ตามรอยน้ำพุร้อน (๒)

อ่าน: 2479

น้ำพุร้อนในประเทศไทยมีทั้งหมด ๑๑๒ แหล่ง อยู่ทางภาคเหนือ  ภาคตะวันตก ภาคกลาง และ ภาคใต้

ความหนาแน่นอยู่ที่ภาคเหนือมากกว่าภาคอื่น

อุณหภูมิน้ำผิวดินอยู่ระหว่าง ๔๐-๑๐๐ องศาเซลเซียส

น้ำพุร้อนอุณหภูมิมากกว่า ๘๐ องศา อยู่ที่ภาคเหนือ  ใกล้ที่สุดทางใต้อยู่ในมาเลเซีย

น้ำพุร้อนส่วนใหญ่ในประเทศไทยอุณหภูมิต่ำกว่า ๖๐ องศา น้ำพุร้อนกระบี่ ( อ.เหนือคลอง คลองท่อม)  ตรัง พัทลุง อยู่ในกลุ่มนี้

น้ำพุร้อนที่มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง ๖๐-๗๙ องศา ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ ภาคใต้มีอยู่ที่สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา (บ่อดาน) ยะลา (ตาเนาะแมะเราะ เบตง)

แบบจำลองเพื่อทำความเข้าใจพลังงานความร้อนใต้ดิน แบบที่ ๑

แบบจำลองเพื่อทำความเข้าใจพลังงานความร้อนใต้ดิน แบบที่ ๒

ข้อมูลต้นกำเนิดความร้อน

- น้ำพุร้อนที่พบบริเวณหินอัคนี น้ำใต้ดินได้รับการถ่ายเทความร้อนจากหินอัคนีที่ร้อนในระดับลึก และไหลย้อนกลับสู่ผิวดิน

- น้ำพุร้อนที่เกิดอยู่ใกล้ หรือเกิดอยู่ในหินแกรนิตจะได้รับความร้อนจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี ซึ่งพบมีค่าค่อนข้างสูงอยู่ในหิน

- น้ำพุร้อนที่เกิดอยู่บริเวณรอยเลื่อนมีพลังได้รับการถ่ายเทความร้อนจากแรง เฉือน และรอยเลื่อนดังกล่าว เป็นช่องทางนำน้ำเย็นไหลลงสู่ระดับลึกแล้วไหลขึ้นสู่ผิวดินเป็นน้ำพุร้อน

- รอยเลื่อนปกติในทิศทางเหนือ-ใต้ ที่เกิดอยู่ทั่วไปในช่วงเวลาไม่เกิน ๑.๘ ล้านปี (หลังยุคเทอร์เชียรี) เป็นตัวให้ความร้อนเพิ่มขึ้น

- บริเวณประเทศไทยมีค่าการไหลถ่ายความร้อนสูง (high heat flow) ซึ่งเป็นผลมาจากชั้นเปลือกโลก และชั้นแมนเทิล (mantle) บางหรืออยู่ตื้นกว่าปกติ

น่าสนใจว่าในพื้นที่จังหวัดที่เกิดสึนามิ มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้างในพื้นที่น้ำพุร้อนที่อยู่ไกลฝั่งทะเล

ที่มา :  น้ำพุร้อนในประเทศไทย

« « Prev : ตามรอยน้ำพุร้อน (๑)

Next : ตามรอยน้ำพุร้อน (๓) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ตามรอยน้ำพุร้อน (๒)"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.31158900260925 sec
Sidebar: 0.29391694068909 sec