เมนูนี้ฮิตเสมอ

อ่าน: 1455

หลังจากเทกระเป๋าชนิดไม่ยอมให้เงินรูปีติดตัวกลับบ้านกันแล้ว พวกเราก็รวมพลกันไปเติมท้องให้อิ่มที่ร้านโลตัส ร้านนี้เป็นร้านอาหารจีนที่มีบรรยากาศสบายๆ รสชาดอาหารพอไหวแม้จะฝีมือไม่เท่ากุ๊กไทย

เมื่อเมนูแรกของอาหารมาเสิร์ฟ เสียงอุทานพอใจก็เซ็งแซ่ขึ้น  หลังจากนั้นในห้องอาหารก็อวลไปด้วยกลิ่นที่คุ้นเคย อิ่มอร่อยในมื้อนี้ มีอาหารเมนูเด็ดที่ถูกเรียกหาไม่หยุดปาก ขอเพิ่มอีกจานอยู่เรื่อย เมนูที่ว่าเป็นอะไร ท่านลองทายดูซิค่ะ

สังเกตว่ามื้อนี้หลายคนมุ่งแต่ชิมรสเมนูเด็ด ผัดกระเพราหมูร้อนๆจานโต  มีเสียงเพรียกหาขอเพิ่มตลอดจนท้องอิ่ม

น้ำพริกผักเคียงเมนูแรก เสิร์ฟมาแล้วหายเกลี้ยง ไม่มีเสียงเรียกหาสักเท่าไร

มื้อนี้ปลาฉู่ฉี่ถูกเมินไม่ใคร่แตะกันเลย

อิ่มจากของคาวกันแล้ว ของหวานก็ี่ถูกนำมาเสิร์ฟ อร่อยไม่แพ้กัน มีทั้งไอติม โรตี ขนมหวานอย่างเช่น ทับทิมกรอบ

ช๊อปด้วยกันแล้วมากินด้วยกันอย่างมีความสุข ร้านทั้งร้านมีแต่พวกเรา บรรยากาศจึงเหมือนกำลังปาร์ตี้ด้วยกันที่บ้านเลยแหละ

มีโอกาสได้คุยกับคนในร้าน ได้ความว่าวัตถุดิบที่ต้องการมากสำหรับร้านอาหารไทยคือ เครื่องปรุงรส ซีอิ๊ว ซอสปรุงรส เหล่านี้มีราคาสูงกว่าอย่างอื่น

เรื่องนี้ยืนยันข้อมูลที่ ดร. ไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ รองกงสุลใหญ่ฝ่ายการพาณิชย์ เมืองเจนไน เคยให้ไว้ว่าร้านอาหารไทยในอินเดียต้องการวัตถุดิบเพื่อการปรุงอาหารจากประเทศไทยเป็นจำนวนมาก เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวญี่ปุ่น เครื่องแกง ผงปรุงรส น้ำปลา ตะไคร้ ใบมะกรูด ฯลฯ

ไม่รู้ว่าวัตถุดิบเหล่านี้อยู่ในรายการสินค้า ๘๒ รายการที่ปลอดภาษีนำเข้าตามเงื่อนไข FTA ไทย-อินเดียที่ทำด้วยกันตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๗ และ ๑ มกราคม ๒๕๕๓ หรือเปล่า

พนักงานที่นี่คล่องมาก อาหารทุกเมนูเสิร์ฟเร็วเมื่อเทียบกับหลายร้านที่พวกเราเคยไปอุดหนุน แสดงว่าที่นี่มักมีลูกค้ามาอุดหนุนอย่างเนืองแน่นและสม่ำเสมอ

ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ได้บรรยายเรื่องเงื่อนไข FTA ไทย-อินเดียที่เริ่มตั้งแต่ ๑ กันยายน ๒๕๔๗ ให้ฟังมาแล้วที่สถานทูต เรื่องนี้มีเงื่อนไขของเฟสการลดภาษีนำเข้าทีละปี เมื่อครบเวลา ๓ ปีที่ทำสัญญากัน สินค้าภายใต้กรอบที่ทำสัญญากันก็จะปลอดภาษีนำเข้า ปีแรกที่เริ่มนับจาก ๑ กันยายน ๒๕๔๗ ลดภาษี ๕๐% ปีถัดมาลดรวมเป็น ๗๕% ครบ ๓ ปีก็เป็นฟรีแท๊กซ์ และเป็นเรื่องฟรีเฉพาะภาษีศุลกากร

