มหาวิทยาลัยสร้างชาติ

อ่าน: 1254

ก่อนที่จะเล่าเรื่องที่สถานทูตต่อ ขอย้อนมาเล่าเรื่องการแลกเปลี่ยนที่ IPCS เพิ่มอีกหน่อยเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของพวกเรา ๔ส.๒ ก่อนเริ่มการเรียนรู้ ประสบการณ์ที่โกลกาตาก็ถูกถอดบทเรียนนำมาใช้ซ้ำ เราขอตกลงกับเจ้าบ้านว่าขอให้ ๑-๒ คนในพวกเราเป็นล่ามช่วยแปล  และคนที่ได้รับมอบหมายจากพวกเราก็ไม่พ้นคุณเซี้ย อีกคนที่ช่วยพวกเราทำหน้าที่ล่ามก็เป็นพี่โจ และเมื่อพี่โจทำหน้าที่ไปสักระยะหนึ่ง ก็เปลี่ยนคิวมาเป็นคุณต้นไม้ (สุชาติ ชยางกูร)

การที่ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยในอินเดียมาเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคง มีเบื้องหลังที่น่าสนใจอยู่เหมือนกัน

ผู้รู้เล่าให้ฉันฟังว่า ก่อนที่อินเดียจะได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ สังคมในอินเดียแตกแยกโดยสิ้นเชิง มีการแตกคอ เป็นก๊กเป็นเหล่า เป็นฝักเป็นฝ่าย เป็นพวก การแตกคอกันเหล่านี้เป็นผลจากการแบ่งแยกแล้วปกครองของอังกฤษนะเอง ที่จริงวิธีนี้ไม่น่าได้ผลเพราะอินเดียมีสังคมแบ่งชนชั้น ต่างคนต่างอยู่อยู่แล้ว แล้วยังมีการแบ่งเป็นฮินดู มุสลิมอีก เวลามีเรื่องขัดแย้งกัน อังกฤษก็ลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และนี่เองที่ทำให้อังกฤษปกครองอินเดียได้นานถึง ๒๐๐ ปี

เรื่องนี้ไปเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยตรงที่ ผู้นำสมัยหนึ่งคิดว่าความแตกแยกคือปัญหาหลักของอินเดีย และต้องมีการแก้ไข เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ คิดไปคิดมาก็มาลงตัวที่ทำอย่างไรคนอินเดียจึงจะมีสำนึกชาตินิยม ความยากจนจะแก้ได้ด้วยการมีคนมีความรู้มาช่วยผลิต ความสามัคคีระหว่างคนแก้ได้ด้วยการมีจิตสำนึกที่ดีซึ่งจะได้จากศาสนา

สถาบันอุดมศึกษาจึงถูกมอบหมายหน้าที่มาตั้งแต่นั้นให้มีภารกิจ ๓ อย่าง สร้างชาติ ทำให้มีอาชีพเหมาะสม สร้างจิตสำนึก รู้อย่างนี้ฉันก็ไม่แปลกใจแล้วว่านักวิชาการที่ IPCS มารวมกลุ่มเพื่อทำงานที่เอื้อประโยชน์ของชาติได้อย่างไร

ฟังบรรยายด้วยภาษาต่างประเทศที่นี่อีกรอบ ฉันก็รู้จักตัวเองมากขึ้นในเรื่องความถนัดทางภาษา ไม่มีคนแปลก็ฟังได้อย่างหนึ่ง มีคนแปลก็ฟังได้อีกอย่างหนึ่ง  ได้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของการฟังว่า ๒ หูเรานี้ทำเรื่องแปลกๆบ่อยมากเมื่อทำงานร่วมกันกับสมองของเรา  ฟังคน ๓ คนแปลให้ฟัง กับคำแปลความที่ใช้ความรู้ของตัวเองแล้วเกิดคำถาม..จุด…จุด…จุด..กับตัวเองมากมาย

เป้าหมายอินเดียที่พวกเราจะไปดูงานที่จริงเป็นจัมมูร์แคชเมีย แต่ช่วงก่อนหน้าพวกเราจะมานั้นที่นั่นประกาศเคอร์ฟิว ท่านทูตจึงไม่สนับสนุนให้ไปดูงานกัน  แต่แม้จะไม่ได้ไปถึงที่เองก็ไม่เสียเที่ยว คนรู้เรื่องแคชเมียร์ลึกมากพอได้มาพูดให้ฟัง มีเรื่องของปากีสถานอีก เป็นชั่วโมงการดูงานที่เข้มข้นดี

อดีตทูตอิหร่านของอินเดียเล่าว่า เรื่องของจัมมูร์แคชเมียร์ที่เกิดความรุนแรงนั้น จุดเริ่มต้นมาจากความต่างด้านอัตลักษณ์ มีฝ่ายหนึ่งต้องการคงอัตลักษณ์ของตนไว้แล้วลงมือปกป้อง ทำให้เกิดข้อตกลงว่าใครที่นับถือฮินดูให้อยู่ที่จัมมูร์แคชเมียต่อไป ใครที่นับถือมุสลิมแล้วอยากไปอยู่ปากีสถานก็ให้ไป แล้วเมื่อแยกประเทศสำเร็จแล้ว อเมริกาก็เข้ามาแทรกแซงเป็นแบ็คปากีสถาน อินเดียก็มีสหภาพโซเวียตเป็นแบ็ค

เรื่องราวจากจัมมูร์แคชเมียร์ ทำให้คิดถึงคนปากีสถานในบ้านเรา ไม่รู้ว่าคนที่มีรากเหง้าไปจากปากีสถานแล้วใช้สัญชาติไทย ณ วันนี้มีอยู่เท่าไร แล้วก็นึกต่อไปว่าปัญหาของปักษ์ใต้บ้านเรามีมหาอำนาจมายุ่งหรือเปล่าเนอะค่ะ

๖ สิงหาคม ๒๕๕๓

« « Prev : อยากให้ลอง

Next : อยู่ร่วมในความหลากหลาย » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 ตุลาคม 2010 เวลา 23:32

    วันที่ 14 คุยกับ เพื่อนรัก บำรุง คะโยธา ที่ 4ส2 จะผ่านมาเยี่ยมพบปะพูดคุยด้วยว่าจะมาร่วมด้วยนะ บำรุงก็ยินดี เออ มาช่วยกันหน่อย มาวันนี้ได้รับภาระกิจ ว่า ผู้เชี่ยวชาญ JBIC 2 8นจะไปดูงานที่ดงหลวงในวันที่ 14 และวันที่ 15 ให้พาข้ามฝั่งไปสะหวันนะเขต เพื่อต่อวีซ่าด้วย เอ้า….ทำไมมาวันนี้ มีเวลาตั้งเยอะแยะไม่มา ทำไมต้องมาวันที่ 14 ด้วย.. ก็เป็นว่าต้องอยู่รับหน้าเสื่อ พา JBIC ไปดูงานในพื้นที่ที่พี่รับผิดชอบอยู่ครับ

    เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อ บำรุง คะโยธา พี่จะเขียนแนะนำบุคคลนี้ให้นะครับ

  • #2 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 ตุลาคม 2010 เวลา 21:49

    ว้า..พลาดแล้ว ไม่ได้ทำตามที่เสนอครับ ขออภัยครับ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.040333986282349 sec
Sidebar: 0.12774515151978 sec