เสียงในใจที่พึงระวัง

โดย สาวตา เมื่อ 30 พฤษภาคม 2009 เวลา 16:48 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต, เล่าสู่กันฟัง #
อ่าน: 1588

ระหว่างพิมพ์บันทึกเรื่อง ยอมรับ เรียนรู้ และเข้าใจ ฉันก็ปิ๊งว่า ที่แท้พฤติกรรมการใคร่ครวญจนรู้ว่าภายในใจมีคลื่นที่เปลี่ยนไปในระหว่างเจอโจทย์ถึงสามโจทย์ในภาคเช้า คือ วิธีเพ่งสติที่ถูกจริตกับตัวเอง ด้วยเป็นการเพ่งสติที่ฉันไม่ต้องใช้ความพยายามอะไร เมื่อไม่ต้องพยายามฉันก็นิ่งได้โดยไม่ต้องฝืน

การนิ่งเกิดขึ้นระหว่างการใคร่ครวญ สมาธิเกิดขึ้นจากการใคร่ครวญ สติและสมาธิที่เกิดขึ้นทำให้ฉันรู้เท่าทันใจตนว่ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างไร เป็นอย่างไรไป คำตอบของโจทย์หลักที่อยู่ข้างในตัวตนโผล่ออกมาให้รับรู้เองโดยไม่ต้องใช้ความคิดเค้นมันออกมา ได้ยินเสียงทั้งๆที่จริงๆไม่มีเสียงพูดอะไรออกมา

ฉันเพิ่งเข้าใจว่า การฟังอย่างใคร่ครวญไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับการฟังอย่างมีสติ การเพ่งสติที่ไม่ต้องพยายาม เกิดสติง่ายกว่าเยอะเลย การฟังอย่างลึกซึ้งมันคืออะไร การฟังที่ลึกขึ้นให้ผลทำให้เข้าใจตัวเอง การฟังอย่างลึกขึ้นทำให้เกิดสมาธิอย่างง่ายดาย การฟังอย่างไม่มีคำตัดสินเกิดขึ้นก่อนหรือระหว่างการฟังทำให้การฟังอย่างลึกเกิดขึ้นง่ายกว่าการตั้งใจฟัง การตั้งใจฟังนั้นก็มีคำตัดสินเกิดขึ้นแล้ว การฟังอย่างลึกเกิดไม่ง่ายและเกิดไม่ได้หากไม่ฝึกตน ให้ช้าลงๆ

ประสบการณ์ที่ผ่านทำให้เรียนรู้ว่า ตั้งแต่เติบใหญ่ขึ้นมา ความเป็นผู้ใหญ่นะแหละที่ไปขัดขวางการฟังไม่ให้ถึงระดับการฟังอย่างลึกซึ้ง

สัญญาที่สะสมมามากมายของผู้ใหญ่เป็นอุปสรรคตัวสำคัญที่ถ่วงให้การฟังไปสู่การฟังอย่างลึกซึ้งที่ต้องการไม่ได้

การฝึกการฟังใหม่ของผู้ใหญ่จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก การฝึกฟังใหม่จะตรงทางหรือหลงทางผู้ใหญ่ควรมีธงนำเพื่อใช้เป็นหางเสือเตือนตน คำข้างล่างที่รวบรวมไว้ใช้เป็นหางเสือเตือนตนได้นะ

Keywords :

อุปสรรคสำคัญที่พึงระวังและควรรู้จักเพื่อเตือนตนให้รู้เท่าทันในการฟังคือ “ความคุ้นชินกับการพิพากษาสิ่งที่ได้ยิน”  ซึ่งในภาษาของคนถิ่นฉันมักจะเอ่ยคำว่า “เอาอีกแล้ว” “เอาหลาวแล้ว” หรือแอบมาในรูปของคำอุทานว่า “ฮึ” นะรู้จักมั๊ย

จำไว้เลยนะคำพวกนี้ จำไว้เตือนสติว่าคำเหล่านี้จะถ่วงให้การฟังอย่างลึกเกิดขึ้นไม่ได้ แล้วเมื่อนั้นจะตกบ่วงอารมณ์ ตกร่องอารมณ์ได้นะ

« « Prev : สมรภูมิใจ

Next : วงเวียนอารมณ์ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2009 เวลา 16:55

    ฝึกยากเหมือนกันนะครับ  พยายามอยู่ครับ  อิอิ

  • #2 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2009 เวลา 19:52

    พี่ตึ๋งรู้ปะ ฝึกแบบพยายาม กับฝึกแบบตามรู้โดยไม่มีคำว่าพยายามในหัวสมองนะ อย่างหลังง่ายกว่าเยอะเลย
    อย่างหลังยากกว่าเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มีความเร็วเข้ามาเกี่ยวข้องค่ะพี่
    เมื่อไหร่เร็ว เมื่อนั้นหลุดค่ะ   เผลอเมื่อไรหน่วงไม่ทันค่ะ ฉะนั้น เผลอเมื่อไร คือ เร็วค่ะ
    ที่กำลังฝึกตอนนี้คือ หน่วงให้รู้ทันว่า เร็วอย่างไรอยู่รึเปล่า 
    แล้วก็รู้ว่า ช้าไม่ทันกับอารมณ์ค่ะพี่
    จึงฝึกใหม่ให้ช้าเรื่อง “การตัดสิน , การสรุป” 
    “สรุปแล้ววางไว้ ตัดสินแล้ววางไว้ ไม่ด่วนเชื่อ”
    “เชื่อ” ในที่นี้คือเชื่อ “ความคิด” ค่ะ
    หน่วงอย่างนี้พอจะทำให้ตามรู้ทันได้บ้างแล้วค่ะพี่
    พบว่าทำแล้วใจเราก็ยังบริสุทธิ์อยู่ ไม่หมอง ไม่หม่นค่ะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.021710872650146 sec
Sidebar: 0.10541105270386 sec