อยู่ร่วมในความหลากหลาย

อ่าน: 1399

หลังจากอินเดียเป็นอิสระจากอังกฤษ การปรับตัวหลายเรื่องได้เกิดขึ้น เรื่องหนึ่งที่หนีไม่พ้นก็คือปรับไม่ให้ประเทศตนกลับไปสู่สถานภาพความไม่เป็นเอกราชอีกครั้ง ฉันเชื่อว่าคนอินเดียยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขมขื่นกับการตกเป็นอาณานิคมอยู่มากทีเดียว

ท่านทูตกรุณาเล่าให้ฟังว่า เมื่อได้รับเอกราชแล้ว หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ อินเดียครองตนแบบไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และเป็นผู้หนึ่งที่ก่อตั้ง NAM อเมริกามีความสัมพันธ์กับจีนและปากีสถาน อินเดียก็ใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียต เมื่อโซเวียตล่มสลายจึงปรับตัวหันมาใกล้ชิดโลกตะวันตกมากขึ้น  จนเมื่อปี ๒๕๓๔ ประสบวิกฤตเศรษฐกิจ อินเดียจึงเปิดประเทศมากขึ้นและใช้นโยบายการเมืองหลายทิศทาง (multidirectional diplomacy) เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

อยู่ตรงไหนก็คุยกันไป ชมกันไปได้เรื่อยๆ  นี่แหละ สสสส.รุ่น ๒ หละ

การดำเนินทิศทางของประเทศเพื่อให้อยู่รอดและอยู่ร่วมในโลกได้อย่างภูมิใจในตัวเอง ทำให้อินเดียติดอันดับกลุ่ม “ที่สุดในโลก” และ “มหาอำนาจ”อยู่หลายประการ ประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลก มหาอำนาจทางทหาร มหาอำนาจนิวเคลียร์ และมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ เหล่านี้อินเดียคว้ามาติดยศให้ตัวเองได้หมดแล้ว ผลลัพธ์ชั้นเลิศอย่างนี้จะเกิด วิสัยทัศน์การบริหารประเทศต้องชัดเจน นี่แหละที่ฉันว่าน่าอิจฉาอินเดียละ

ที่น่าอิจฉากว่าอีกก็คือ ค่านิยมที่เขาใช้นำประเทศ ยึดวิถีประชาธิปไตยบนหลักการที่ไม่ใช้ความรุนแรง  ให้ความเคารพต่อทุกศาสนา (secularism)  สนับสนุนสังคมเปิด อยู่ร่วมกันในความหลากหลาย (Unity in diversity) ของจริงเหล่านี้สัมผัสได้เมื่อมาเยือน เขายึดค่านิยมนี้นำประเทศให้ถึงฝั่งฝันจริงๆ ไม่โม้เอามันอย่างเดียว

เรื่องนิวเคลียร์ของอินเดียก็มีอะไรน่าสนใจ ขณะที่เมืองเรากำลังสนใจเรื่องนิวเคลียร์ในแง่พลังงาน อินเดียไปไกลหลายเรื่องแล้ว เขามีทั้งนิวเคลียร์ทางทหารและพลเรือน  หัวรบนิวเคลียร์ที่มีก็ไม่น้อยเลย ๕๐-๙๐ หัวรบ ทัพบก เรือ อากาศสามารถใช้หัวรบนิวเคลียร์ได้หมด มีขีปนาวุธอัคนี ขีปนาวุธปฐวี ขีปนาวุธสุริยาที่ชื่อน่ารักเชียวแต่พอไปติดหัวรบนิวเคลียร์เข้าให้…ฮือ…ฮือ…น่ากลัว

เศรษฐกิจอินเดียอยู่แถวหน้าของโลกตั้งแต่เปิดตัวเองเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจตลาดในปี ๒๕๓๔ จุดเปลี่ยนสำคัญคือ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ทำให้มีนักลงทุนต่างชาติในกิจการไฟฟ้า พลังงานและอุตสาหกรรมต่างๆที่นำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ

