ถึงเมืองอัครา

อ่าน: 1733

จากเมือง FARIDABAD ไปยังเมืองอัครา ภาพในสองข้างทางชวนให้ทำความเข้าใจคนอินเดียไม่น้อย ชีวิตที่เห็นในเมืองหลวงอย่างเดลี โกลกาตาพอมาเห็นที่นี่ก็เป็นอีกแบบ จากเดลีมาถึงชนบทอย่าง FARIDABAD ชีวิตผู้คนก็มีมุมต่างไป

ริมทางในเดลีเห็นต้นไม้เขียวครึ้ม แต่ริมทางเมือง FARIDABAD นี้เห็นดินเห็นทรายพร้อมความโล่งหรือไม่ก็ตึกแถวอย่างที่เห็น

หลังจากเข้าห้องน้ำกันเรียบร้อย รถก็นำพาเราไปจนถึงเมืองอัครา เมืองนี้เป็นเมืองชนบทที่ดูแล้วไม่น่าเชื่อว่ามีมรดกโลกตั้งหลายแห่งอยู่ ทำให้นึกสงสัยว่าคุณสมบัติของความเป็นมรดกโลกของที่นี่คืออย่างไรเหมือนเมืองเก่าอยุธยาของบ้านเรามั๊ย

พวกเราไม่ได้มาเพื่อท่องเที่ยวแต่ตามรอยวัฒนธรรมเพื่อทำความเข้าใจวิธีคิดวิธีอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีหลากหลายวัฒนธรรม สถานที่ประวัติศาสตร์ของอินเดีย ทัชมาฮาล ป้อมอัครา เหล่านี้เป็นสถานที่ซึ่งเชื่อมโยงให้เข้าใจการเปลี่ยนผ่านของสังคมอินเดียทั้งนั้น

ถนนหนทางเชื่อมเมืองหลวง ใช้ช่องทางเดินรถเป็นอย่างนี้ รถอย่างนี้

เมื่อรถพาพวกเราเข้าไปถึงเขตเมืองอัครา ฉันไม่ใคร่รู้สึกเลยว่าเมืองนี้เป็นเมืองฝุ่น ความหนาแน่นของเขตเมืองที่ได้เห็นคล้ายๆตลาดเมืองบุรีรัมย์ ต่างกันเพียงความหนาแน่นบนท้องถนนอะไรอย่างนั้นแหละ

สองข้างทางแปลกเปลี่ยนไปเมื่อรถวิ่งเข้าชนบท รู้ว่าเป็นชนบทจากรถลากพ่วงอย่างที่เห็น

สถานที่ซึ่งรถพาเราแวะพักกินมื้อเที่ยงเป็นที่ซึ่งคืนนี้เราจะอาศัยนอน โรงแรมนี้ไม่หรูเท่าในเดลี ไม่มีประตูเอ็กซเรย์ให้ต้องเดินผ่าน มียามคอยเฝ้าประตูใส่เสื้อสีจัดจ้านตัดผิวน่าดูเชียว อาหารมื้อเที่ยงของวันนี้เหมือนที่เคยกิน มีเนื้อสัตว์ให้กินด้วย อิ่มกันแล้วก็เตรียมตัวไปเยี่ยมถิ่นมรดกโลกกัน

รถบรรทุกเป็นหลักฐานเดียว ที่พอจะบอกได้ว่าเมือง FARIDABAD แห่งนี้ มีเศรษฐกิจการค้าที่เดินสะพัดซ่อนอยู่

สภาพเมืองที่เห็นเหมือนชนบทของเมือง FARIDABAD นั้นดูแล้วไม่น่าเชื่อเลยว่ามีเงินสะพัด แต่ถ้าเคยเห็นสภาพเมืองสุดเขตแดนของบ้านเราจะเชื่อได้เลยว่าสิ่งที่เห็นมันหลอกตา

หลักฐานยืนยันว่าคนอินเดียเป็นคนช่างขาย อยู่บนป้ายร้านและต้นไม้ริมถนนเข้าเมืองอัครา

พูดถึงมรดกโลก อินเดียมีประวัติศาสตร์ถึง ๕,๐๐๐ ปีจึงทำให้มีมรดกโลกอยู่ถึง ๒๗ แห่ง เป็นมรดกธรรมชาติ ๕ แห่ง และมรดกวัฒนธรรม ๒๒ แห่ง  คนเลือกมรดกโลกคือยูเนสโก เขาจะเลือกสิ่งที่มีคุณค่าควรแก่การปกป้องให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคตแล้วขึ้นทะเบียนให้ เริ่มทำมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕

ความเป็นคนใจกว้างเรื่องศาสนาและการปกครองมาตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์แล้วของอินเดียมีสิ่งปลูกสร้างพวกนี้แหละเป็นหลักฐานยืนยัน ความรุ่งเรืองที่เปลี่ยนสมัยยืนยันว่ากษัตริย์ผู้ก่อกำเนิดโบราณสถานกลุ่มนี้มีทั้งผู้เป็นเอกอัครนูปถัมภกในศาสนาฮินดู เชน พุทธ ฮินดู และคริสต์

ทิวทัศน์ระหว่างแวะกินมื้อเที่ยง สบายตาและเต็มไปด้วยสีสัน

ขอวกมาเล่าเรื่องมะม่วงอินเดียอีกหน่อย ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ เมื่อราชวงศ์โมกุลปกครองอินเดีย มะม่วงได้รับการยกย่องเป็นต้นไม้ในพระบรมราชาอุปถัมภ์และเป็นผลไม้ที่สำคัญที่สุดในสมัยประวัติศาสตร์

กษัตริย์ที่หลงใหลมะม่วงที่สุด คือ พระเจ้าอัคบาร์มหาราช พระองค์ถึงกับให้ปลูกมะม่วงพันธุ์ลัคบาซึ่งถือว่าดีที่สุดในสมัยนั้นไว้ในสวนใหญ่ใกล้ดาระภังค์ เป็นจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ ต้นในพ.ศ. ๒๐๐๙- ๒๑๔๘ (ค.ศ. ๑๕๕๖-๑๖๐๕)

ช่วงเวลาที่เริ่มปลูกมะม่วงของอินเดียยุคนี้ตรงกับเวลาที่พระบรมธาตุเจ้าศรีจอมทองได้รับการบูรณะขึ้นในวัดจอมทอง เมืองเชียงใหม่ วัดพระธาตุศรีจอมทองนี้มีเรื่องราวเกี่ยวพันด้านวัฒนธรรมกับอินเดียด้วยนะ รู้กันหรือเปล่า การปลูกสิ้นสุดลงตรงกับปีที่สมเด็จพระนเรศวรของเราเสด็จสวรรคต

๗ สิงหาคม ๒๕๕๓

« « Prev : BIMSTEC เอื้อให้

Next : จากเชียงใหม่สู่ทัชมาฮาล » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ถึงเมืองอัครา"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.089015960693359 sec
Sidebar: 0.51132416725159 sec