พลาสติก (๖) : ย่อยสลาย

อ่าน: 2153

รู้ๆกันอยู่ว่าพลาสติกใช้เวลาในการสลายตัวนานมาก แค่ถุงพลาสติกใบเดียวนั้นก็ใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๔๕๐ ปีเข้าไปแล้ว จึงน่าสนใจเรื่องพลาสติกย่อยสลายที่ชวนๆกันให้เลือกใช้ว่าหน้าตาเป็นยังไง

ไปเจอมาว่าที่แท้แล้ว พลาสติกย่อยสลายเหล่านั้นมีหลายอย่างอยู่ใกล้ตัวมาก ส่วนใหญ่ใช้กันอยู่ในวงการแพทย์  ตัวอย่างเช่น ไหมละลายที่ใช้เย็บแผล  สกรู แผ่นดามกระดูก ผิวหนังเทียม

ถุงหูหิ้วย่อยสลายได้ก็มีใช้กันแล้ว หาดูได้ตามห้างต่างๆ ขี้เกียจจะไปตามห้าง แค่แวะเข้าร้านดอยคำ เลมอนฟาร์มก็จะเห็น

การผลิตพลาสติกกลุ่มนี้มีจุดปรับใหม่ คือ นอกจากให้ความสำคัญกับความแข็งแรง ความเหนียว น้ำหนัก การสลายตัว แล้ว ยังให้ความสำคัญกับความเป็นสารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Influence Assessment , HIA ) และสิ่งแวดล้อม (Environment Influence Assessment , EIA) ด้วย

ตัวอย่างอุปกรณ์ด้านการแพทย์ซึ่งเป็นพลาสติกย่อยสลายได้

หน้าตาถุงพลาสติกย่อยสลายได้ที่อยู่ในท้องตลาดแล้ว

ที่พลาสติกย่อยสลายได้บางชนิดมีความปลอดภัย เกิดจากตัวมันไม่มีสารเคมีกลุ่มโพลีเอทีลีน (PE ) อยู่  สารเคมีที่เข้ามาแทนที่เป็นกลุ่มที่เรียกว่า Polylactic Acid (PLA)  วัตถุดิบที่ใช้ผลิตมาจากพืชที่สามารถให้แป้งได้จำนวนมาก มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นวงจรอย่างในภาพล่างนี้แหละ

ใครอยากรู้ว่าได้ PLA มาอย่างไร ก็ให้พาตัวไปฟังอาจารย์ทวิชเล่ากันได้ กระบวนการทำให้ได้ PLA มาต้องอาศัยจุลินทรีย์ สิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆที่ทรงพลังอย่างยิ่ง ไปแล้วมีได้ของแถมได้ชมธนาคารของพื้นบ้านและธนาคารจุลินทรีย์ด้วย

คนลำพูนอาจจะไม่ต้องเดินทางไกล อยากเห็นกระบวนการข้างบนกับตา ให้ไปที่วิทยาเขตศรีบัวบาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ข่าวว่าที่นั่นกำลังทดลองสร้างโรงงาานผลิตอยู่

นอกจาก PLA แล้วยังมีสารเคมีอีก ๒ ตัว ที่นำไปผลิตพลาสติกย่อยสลายได้แทน PP และ PE  ชื่อว่า PHA (poly-3-hydroxyalkanoate) และ PHฺB ( Poly-3-Hydroxybutyrate)  สนใจอยากรู้ว่ามันมีที่มายังไง สามารถไปหาผู้รู้ได้ที่คณะวิทยาศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพ จุฬาฯ

เจ้า ๒ ตัวหลังนี้ก็ต้องอาศัยจุลินทรีย์จึงได้มาเช่นกัน

ตัวแรกรู้จักมากว่า ๑๐ ปีแล้ว เพิ่งฮือฮา เป็นบทสอนว่าคนไทยความรู้สึกช้ากับเรื่องใหม่ๆ มองมุมบวกก็ดีในแง่สัญชาตญาณระวังภัย มองมุมลบก็ไม่ดีที่ระแวงมากจนสร้างภัยให้ตัว  ไม่รู้จักเปลี่ยน “ความไม่รู้” ให้เป็น “รู้” ซึ่งเป็นปัญญา

« « Prev : พลาสติก (๕) : เงามืดที่ซ่อนอยู่

Next : พลาสติก (๗) : เสื่อมสลาย » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "พลาสติก (๖) : ย่อยสลาย"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.086182117462158 sec
Sidebar: 0.14819598197937 sec