บรรยากาศที่ปราณีตอย่างนี้ ไม่ใคร่เห็นในอินเดียหรอก…ขอบอกไว้

ภายหลังปี ๒๕๔๗ เศรษฐกิจเติบโตสูงสุดเฉลี่ย ๘-๙ % และเมื่อปี ๒๕๕๑-๒๕๕๒ วิกฤตเศรษฐกิจโลกทำให้เขากระเทือนไม่มาก เขายังรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ได้ที่ ๖-๗ %

ฟังท่านทูตเล่าแล้ว ฉันว่าคนอินเดียนี่มุ่งมั่นใช้ฝีมือช่วยพัฒนาประเทศของเขามากเลย  ไม่น่าแปลกใจที่เมื่อพลิกโฉม  IT แล้ว ภายในไม่กี่ปีเขาก็สามารถทะยานขึ้นเป็นมหาอำนาจในด้านนี้

ฉันนึกขำตัวเองเวลาเดินไปตามแหล่งการค้า งงกับตัวเองที่เหลียวมองหา accessory และ Hardware (HW)  และงงที่ไม่ใคร่เห็นคนอินเดียตามร้านค้าใช้คอมพิวเตอร์เกลื่อนตาเหมือนบ้านเราเล๊ย

ลืมไปว่า IT มีองค์ประกอบ ๓ ส่วน - เครื่อง โปรแกรม และ คน  หายงงก็ตอนที่ท่านทูตเล่าเรื่องความเป็นมหาอำนาจทาง IT ให้ฟัง

เดินบ้านเราเพื่อหาซื้อ HW และ accessory ง่ายกว่าหาเข็มเย็บผ้าซะอีก  ได้มาแล้วไม่มีความหมายเลยหากไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้เรื่องโปรแกรม คนใช้เป็นไม่มี ไม่รู้ ไม่ชำนาญ

หายสงสัยแล้วว่าทำไมอินเดียเป็นมหาอำนาจทาง IT ได้ ก็เขามี ๒ อย่างที่สำคัญของ IT อยู่เยอะแยะไปหมด นั่น ก็คือ คนรู้ คนชำนาญ แถมยังชำนาญการคิดโปรแกรมซะอีกน่านนนเลย  คนอินเดียเก่งเขียนโปรแกรมค่ะ

ฝีมือของผู้นำชาย-หญิงที่เห็นในภาพขนาดไหน พิสูจน์ได้จากผลลัพธ์ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ปรากฏใช่หรือเปล่า

ท่านทูตเล่าว่า ที่เขาเก่งเขียนโปรแกรมก็เพราะเขาเรียนภาษาสันกฤต  ท่านเล่าว่าพื้นฐานของภาษานี้สามารถเชื่อมโยงไปสู่การเรียนคณิตศาสตรได้ง่าย มีจินตนาการได้เร็ว เสียดายที่บ้านเราสอนบาลี ไม่สอนสันสกฤตเนอะ

เพราะเขามีคนเก่งซอฟแวร์ เขาจึงเป็นแหล่งรวมศูนย์ของอุตสาหกรรมซอฟแวร์อันดับ ๔ ของโลก เห็นทุนคนของอินเดียหรือยังค่ะ

ในหมู่คนของเขาที่มีถึงพันล้านคน เขามีคนชั้นกลางอยู่ ๔๐๐ ล้านคน มีคนวัยทำงานอยู่ ๕๐%  เยอะมั๊ยค่ะ แถมยังมีคนอินเดียโพ้นทะเลอยู่อีกกว่า ๒๕ ล้านคน เห็นทุนมนุษย์ของเขาหรือยัง

ลองเทียบทุนมนุษย์บ้านเราแล้ว ฉันว่ายังไงๆเราก็ไม่ทันเขาหรอก คนบ้านเราทั้งประเทศมีเพียงแค่ ๑๐ กว่าเปอร์เซ็นต์เทียบกับคนชั้นกลางของเขาแล้วทิ้งห่างกันมากเกินไป  คนชั้นกลางมีน้อยกว่าอยู่แค่ไหนไม่ต้องพูดถึงเลย  แล้วยังมีแถมจิกตีกันไม่เลิกซ๊ากที

อมอะไรมาพูดก็ไม่เชื่อว่าคนที่จิกกัน ตีกัน มีฝันร่วมอยากช่วยนำไทยให้เป็นประเทศแถวหน้าของโลก อ้าว..เอ๊ะ…ไม่ใช่เหรอ

