ตามรอยมองโกล

อ่าน: 1635

ฉันเพิ่งรู้ว่าการที่คนหลายศาสนาในอินเดียสามารถอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในยุคที่ผู้นำสูงสุดของแผ่นดินเป็นมุสลิมนั้น เกิดจากนโยบายทางศาสนาที่พระเจ้าอักบาร์เริ่มไว้  นโยบายนี้ทำใ้ห้ฮินดูในยุคก่อนรัชกาลพระเจ้าออรังเซบอยู่ร่วมกับมุสลิมได้อย่างสงบสุข

ที่รัชกาลพระเจ้าออกรังเซบกลายเป็นจุดเริ่มแห่งความขัดแย้งในสังคมอินเดียจนบานปลายกลายเป็นสงครามศาสนาเพราะความเป็นผู้เคร่งครัดต่อหลักศาสนามากทำให้พระองค์ทรงตัดสินใจยกเลิกนโยบายทางศาสนาเดิม

ทรงคิดว่าการให้ผลประโยชน์แก่ชาวมุสลิมชั้นปกครองจะสร้างความจงรักภักดีจากชนชั้นปกครองชาวมุสลิมต่อพระองค์ที่มั่นคงมั๊ง พระองค์จึงไม่ทรงโปรดพวกฮินดู และไม่ทรงโปรดที่จะเห็นฮินดูมีอำนาจและมั่งคั่งยิ่งขึ้น

ทางเดินที่เห็นทอดยาวไปส่ตัวอาคารทัชมาฮาลได้เลย

ระหว่างปี พ.ศ. ๒๒๐๑ - ๒๒๕๐ ( ค.ศ. ๑๖๕๘ - ๑๗๐๗) ทรงเริ่มการเก็บ “ภาษีจิสยา”จากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม ห้ามชาวฮินดูสร้างโบสถ์ พยายามให้ชาวมุสลิมเข้าไปทำหน้าที่การงานและเป็นข้าราชการแทนชาวฮินดูที่ได้รับการชุปเลี้ยงจากพระบิดาของพระองค์ ขยายอาณาเขตบังคับเพื่อให้แผ่นดินอินเดียทั้งหมดตกอยู่ในอำนาจของราชวงศ์โมกุล

ความแตกแยกและความเหลื่อมล้ำในหมู่ประชาชนในอินเดียอย่างนี้เกิดขึ้นพร้อมๆไปกับการก่อจราจล มีกลุ่มกบฏเกิดขึ้น และปราบปรามไม่สำเร็จ  ซึ่งนำสู่การแตกออกเป็นส่วนๆของอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ไพศาลอย่างอินเดียภายในเวลาไม่กี่สิบปีหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าออรังเซบ สะท้อนให้คิดเรื่องเหตุการณ์ในบ้านเราช่วงนี้อยู่ไม่เบาในหัวฉัน

ในขณะที่มีอาณาจักรต่างๆเกิดขึ้นมากมายทั่วอินเดียแล้วใน ปี พ.ศ. ๒๒๙๓ ดินแดนของจักรวรรดิมุสลิมในอินเดียก็หดแคบลงคงเหลืออยู่ก็เพียงรอบกรุงเดลีเท่านั้น ก็เป็นอะไรที่ฉันว่ามันสะท้อนบทเรียนเรื่องในภาคใต้บ้านเราอยู่เหมือนกันนะ

บริเวณนี้มีคนบอกว่าสร้างไว้ให้ทำพิธีละหมาด

ความเป็นนักรบและมุสลิมที่เคร่งครัดมากของพระเจ้าออรังเซบ ทำให้พระองค์ทรงปลุกระดมมุสลิมให้รวมตัวกันทำลายโรงเรียนและวัดของฮินดู ทรงส่งเสริมแต่อิสลามนิกายซันนี (Sunni)  ปลดขุนนางและข้าราชการเปอร์เซียในวังออกเพราะพวกเขาอยู่ในนิกายชิอาส (Shias) ก็ทำให้ฉันเข้าใจและไม่เข้าใจวิธีคิดของมุสลิมที่เคร่งศาสนาเช่นกัน

