ตามรอยน้ำพุร้อน (๔)

อ่าน: 3007

มีคนบอกว่า ระบบธรณีวิทยา การเคลื่อนไหวของผิวเปลือกโลกที่ลึกลงไปประมาณ ๓๕ กม. ที่เป็นแผ่นหินที่เชื่อมต่อถึงกันและรอยต่อรอยแยกของ plate กิจกรรมแผ่นดินไหว ลาวาใต้พิภพ มีความสัมพันธ์กับสนามแม่เหล็กโลก

แผนภูมิข้างล่างทำให้เข้าใจขึ้นว่าน้ำพุร้อนแทรกตัวขึ้นมาตามรอยแยกอย่างไร  สัมพันธ์กับหินอย่างไร

แผนที่ ๒ ฉบับนำมาเทียบกันแล้วก็แปลกใจ พื้นที่น้ำพุร้อนในภาคเหนือกับพื้นที่แผ่นดิน(เคย)ไหว เป็นพื้นที่เกือบครือกันเลย แต่ของภาคใต้กลับไม่ใช่

ดูอุณหภูมิของน้ำพุร้อนแล้ว ความร้อนใต้เปลือกโลกใต้รอยแยกของภาคเหนือจะร้อนกว่าภาคใต้

พอนึกถึงว่า น้ำพุร้อนเป็นพื้นที่ภูเขาไฟที่กำลังจะมอดหรือดับลงแล้ว แผนที่น้ำพุร้อนจึงเหมือนกำลังบอกว่าตรงไหนของบ้านเรามีภูเขาไฟ

ตรงไหนเป็นภูเขาไฟ ตรงนั้นเป็นแหล่งแร่ธาตุราคาแพง  ถ้าแร่ธาตุนั้นคือถ่านหิน ก็ไม่แปลกใจแล้วว่า ทำไมกระบี่จึงมีถ่านหินและมีมาก จนทำเหมืองได้ ทำไมถ่านหินแม่เมาะจึงขุดเท่าไรก็ไม่หมดสักที

เขาว่าอำเภอเฉลิมพระเกียรติ์ จังหวัดบุรีรัมย์ เช่น เขากระโดง เขาไปรบัด ภูอังคาร เขาพนมรุ้งอันเป็นที่ตั้งประสาทหินเขาพนมรุ้ง เหล่านี้เป็นพื้นที่ภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว

การที่ขุดถ่านหินได้ก็เพราะที่ตรงนั้นเป็นภูเขาไฟดับสนิทแล้ว อ้าว อย่างนี้ไม่ต้องกลัวว่าแผ่นดินไหวจะเกิดที่กระบี่ได้ซินะ

พื้นที่อื่นในประเทศไทยที่เป็นภูเขาไฟอีกก็มี ดอยผาคอกจำป่าแดด และปล่องภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู จังหวัดลำปาง  ภูเขาหลวง จังหวัดสุโขทัย  ภูเขาพนมสวาย  ภูเขาพนมอัลลองสวายตันยู จังหวัดสุรินทร์

ขอบคุณภาพจากเว็บไซด์กรมทรัพยากรธรณี

« « Prev : ตามรอยน้ำพุร้อน (๓)

Next : ตามรอยน้ำพุร้อน (๕) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 ทวิช จิตรสมบูรณ์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 30 มกราคม 2011 เวลา 13:27

    พวกของไหลนี้มันดิ้นได้มากครับ อย่าเพิ่งไปเชื่อข้อมูลมากนัก โดยเฉพาะจากองค์กรวิชาการไทยที่ไม่ค่อยเข้มข้น เพราะส่วนใหญ่ไม่ค่อยทำงาน เอาแต่เลียนายริมสนามกอล์ฟ

    20 ปีก่อนนักวิชาการไทย ฟันธงกันว่า เมืองไทยไม่มีศักยภาพลมพอที่จะทำกังหันลม มีผมค้านอยู่คนเดียว

    วันนี้กำลังเห่อกังหันลมกันเต็มประเทศ แต่ผมกลับค้านว่าระวังเจ๊งระนาว ถ้าไม่เลือกแหล่งพื้นที่ให้ดีที่สุด สรุปคือกังหันลมทำใด้ แต่ต้องเลือกแหล่งให้ถูก ริมทะเลอาจเจ๊ง ภาคกลางแถวสุพรรณอาจรวย ไม่แน่หรอก ต้องมีวิชาการ

    ส่วนแผ่นดินไหวน้น พงศาวรดารกรุงศรีฯ ฉบับหลวงประเสริฐบันทึกไว้ว่าสยามประเทศเคยถูกแผ่นดินไหวถล่มถึงสามครั้งนะครับ

  • #2 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 30 มกราคม 2011 เวลา 13:43

    เห็นด้วยกับอาจารย์ว่าของไหลมันดิ้นได้

    ก็เลยตามรอยว่าเขาให้ความรู้อะไรกันไว้ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับความจริงที่เห็นกับตาเอง
    เพื่อกลั่นกรองว่าควรเชื่ออะไร ไม่ควรเชื่ออะไร
    จะได้ไม่เสียใจว่าทำพลาดเพราะความเชื่อของเรา เพราะเรื่องที่ทำเป็นเรื่องการช่วยคน

    ในทางวิชาการของหมอๆ เราค้นหา sensitivity มาใช้งานเพื่อเตือนใจให้เฝ้าดู
    หลังจากรู้จักมันดีแล้ว ความแม่นในการเตือนภัยยิ่งมากขึ้นๆ
    จนกระทั่งกลายเป็นเรื่อง specificity คือ ทำนายได้ตรงเผงค่ะอาจารย์

    ชอบใจที่อาจารย์มาแลกเปลี่ยนมากเลย เพราะช่วยกระตุกบางมุมที่ไม่ได้มองหรือเผลอเชื่อโดยไม่ได้ใคร่ครวญ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.19048881530762 sec
Sidebar: 0.61737608909607 sec