๖ สิงหาคม ๒๕๕๓

« « Prev : มหาวิทยาลัยสร้างชาติ

Next : ปรับตัวสู้โลก » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 ตุลาคม 2010 เวลา 9:07

    ทุนมนุษย์คือความสำคัญอันดับแรกนะคะ มีทุนมนุษย์แล้วอย่างอื่นก็จะตามมา

    ของประเทศเราการพัฒนาทุนมนุษย์มันเบ้ไม่ทันการณ์ แถมที่อุตส่าห์ส่งไปเรียนจากประเทศที่พัฒนาแล้วยังมัวมาทะเลาะกันว่า school of thought ของใครดีกว่ากัน …แทนที่จะให้อิสระกับความคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา เชื่อมั่นบ้างว่าคนอื่นก็คิดดีและทำดีเหมือนกัน….กลับนิยมให้อิสระทางกายไปไหนมาไหนสะดวกแต่จำกัดความคิด ใครคิดไม่เหมือนแม้แต่ใช้คำพูดที่แตกต่างก็ต้องควบคุม

    ประเทศที่น่าสนใจอีกประเทศในการให้ต่างวัฒนธรรมอยู่ร่วมอย่างสันติ คือแคนาดาค่ะพี่สาวตา ถือเป็นวาระแห่งชาติเขาเลย คือการมีสัปดาห์ชื่นชมวัฒนธรรมรากเหง้าของตัวเองและของคนอื่น ทั้งประเทศ…และมีกฎหมายเรื่องการไม่ละเมิดสิทธิคนอื่น รวมทั้งการทำตามกฎหมายเรื่องการอยู่ร่วมนี้ด้วย
    ทุกองค์กรเขาจะมีตำแหน่งที่ทำหน้าที่เป็น mediator ความขัดแย้ง ตั้งแต่เรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็ป้องกันก่อนแล้วค่ะ

  • #2 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 21 ตุลาคม 2010 เวลา 6:59

    ในอีกมุมหนึ่งของการทะเลาะเรื่อง school นั้นก็มีมุมบวกนะน้องสร้อย มุมนั้นก็เป็นมุมดีของคนไทยเรา นั่นคือความกตัญญูที่มีต่อครูบาอาจารย์ เพียงแต่การนำมาแสดงออกไม่เข้ากับกาละเทศะเท่านั้นเอง มันเลยเป็นเรื่อง เรื่องบวกๆอย่างนี้มันเลยนำพาไปสู่การเอาชนะกันเพื่อครู ความรักความกตัญญูที่บริสุทธิ์ที่เป็นความดีความงาม มันก็เลยไม่ให้ผลบวกอย่างที่มันเป็น น่าเสียดายค่ะ

    แคนาดามีอะไรซ่อนอยู่ในเรื่องการจัดการประชากรในสังคมพหุวัฒนธรรม มุมดีของเขานั้นมีตรงที่น้องสร้อยว่านั่นแหละคือ เราสัมผัสเรื่องการอยู่ร่วมอย่างสันติได้ แต่มีคลื่นใต้น้ำนะ อินเดียก็มีคลื่นใต้น้ำนี้ เรื่องของจัมมูร์แคชเมียร์คือปรากฏการณ์คลื่นใต้น้ำค่ะ

    ความคิดเรื่องการสร้าง mediator เริ่มแพร่หลายในเมืองไทยแล้วนะน้องสร้อย โดยเฉพาะวงการสาธารณสุขไทย ตั้งแต่มีการทำ HA และเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ก็เริ่มตื่นตัวและสร้าง mediator ขึ้นมา

    head และ subhead ward ร.พ.พี่ล้วนผ่านหลักสูตรนี้กันไปแล้ว และเวลานี้ก็อยู่ในช่วงรอให้ประสบการณ์สร้างเขาให้เชี่ยวชาญและเข้าใจบทบาทของตัวเองว่า บทบาทหลักคือ “ป้องกัน” ไม่ใช่ “ตามแก้” ความขัดแย้ง ซึ่งกว่าคนจะเข้าใจความสำคัญของการป้องกันคงอีกนานค่ะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.049543857574463 sec
Sidebar: 0.15848612785339 sec