คิดแยกส่วน….สร้างสันติไม่ได้

อ่าน: 1087

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ๒๕๕๓ ป้าแจ๋ อาจารย์จิราพร บุนนาค ได้เล่าเรื่องราวของสันติวิธีกับการแก้ปัญหาภาคใต้ให้พวกเรา ๔ส๒ ฟัง  ซึ่งฉันฟังว่าเป็นการเตรียมความพร้อมให้สมาชิก สสสส.๒ ก่อนพาลงไปเรียนภาคสนามในภาคใต้ที่นำไปใช้ได้กับการงานแห่งชีวิตด้วยค่ะ

ป้าแจ๋เริ่มต้นพูดถึงการเรียนรู้ความรู้สึก ความต้องการ อารมณ์ และความคิดของผู้คน ฉันฟังแล้วคุ้นๆค่ะว่านี่เป็นหลักเดียวกับ”จิตตปัญญา ศึกษา” นา เมื่อป้าแจ๋เล่าให้ฟังต่อว่า วิธีคิดสันติวิธีบอกยุทธศาสตร์ได้ แต่บอก “ทำอย่างไร” ไม่ได้  ฉันเห็นด้วยเลยหละ

ป้าแจ๋ออกปากชื่นชมนาวิกโยธิน (นย.) ภาคใต้ว่าเป็นหน่วยงานที่ทำงานแล้วประชาชนไว้เนื้อเชื่อใจมากที่สุด ด้วยการยึดหลักทำงานด้วยวินัยที่เคร่งครัด ซึ่งไม่สร้างปัญหาที่เป็นเงื่อนไขให้ประชาชนไม่สบายใจ

กฏเหล็กการปฏิบัติตัวเวลาเข้าถึงประชาชนที่สอดรับกันตั้งแต่ผู้บังคับบัญชาจากผบ.ลงไปถึงระดับล่าง เป็นการเคร่งครัดกับวิธีคิดในการทำงานที่ทำให้นย. ได้รับคำชมในวันนี้ที่ป้าแจ๋ยกตัวอย่างมาเล่า เช่น มาช่วยประชาชนไม่ได้มาทำลาย ต้องการผล “ได้หัวใจประชาชน” มากที่สุด ไม่ได้มาจับโจร อดทนต่อสถานการณ์กดดันทุกรูปแบบ เลือกข้างประชาชนมากกว่าเลือกทหาร

ป้าแจ๋เล่าต่อว่าเมื่อลงมือปฏิบัติหน่วยนี้มีความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานกับคนอื่น ไม่ก้าวล่วงคนอื่น รู้ว่าอะไรที่ตัวเองทำได้ ทำไม่ได้ รู้จักตัวเอง

ป้าแจ๋เล่าต่อว่า สันติวิธีไม่ได้หมายถึงการไม่ใช้กฎหมาย แต่หมายถึงการใช้กฎหมายอย่างเข้ม และไม่ได้หมายความว่าจะบังคับใช้กฏหมายเพียงอย่างเดียว แต่ดูไปถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น ความยากจน การศึกษา การพัฒนา และปรากฏการณ์เบื้องหลังอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ความยุติธรรมที่เข้าถึงการรับรู้ของประชาชนมากน้อยเพียงใด การมีข้อมูลคนละชุดและการเข้าถึงของสาธารณะ การรับรู้ที่สับสน

เมื่อป้าแจ๋เล่าว่า การข่าวที่แม่นยำเป็นการเริ่มต้นสันติวิธี และถ้าเลือกสันติวิธีในการแก้ปัญหา “ความจริงใจ” เป็นเรื่องสำคัญมาก  เวลามีอารมณ์ ความรู้สึก เกิดความไม่มีเหตุไม่มีผล การเอาความจริงมาคุยกันทำให้พูดกันด้วยเหตุด้วยผลไม่ได้  งานพัฒนาเอื้อต่อความมั่นคง ความมั่นคงเอื้อต่องานพัฒนา ร่วมกันคิดร่วมกันทำ  ในใจฉันเห็นด้วยร้อยปูเซ็งเลยค่ะ

ก็เลยถือโอกาสสรุปเคล็ด “ทำอย่างไร” เอาไปใช้ต่อในฐานะคนทำงานกับผู้คน  เคล็ดนี้สร้างสันติในทุกพื้นที่ไม่แต่ในภาคใต้ด้วยนะฉันว่า มันซ่อนอยู่ในคำบอกเล่าของป้าแจ๋นี่แหละ

“คิดบวกกับประชาชนในพื้นที่ เลือกอยู่ข้างเขา ลงมือทำจริง  รู้จักตัวเอง ใช้ความคิดบวกเป็นนายสั่งตัวเอง จริงใจเมื่อลงมือทำ ทำการข่าวให้แม่นยำ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันพัฒนา”  คือวิธีการที่เป็นหัวใจหลักในการสร้างสันติ

« « Prev : แล้วเจอกันใหม่

Next : ยุทธการปอกหัวหอม » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 กรกฏาคม 2010 เวลา 16:50

    ผมว่าคนไทยเยอะมากที่คุ้นเคยกับโมเดลอัศวินขี่ม้าขาวนะครับ คนกลุ่มเล็กๆ จะแก้ปัญหาซับซ้อนและหมักหมมมานานแล้วได้ยังไง เพราะว่าคนกลุ่มเล็กจับได้แต่ปัญหาแยกส่วน (แบบอาจารย์ว่า) หรือไม่ก็เป็นปัญหาที่เหมารวมแล้ว (generalized) ซึ่งไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริงของพื้นที่ แต่ทำให้สะดวกในการทำความเข้าใจและอธิบาย

    หากจะแก้ปัญหาซับซ้อน ก็น่าจะตั้งธงให้ทุกคนเห็นเป้าเดียวกัน แล้วต่างคนต่างเดินไปในทิศทางนั้น มากกว่าการหวังให้ผู้วิเศษมาแก้ปัญหาให้ครับ ถ้ามันเป็นปัญหาของเราจริง จะให้ใครมาแก้ให้ แล้วจะให้เขารู้มากกว่าเราได้อย่างไร หน้าที่ของส่วนกลางคือการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในทางที่ “ถูกต้อง” เท่านั้น — ถ้าทำในทางตรงกันข้าม เรียกว่ากระทรวง

  • #2 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 กรกฏาคม 2010 เวลา 22:04

    #1 สภาพการณ์ของภาคใต้ซับซ้อนมาก ลงไปสัมผัสมาแล้วพี่เห็น crisis ที่เกิดจากข่าวลือ+สงคราม+โรคระบาด แล้วยังมี chaos เป็นพื้นฐานอยู่ทุกระดับเลยแหละ มองแทบไม่เห็นการบริหารความเสี่ยงในเชิงบริหาร   นย.ทำได้ดีเพราะให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงของทั้งองค์กรและทำให้ทุกคนเห็นเป้าเดียวกันชัด แล้วเดินไปด้วยกันในทิศทางนั้นตลอดมาอย่างที่น้องออกความเห็นนะแหละ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.17389583587646 sec
Sidebar: 0.1193311214447 sec