สนใจหน่อยก็มองออก

อ่าน: 1246

ย้อนนึกภาพวันแรกที่มาถึงอินเดีย แล้วห็นผู้คนมากมายพากันเดินทาง  แล้วบอกตัวเองว่า ต่อไปถ้าเห็นคนบนท้องถนนเดินทางด้วยเกวียนเทียมวัวเล่มเก่าคร่ำคร่าเป็นครอบครัวหรือรถบรรทุกรับจ้างที่แออัดยัดเยียดไปด้วยผู้คนทั้งหมู่บ้านละก็นั่นแหละเป็นภาพหนึ่งของการอพยพเพื่อหาที่ทำกินใหม่ของคนอินเดียเขาได้ด้วยละ

ปัญหาการขาดน้ำทำการเกษตรในช่วงที่เกิดภัยแล้งอย่างหนักชักนำให้ชายอินเดียฆ่าตัวตายด้วย  และจำนวนต่อวันสูงถึง ๓-๘ ราย นับว่าเยอะทีเดียว

เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดในอินเดียไม่นาน เกิดจากการที่เกษตรกรตกอยู่ภายใต้นายทุนใหญ่เรื่องของเมล็ดพันธุ์ที่หลงหันมาซื้อไปปลูกแล้วทำให้ตัวเองสูญเสียเมล็ดพันธุ์ที่เป็นของท้องถิ่น ตกเป็นหนี้จนพาตัวไม่รอด เพราะยิ่งพึ่งยิ่งจน

การฆ่าตัวตายนี้สะท้อนถึงการ “ล่มสลาย” ของภาคเกษตรของอินเดียที่เกษตรกร “หมดสภาพ” ในการพึ่งตนเอง มีชีวิตอยู่อย่างไร้ศักดิ์ศรี ได้ฟังแล้วฉันภาวนาในใจขออย่าให้เกษตรกรไทยเอาอย่างเลยนะเรื่องทำร้ายตัวเองนี้ ขอให้ใช้เขาเป็นครูเหอะ

เขาว่าตอนนี้ในบางพื้นที่ของอินเดียมีองค์กรเข้าไปสนับสนุนการจัดการปัญหาน้ำในพื้นที่แล้งน้ำบ้างแล้ว องค์กรนี้ชื่อว่า องค์การกองทุนพื้นที่รับน้ำ (Watershed Organization Trust: WOTR) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร

ภัยแล้งก็กระทบถึงคนหนุ่มที่อยู่ในเมืองเหล่านี้ผ่านน้ำมันที่ใช้ทำอาหารและเชื้อเพลิงยานยนต์

เป้าหมายที่เข้าไปหนุนอยู่ตรงที่ช่วยออกแบบการปรับพื้นที่ให้สามารถใช้น้ำฝนปริมาณน้อยนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยหลัก “ตรงไหนที่น้ำฝนวิ่ง เราจะทำให้มันเดิน ตรงไหนที่มันเดิน เราจะทำให้มันคลาน ตรงไหนที่มันคลาน เราก็จะทำให้มันซึมลงสู่ผืนดิน”

ช่วยแบบร่วมกันทำ ไม่มีค่าจ้างให้กองทุน ชาวบ้านลงมือขุดดิน ขนย้ายดิน และปลูกกล้าไม้ไปตามแนวสันเขาเฉลี่ยห้าวันต่อคนต่อสัปดาห์ด้วยตนเองและได้รับค่าจ้างร้อยละ ๘๐ ของชั่วโมงที่ทั้งครอบครัวอุทิศแรงงานเข้ามาทำจากกองทุน

เขาว่าที่แก้ปัญหาด้วยวิธีนี้ได้ผลเจ๋งกว่าการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่และมาตรการควบคุมการขุดบ่อน้ำบาดาลแบบสะเปะสะปะที่รัฐเคยทำ เพราะก่อให้เกิดความพยายามของประชาชนระดับรากหญ้าในการบริหารจัดการน้ำกันเองในท้องถิ่นอย่างสมเหตุสมผล รอบคอบและมีความยั่งยืนกว่า

