อคติเป็นรากเหง้า?????

อ่าน: 1413

เรื่องราวของมรดกโลกอย่างป้อมอัครานี่สอนใจได้ไม่เบาเลยกับเรื่อง “อคติ” และ “การก่อความไม่สงบ”

ความเป็นเอกภาพของอินเดียเคยเกิดขึ้นในหลายสมัยเหมือนกัน แต่ว่าแต่ละสมัยก็เป็นเพียงแค่ช่วงอายุคนที่สามารถ

ความสามารถเหล่านี้ของแต่ละรัฐบาลในตอนนั้นน่าเรียนรู้ไม่เบาเหมือนกัน  สมัยเหล่านี้ได้แก่ รัชสมัยพระเจ้าอโศก (Ashoka era) (๔๑ ปี) รัชสมัยพระเจ้าออรังเซบ (Aurangzeb Alamgir era) (๔๙ ปี) และสมัยอังกฤษครองอินเดีย (British Raj) ( ๘๙ ปี)

น่าสนใจตรงที่ว่าภายใต้ความเป็นเอกภาพของรัฐบาลนั้น สันติในใจคนอินเดียเป็นอย่างไร มีอะไรที่แตกต่างและเหมือนมหาอำนาจอย่างจีนบ้าง ในความเป็น”อนุทวีปของอินเดีย” ที่มีอิสรภาพทางภูมิศาสตร์และการปกครองแยกส่วนที่เห็นๆอยู่อย่างชัดเจน มีผลอย่างไรต่อสังคม โดยเฉพาะระบบชนชั้นวรรณะ ความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรม อันเป็นที่มาของความหลากหลายที่อินเดียมีและเป็นอยู่ในยุคนั้น

ถนนเลียบเข้าไปสู่บริเวนวังฟาเตห์ปุระ

ความไม่เป็น “เอกภาพของอินเดีย” ที่มีมานานนับศตวรรษ มีอะไรบ้างที่ส่งเสริมให้เกิดความวุ่นวายต่างๆทั้งการแบ่งแยกทางสังคม ลัทธิก่อการร้าย และสงครามศาสนา (Jihad) รวมไปถึงการจัดการกับการเข้ามาสนับสนุนโดยองค์กรต่างชาติและการปฏิบัติภารกิจโดยสำนักข่าวกรองต่างชาติด้วยนั้นสิ่งเหล่านี้มีอะไรที่บ่อนทำลายประเทศอินเดียบ้าง

มีเรื่องชวนสนใจขึ้นมาอีกเมื่อได้ยินเรื่องการก่อการร้าย ผู้รู้เล่าว่ามีคนวิเคราะห์ไว้แล้วนำมาเล่าต่อว่า ประเทศเพื่อนบ้านของอินเดีย ทั้งบังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน มัลดีฟส์และปากีสถานรับรู้ีถึงความต้องการเป็นมหาีอำนาจของอินเดียที่พยายามจะเลียนแบบอเมริกา ในแบบต้องการจะควบคุมโลกทั้งใบให้เป็นไปตามความคิดและจินตนาการของตน

เมื่ออินเดียต้องรับมือหรือเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านของตน ความคิดว่าตนเองเป็นประเทศมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชียใต้และถือสิทธิมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจว่าพื้นที่ใดควรจะเป็นอิสระหรือก้าวก่ายเอกราชของประเทศเพื่อนบ้านจะปรากฎให้เห็นแฝงอยู่ในบทบาทเสมอ

บรรยากาศสบายๆของการใช้ชีวิตด้วยกันในรถบัสในระหว่างที่พวกเราเดินทางไปด้วยกัน

เมื่อเข้าไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ความวุ่นวายในประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ อินเดียจะถูกมองเป็นผู้มีอิทธิพลไปโดยปริยายโดยเฉพาะในปากีสถาน ปากีสถานจึงไม่ยอมรับในอำนาจของอินเดียที่เข้าไปแบ่งแยกประเทศปากีสถาน และไม่เต็มใจในการเข้ามาครอบครองสิทธิเหนือรัฐแคชเมียร์

ดูเหมือนว่าวันนี้ “เอกภาพแห่งอินเดีย” ที่บรรพบุรุษอินเดียเคยต่อสู้กอบกู้มาจากชาวอังกฤษ กำลังถูกแทนที่ด้วยกระบวนการ “ความหลากหลายของอินเดีย” เหมือนอินเดียกำลังย้อนยุคไปที่ศตวรรษที่ ๙ และ ๑๐ ซึ่งที่ระบบการปกครองมีหลากหลาย มีความแตกแยกทางภูมิศาสตร์และวัฒธรรมอีกรอบหรือเปล่าก็ไม่รู้

ชอบใจกับป้ายเล็กๆที่เห็นนี้ว่า ชัดเจน ตรงไปตรงมาดี

แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์อินเดียก็บันทึกตัวเองไว้ว่า อินเดียไม่เคยมีเอกภาพมายาวนานกว่า ๓,๐๐๐ ปี แล้ว และบรรพบุรุษของชาวอินเดียอย่างพระเจ้าอักบาร์ก็ได้แสดงให้เห็นว่าความไม่เป็นเอกภาพนั้น สามารถสร้่างความเจริญได้ ขอเพียงแต่ผู้นำมีความสามารถ และมองการณ์ไกล  สามารถ “ละอคติ” และ “ใส่ใจกับสันติ” อะไรๆที่แย่ๆก็ได้่ความเจริญมาแทนที่ จนเป็นสมบัติของชนขาติที่อยู่คู่โลกจนได้มาเห็นกับตาในคราวนี้

เมื่อฟังคำเล่าต่อว่าความวุ่นวายจากการก่อการร้ายในประเทศส่วนหนึ่งมาจากการแสดงความมีอำนาจของอินเดีย ก็รู้สึกเสียดายที่พวกเราไม่ได้ไปแคชเมียร์อย่างที่ตั้งใจไว้แต่แรก จะได้เรียนรู้เรื่อง “อคติ” ได้มากมุมขึ้น

สินค้าในร้านของที่ระลึกริมทาง หน้าตาสวยดี

ขอบคุณป้อมอัคราและพระราชวังฟาเตห์ปุระที่มีเรื่องราวดีๆให้ได้เรียนรู้ภาวะผู้นำมากมาย

ดูวังกันพอหอมปากหอมคอแล้ว รถก็นำพวกเราเดินทางต่อ มีการแวะพักให้ปลดปล่อยอิสระให้ร่างกายตามแต่ปัญหาเช่นเคย และก็ตามเคยที่ตรงจุดแวะพักจะมีสินค้าวางขาย คราวนี้เป็นสินค้าจำพวกส่าหรี หมวกอินเดีย สิ่งของทำจากโลหะ  เพื่อนผู้หญิง ๒ คนได้ส่าหรีติดตัวมาคนละชิ้น  เพื่อนมุสลิมได้หมวกอินเดียกลับไปอวดคนที่บ้าน ลุงเอกได้ขันทองเหลืองเสียงเพราะกลับบ้านหนึ่งใบ ต่างยิ้มสบายใจไปเลยที่ได้ของถูกใจ

ลุงเอกใส่หมวกอินเดียถ่ายรูปกับสาวอินเดีย

สบายเนื้อสบายตัว สบายกระเป๋ากันแล้วรถก็พาเดินทางต่อ

๘ สิงหาคม ๒๕๕๓

« « Prev : สมควรแล้วละ

Next : ผู้นำนั่นแหละทำให้ยุ่ง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "อคติเป็นรากเหง้า?????"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.027474880218506 sec
Sidebar: 0.1566150188446 sec