วมกับสวนป่าในการเผยแพร่ความรู้ควบคู่ไปกับเรื่องอื่นๆที่พ่อครูกำลังทำนะคะ ขอบพระคุณพี่หมอเจ๊ค่ะ

  • #2 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2011 เวลา 20:46

    ณ เวลานี้ การลงมือผลิตคงไม่ทันกับกระแสการใช้ค่ะ จนกว่าคนจะรู้ว่า โฟมเป็นอันตรายกับตัวอย่างไร

    อนาคตของอุตสาหกรรมพลาสติกย่อยสลายแบบชีวภาพขั้นตอนเดียว กำลังส่อแววรุ่ง แต่กลียุคจะเกิดเรื่องวัตถุดิบ เช่น น้ำตาลกับพลาสติกโฟม แป้งทำขนมกับพลาสติกย่อยสลายได้แบบชีวภาพ พืชจำพวกเมล็ดต่างๆจะมีความหมายขึ้นมาก

    เหตุการณ์น้ำมันปาล์มกับไบโอดีเซลที่เป็นอยู่ตอนนี้ แล้วทำให้น้ำมันพืชอื่นๆแพงไปด้วย มะพร้าวก็แพง เป็นบทเรียนมุมหนึ่ง

    เหตุทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะที่ดินถูกเปลี่ยนจากการเกษตรไปเป็นโรงแรม บ้านพักตากอากาศ โฮมสเตย์ กันเยอะแยะไปหมด เหลือใช้สำหรับคนไทยอาศัย ไม่พอใช้สำหรับคนไทยทำการเกษตรผลิตวัตถุดิบ

    สวนป่าของพ่อครูนั้น เป็นที่บริสุทธิ์ จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะช่วยกันอย่าให้แปดเปื้อนมลพิษ เท่าที่เห็นก็โอเคอยู่ แต่ความไม่รู้จะทำให้เพลี่ยงพล้ำได้นะคะป้าหวาน เรื่องนี้ยังมีอีกหลายเรื่องที่ยังไม่รู้ ถ้าจะลองก็ควรลองในกรอบที่รู้แล้วก่อน

    เรื่องสารเคมีนั้นประมาทไม่ได้ เพราะไม่มีกลิ่น ไม่ได้หมายความว่าไม่มีอยู่ ไม่เห็นไม่ได้แปลว่าไม่มีอยู่ค่ะ

  • #3 ป้าหวาน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2011 เวลา 21:18

    ขอบพระคุณพี่หมอเจ๊ค่ะ ที่สวนป่า ป้าหวานหมายถึงพ่อครูอาจช่วยเผยแพร่ความรู้เรื่องนี้กับหลายๆสายที่วนเข้าไปหาความรู้ แต่ก็อาจจะเป้นภาระเพราะงานที่พ่อครูทำอยู่ก็มากอยู่แล้วค่ะ แต่ขบวนการอื่นๆคงไม่ก้าวเลยออกไปค่ะ วันที่ไป โคราช ได้ฟังอจ.ท่านอธิบายเรื่อง พลาสติคที่ผลิตโดยแบคทีเรีย เข้าใจว่าก้าวหน้าเป็นอย่างมาก รอฟังและติดตามต่อ ขอบพระคุณพี่หมอเจ๊ค่ะ

  • #4 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2011 เวลา 7:19

    เห็นด้วยกับป้าหวานว่า สวนป่าเป็นสถานที่ที่สามารถช่วยเติมความรู้ได้ ความสามารถหลักของสวนป่าช่วยเปิดมุมมองความหวงแหนแผ่นดิน ไว้ทำการเกษตรของคนรุ่นต่อรุ่นได้ดี และที่เห็นว่าควรจะปลูกฝัง คือ สะท้อนคิดเรื่องการจัดการขยะ ที่นำเข้าไปในสวนป่าด้วยความไม่รู้

    ระหว่างทางที่พลาสติกผลิตโดยแบคทีเรียเดิมก็ให้สาร ๓ ตัวนี้แหละค่ะ PLA PHA PHB


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.032728910446167 sec
Sidebar: 0.12453413009644 sec