แกะรอยกันหน่อย

โดย สาวตา เมื่อ 25 พฤษภาคม 2010 เวลา 20:46 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต, สสสส.๒, สังคม, เล่าสู่กันฟัง #
อ่าน: 1364

สมัยยังเด็ก เด็กๆรุ่นฉันยังมีโอกาสเรียนภาษาต่างประเทศอยู่ ๒ ภาษา หนึ่งภาษาคือ ภาษาอังกฤษ และอีกภาษาคือภาษาจีน  การเรียนตอนนั้นฉันไม่รู้หรอกว่ามันหนักหรือไม่หนักเมื่อเทียบกับเด็กที่เติบโตมาสมัยนี้ จำได้แต่ว่าฉันไม่เคยรู้สึกเป็นทุกข์กับการเรียนค่ะ คงเป็นเพราะว่าโอกาสของชีวิตที่เปิดออกในตอนนั้นให้โอกาสฉันตั้งเป้าหมายที่อยากไปถึงได้โดยตัวของฉันเอง

มารู้ตอนโตว่าที่พ่อให้เรียนแต่ภาษาอังกฤษไม่ให้เรียนภาษาจีน เป็นเพราะสงสารไม่อยากให้เด็กอย่างฉันเรียนหนักเกินไป

ที่วันนี้พูดถึงการเรียนภาษาอย่าเพิ่งงงเลยว่ามันเกี่ยวอะไรด้วยกับวิชาไกล่เกลี่ย  มีเกี่ยวอยู่ค่ะ ตามมาๆ ขอชวนคนที่เคยเรียนภาษาจีนมาช่วยแกะรอยหน่อย

สิ่งที่ชวนแกะรอยคือเรื่องที่เคยเล่าให้ฟังว่าอาจารย์นพพรบอกกล่าวแลกเปลี่ยนว่า ความขัดแย้ง คือ ส่วนผสมของโอกาสและวิกฤต ตามมาดูกันเลย แล้วคนที่รู้มาช่วยอธิบายหน่อย คนไม่รู้อย่างฉันเมาหมัดภาษาจีนเมื่อได้รู้ว่า แต่ละเส้นที่ขีดของตัวหนังสือจีนต่างมีที่มา

ตัวแรกมาแกะรอย อักษรตัวนี้ค่ะ อักษรที่แปลว่า “ขัดแย้ง”

ความขัดแย้ง วิกฤต โอกาส

แล้วกลับไปวิเคราะห์ อักษรหนึ่งคำ อักษรที่แปลว่า “วิกฤต” เห็นอะไรมั๊ยค่ะ

แล้วมาดูอีกคำ อักษรนี้ค่ะ “โอกาส”  แกะรอยสามคำ แล้วพบอะไรบ้าง น่าทึ่งมั๊ยค่ะ ภูมิปัญญาคนจีน

ทั้งหมดคือที่มาของความหมายที่อาจารย์นพพรกล่าวเรื่อง “ส่วนผสม” ค่ะ

แกะรอยกันแล้วก็ชวนซะเลย แกะรอยพายุกันหน่อยว่าขั้น ๑ ถ้าช้าทำให้ขั้น ๔ เกิดขึ้นได้เร็วอย่างไร โดยให้ภาพสอน ลองดูนะคะ

ภาพแรก ฟ้าใส ภาพ ๒ เริ่มมีพายุ ภาพ ๓ เมฆครึ้มเต็ม ภาพ ๔ ฟ้าผ่าแล้ว

ในบันทึกที่แล้วมีการชวนมองต่างมุม ก็เลยไปรื้อภาพที่ถ่ายเก็บไว้ระหว่างอาจารย์สอนมาให้แกะรอย มองภาพแล้วเห็นความต่างของเส้นอย่างไรบ้างค่ะ

ท่านเชื่อหรือไม่ว่า เส้นตรงที่ท่านเห็นนั้นยาวเท่ากัน

คำตอบของภาพที่เป็นความจริง ว่าเส้นที่เห็นนั้นแท้จริงยาวเท่ากัน ทำให้ท่านเห็นชัดกับเรื่องที่อาจารย์ชวนให้มองมุมต่างกันบ้างหรือยัง

เห็นหรือไม่เห็นก็ไม่เป็นไรค่ะ แค่รับรู้ว่ามัีนมีเทคนิคที่นักวิชาการชวนไว้ เก็บไว้ง่ายๆอย่างนี้เผื่อใช้ก็แล้วกันค่ะ

ว่าแล้วก็ขอจบบันทึกไว้ดื้อๆเอาไว้แค่นี้ค่ะ

« « Prev : เรื่องด่วน

Next : เริ่มเป็นไปได้ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2010 เวลา 21:12

    แกะไม่ออก

  • #2 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2010 เวลา 21:28

    พ่อครูค่ะ ภาษาจีนเขามีที่มาของคำแต่ละคำจากการผสมคำให้เป็นคำใหม่  ถึงแม้จะไม่เข้าใจภาษาจีนแต่ภาพที่เปรียบเทียบไว้ก็พอทำให้อ้อว่า คำๆแรกมีที่มาจากตัดคำไหนผสมคำไหนค่ะ ส่วนเบื้องหลังวิธีคิดของตัวหนังสือและเส้น คงต้องพึ่งพาแม่ยกแล้วค่ะ

    พายุแห่งความขัดแย้ง มีหลักการเกิดเหมือนธรรมชาติของการเกิดพายุค่ะพ่อครู คือ มีลำดับของการก่อหวอดก่อนเกิด

    ถ้าสามารถสัมผัสระยะที่ก่อหวอดได้ตั้งแต่ต้นและควบคุมให้อยู่มือแต่ต้นโดยไม่ละเลยจะสามารถลดความรุนแรงของพายุได้

    มีความคล้ายกับพายุธรรมชาติอยู่ที่ลำดับของการก่อหวอดที่สามารถรับรู้และตรวจจับได้ค่ะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.015975952148438 sec
Sidebar: 0.11366105079651 sec