ท่านทูตพลเดชเคยให้ข้อมูลว่า สินค้าที่ไม่อยู่ใน ๘๒ รายการที่ตกลงไว้ ต้องจ่ายภาษีนำเข้าในอัตราไม่เกิน ๑๒%  ตรงนี้ฉันคิดว่าคงเป็นภาษีศุลกากรอย่างเดียวเท่านั้น  เพราะอินเดียยังมีมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรอีกอย่างน้อย ๗ มาตรการที่เขาควบคุมระบบเศรษฐกิจของเขา่เกี่ยวกับการนำเข้าสินค้า

มาตรการเหล่านี้มีทั้งเรื่องของการควบคุมปริมาณนำเข้าหลายรูปแบบ การควบคุมราคา การจ่ายภาษีหรือมูลค่าสินค้าล่วงหน้า วงเงินค้ำประกัน สิทธินำเข้าเฉพาะ ข้อห้ามการนำเข้า  กฎระเบียบพิเศษที่กำหนดคุณลักษณะของสินค้า ค่าธรรมเนียม ฯลฯ

ถ้าวัตถุดิบอาหารในรายการข้างบนไม่อยู่ใน ๘๒ รายการ ต้นทุนวัตถุดิบอาหารที่ต้องแบกไว้น่าจะสูงกว่าที่บ้านเราเยอะเลย ไม่รู้มาตรการยุบยับ ๗ มุมมีผลอะไรที่ทำให้ต้นทุนสูงบ้าง

แต่แค่ภาษีศุลกากรที่ต้องจ่ายรวมถึงโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องราคาอาหารไทยก็น่าจะสูงพอสมควรสำหรับคนอินเดีย แม้ว่าจะเป็นคนชั้นกลางก็เหอะ

ฉันเห็นด้วยที่ท่านทูตกล่าวว่าอินเดียมีอะไรที่น่าเรียนรู้อีกมาก ในเรื่องการค้าแค่เรื่องนี้เรื่องเดียวก็มีอะไรน่าสนใจแล้ว

มากินอาหารร้านนี้แล้วแปลกใจที่มีหมู เคยได้ยินแต่ว่าคนฮินดูนิยมกินเนื้อไก่ ปลา แกะ แพะ กินวัวน้อย ไม่มีความรู้เลยว่าคนฮินดูกินหมูหรือเปล่า  ถ้าเขากินก็ได้คำตอบละว่า บรรดาหมูที่เคยเห็นเกลื่อนถนนที่เมืองชัยปุระ สุดท้ายหายไปไหน

คนในภาคธุรกิจเคยบอกว่า ผัดไทย แกงเขียวหวาน ต้มยำกุ้ง เป็นอาหารเมนูฮิตที่คนอินเดียชอบ อย่างนี้ก็ไม่ต่างจากคนชาติอื่นที่ชอบอาหารไทยเนอะ

๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓

« « Prev : เกี่ยวไปแล้วนะพี่ยา

Next : นมัสเตอินเดีย » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 4 มกราคม 2011 เวลา 17:40

    กลิ่นกระเพราโชยฉิวซะน้ำลา่ยสอมาเลยค่ะพี่ตา รู้สึกว่าอินเดียจะบูชากระเพราด้วยหรือเปล่าคะ เห็นว่าเป็นปางหนึ่งของพระแม่อุมา(มั้ง)น่ะ่ค่ะ

  • #2 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 4 มกราคม 2011 เวลา 23:39

    บูชาก็ส่วนบูชา คนที่ไม่ใช่ฮินดูนำมากินได้ คนฮินดูเองเมื่อรู้ว่าไม่ใช่ฮินดู เวลาไปขอเด็ดจากต้นมาทำอาหารเขาก็ใจดีให้ค่ะ

  • #3 pa_daeng ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 มกราคม 2011 เวลา 23:29

    อยากกืน ทับทิมกรอบ อ่ะค่ะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.090974092483521 sec
Sidebar: 0.16848087310791 sec