ต้นตระกูลราชวงศ์โมกุลมีเชื้อชาติเติร์ก-มองโกล มีศักดิ์เป็นหลานของเจงกิสข่าน จักรพรรดิแห่งมองโกล  เมื่อปกครองอินเดียแล้ว ระยะหนึ่งก็เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามตามบิดา  การรุกรบเข้ามายังอินเดียนี้  มองโกลต้องโค่นจักรวรรดิมุสลิมด้วยกันเองแต่คนละเชื้อสาย

หลังจากชาวอิสลามมองโกลเข้ายึดครองแคว้นปัญจาบและอินเดียเหนือในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐  ราชวงศ์โมกุล (Moghal) ก็ได้ถูกสถาปนาขึ้นปกครองอินเดียเหนือโดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครเดลี ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๐๖๙ เป็นต้นมา

มีลัทธิความเชื่อใหม่ที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานความเชื่อของศาสนาสามศาสนาของอินเดียเหนือคือศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ฮินดูและศาสนาอิสลาม กำเนิดขึ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๑๒ - ๒๒๕๑  โดยผู้สืบทอดราชวงศ์โมกุลยังคงสืบทอดการนับถือศาสนาอิสลามต่อๆกันมาในทุกรุ่น

ที่จริงคำว่า โมกุล มาจากคำว่า มองโกล เป็นชื่อเรียกชนเผ่าผิวเหลืองซึ่งปัจจุบันคือชาวเอเชียตะวันออก ดังนั้น จีน เกาหลี มองโกเลีย ญี่ปุ่น เวียดนาม ลาว เขมร ไทย พม่า จึงจัดว่าเป็นเผ่ามองโกลเช่นกัน

บริเวณป้อมแห่งนี้ เดี๋ยวนี้เป็นเขตห้ามเข้า

เรื่องราวที่ฟังมานี้น่าสนใจว่าความเป็นคนเคร่งศาสนาหรือเปล่าที่ทำให้เกิดเรื่องนี้  ในยุคของพระเจ้าออรังเซบเกิดสงครามศาสนาขนาดใหญ่ขึ้นอย่างน้อย ๒ ครั้ง ครั้งสำคัญที่สุดคือการรบระหว่างกับพระเจ้าศิวจี กษัตริย์ฮินดู แห่งแคว้นมหาราษฎร์ภาคใต้ ซึ่งทำให้ต่างเสียไพร่พลเป็นจำนวนมาก ผลการรบครั้งนี้พระเจ้าออรังเซบเป็นผู้ชนะ มีสงครามระหว่างชาวซิกซ์กับอิสลามเกิดขึ้นด้วย แล้วก็มีเหตุการณ์ที่อินเดียขาดสัมพันธไมตรีกับอิหร่านในรัชกาลนี้  แถมด้วยมีเรื่องการต่อต้านราชวงศ์โมกุลที่เกิดขึ้นจากสมาคมมาราธาของพวกฮินดูที่รวมตัวกับพวกราชพุทธและพวกซิกอีก

และเหตุการณ์เหล่านี้แหละที่ช่วยให้อังกฤษเห็นช่องโหว่ จนพาตัวสามารถเข้าครอบครองอินเดียได้ทีละน้อยๆจนอินเดียตกเป็นอาณานิคมในที่สุด เรื่องอังกฤษกับอินเดียนี่ก็สะท้อนบทเรียนให้บ้านเราอยู่เหมือนกันนะเออ

๗ สิงหาคม ๒๕๕๓

« « Prev : นอกจารีตอย่างนี้…ดีมั๊ย

Next : โชคดีหละ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ตามรอยมองโกล"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.29567718505859 sec
Sidebar: 2.1608099937439 sec