ชาวบ้านตัดต้นไม้น้อยลง ปลูกพืชคลุมดินมากขึ้น เกิดฝายทดน้ำและแนวคันดินเบี่ยงทางน้ำและชะลอน้ำฝนที่ไหลลงมาตามลาดเขาที่เป็นระบบและต่อเนื่อง พื้นดินดูดซับความชุ่มชื้นได้มากขึ้น ที่ราบขั้นบันไดและแปลงพืชพันธุ์ใหม่ๆช่วยบรรเทาปัญหาการกัดเซาะหน้าดินอันอุดมไปด้วยสารอาหาร แล้วยังช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้ด้วย

แดง-ร้านขายยา  เขียว-คลีนิกหมอ หมออินเดียต้องตรวจคนทุกวรรณะ คนเรียนหมอต้องตั้งใจที่จะช่วยคนมากๆจึงตัดสินใจเรียน

ฉันขอคารวะวิธีคิดของผู้บุกเบิกและก่อตั้งองค์การกองทุนพื้นที่รับน้ำ “คริสปีโน โลโบ” และ แพทย์หญิงมาร์เชลลา ดีซูซาที่ได้ใช้มิติสุขภาพองค์รวมเข้าไปช่วยชาวบ้านไว้ ณ ที่นี้ด้วยคน

ข้อคิดของทั้ง ๒ ท่านเรื่อง “มิติทางอารมณ์มีความสำคัญต่องานพัฒนาพื้นที่รับน้ำ” นี่ก็เจ๋ง เคาะกะโหลกเรื่องการสร้างสันติสุขในใจคนได้ด้วยนะเออ  “ถ้าชาวบ้านสามารถปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพดินได้ คุณจะเริ่มมองเห็นและสัมผัสได้ว่าพวกเขามองตัวเองต่างไปจากเดิม เมื่อผืนดินกลับกลายเป็นความหวังให้พวกเขาได้อีกครั้ง”

เมื่อฟังว่าอินเดียลงทุนไปกับเรื่องแก้ปัญหาน้ำนี้้ราวปีละ ๕๐๐ ดอลล่าร์สหรัฐ ก็อดนึกถึงบ้านเราไม่ได้ จนถึงวันนี้ไม่รู้เราลงทุนกับการแก้ปัญหาน้ำเพื่อนาคตอย่างไร

มีข้อเตือนสติหนึ่งที่ฟังแล้วฉันว่ามีค่าและสอนใจกับการทำงานกับผู้คนได้ทุกเรื่อง จึงเก็บตกมาบันทึกไว้กันลืมหน่อย

แผนที่ landforms ของอนุทวีปอินเดีย (ขอบคุณภาพจากเว็บไซด์)

“ถ้าพยายามแล้วไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้และไม่ยั่งยืน ให้หันมามองดูว่ามุ่งเน้นหรือทุ่มเทให้กับเทคนิคมากเกินไปหรือเปล่า ให้ความสนใจกับการจัดการพลวัตทางสังคมที่ซับซ้อนของชุมชนน้อยเกินไปหรือเปล่า ความร่วมไม้ร่วมมืออย่างแข็งขันของคนส่วนใหญ่หายไปหรือเปล่า ไม่มีโครงการหรือความพยายามใดจะเห็นผลเป็นรูปธรรมได้หากความพยายามที่ทำเป็นอยู่ในทิศทางเหล่านี้”

๘ สิงหาคม ๘๕๕๓

« « Prev : ทำไมไม่เห็นเลยละ

Next : มีอิทธิพลขนาดนี้เลยรึ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "สนใจหน่อยก็มองออก"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.026003122329712 sec
Sidebar: 0.12192988395691 sec