เรียนรู้ผู้นำสี่ทิศจากผู้เข้าสอบ

โดย สาวตา เมื่อ 14 กุมภาพันธ 2009 เวลา 0:10 ในหมวดหมู่ เล่าสู่กันฟัง #
อ่าน: 2196

ขอยกเรื่องราวที่ได้เรียนรู้จากการเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์มาเป็นตัวอย่างซ๊าหน่อยพอเป็นน้ำจิ้มว่าสนุกอะไรในมุมมองส่วนตัวของฉันนะค่ะ เริ่มจากบทสนทนาช่วงต้นตรงนี้ก็แล้วกัน

 

รัชนี       :  ดิฉันเป็นญาติของนายโชคดี มีสุขค่ะ

คู่สนทนา :

 

รัชนี       :  ที่ติดต่อมานั้น ดิฉันอยากทราบว่า ขณะนี้ นายโชคดี มีสุข นะมี

               อาการเป็นอย่างไรบ้าง อาการหนักมั๊ย เป็นอย่างไรบ้าง หมอ

               รักษาไปยังไงแล้วบ้าง

คู่สนทนา :

 

เมื่อนึกไปถึงเหตุการณ์ที่อ.แป๋วพาลูกศิษย์ไปฝึกการนำเสนอตอนที่ใจแตกแถวไปสวนป่า ก็มองเห็นความเหมือนกันของคนที่อ่อนอาวุโสเมื่อเจอกับคนที่อาวุโสมากกว่าขึ้นมาในเรื่องของสติกับความกลัวค่ะ เด็กสองกลุ่มนี้เหมือนกันอีตรงที่มีคนที่มีระดับความสามารถของการคุมสติให้อยู่ที่แตกต่าง คนที่ด้อยการฝึกฝนก็แพ้ทางคนที่เคยได้ฝึกฝนตัวเองมาก่อนเห็นๆในเรื่องการุมสติ และคนที่เคยฝึกฝนก็ยังคุมสติได้ไม่ดีหากไม่ได้ฝึกฝนตัวเองบ่อยๆเรื่อยๆ 

 

คำสนทนาที่ตอบหน้าม้าผ่านโทรศัพท์และการจัดการให้สามารถยกหูโทรศัพท์ได้บ่งบอกเงาร่างของแต่ละคนว่าใครเป็นกระทิง ใครเป็นหมี ใครเป็นอินทรี  ใครเป็นหนูเลยแหละ

 

เมื่อฉันบอกเขาไปว่า ให้เขาตัดสินใจทำในสิ่งที่คิดว่าเหมาะสมกับสถานการณ์สมมตินี้ คนที่เป็นกระทิงก็จะลุยกับการสนทนาตอบคำถามลืมความกลัวไปเลย ไม่รีรอถามไถ่ เชื่อใจเชื่อตัวเองว่า ที่ตัดสินใจจะสนทนาตอบโต้นั้นใช่เลย  คนไข้คนนี้เหรอค่ะ บาดเจ็บเล็กน้อยค่ะ ใช่ค่ะ ตอนนี้เขาปลอดภัยแล้วค่ะ เหล่านี้คือ คำตอบของเหล่าคนที่เป็นกระทิง 

 

เมื่อเขากลับมานั่งที่เดิมเพื่อคุยกันต่อ ฉันเฉลยให้เขาฟังว่าที่แท้คนไข้ในโจทย์นั้นเป็นอย่างไร  บางคนฉันก็ให้เขาตอบว่า ประเมินแล้วคาดว่าตัวเองทำได้ดีแค่ไหน หลายคนก็รู้ดีว่าทำได้ไม่ดีเท่าที่คาดหวังจากตัวเองเพราะความกลัวทำให้ตื่นเต้นและคิดอะไรไม่ทัน

 

ถ้าการสอบครั้งนี้ เป็นงานที่ต้องการคนขาลุย คนเหล่านี้ก็น่าจะที่จะผ่านสนามนี้ไปได้ หากแต่งานที่ทำอยู่ของร.พ.เป็นงานที่ต้องการความเป็นกระทิงที่อ่อนโยนต่อคนไข้และญาติ มีใจที่รู้จักเข้าใจคนทุกข์ ณ เวลานั้นๆ การให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนโดยไม่รอบคอบตรวจสอบก่อน จึงเป็นเรื่องไม่พึงกระทำ ด้วยจะกลายเป็นการเบียดเบียนไป

 

คนที่เป็นหนูก็จะมีคำตอบว่า ค่ะ ค่ะ ค่ะ ค่ะ และตอบคำถามน้อยมาก มีน้อยคนที่หันมาปรึกษาเหล่ากรรมการ ขอข้อมูลของคนไข้เพื่อไปคุยเรื่องราวต่อ

 

คนเป็นหมีก็จะคอยฟังอย่างสุขุม และตอบโต้ไปเรื่อยๆอย่างผ่อนคลาย ใจเย็นพอที่จะฟังหน้าม้าคุย และตอบโต้ให้ข้อมูลคำแนะนำที่เหมาะควร  ตัวอย่างคำพูดตอบ เช่น เดี๋ยวหนูจะหาข้อมูลให้ แล้วจะมาบอก แล้ววางหูชั่วคราว หันมาปรึกษาผู้ที่นั่งอยู่ ถามไถ่ว่ามีคนไข้ชื่อนี้รึเปล่า หรือตอบว่า หนูอยู่ห่างจากจุดที่รับคนไข้ ทิ้งเบอร์ไว้ได้ไหมเดี๋ยวติดต่อกลับ จะไปหาข้อมูลให้

 

คนเป็นอินทรีก็จะตอบว่า ค่ะ ค่ะ ค่ะ หนูติดต่อคุณกลับไปนะค่ะ ให้เบอร์หนูไว้ ตอนนี้หนูยุ่งมากยังไปดูให้ไม่ได้ ในขณะที่เดินไปรับโทรศัพท์ กระเป๋าหิ้ว กระเป๋าถือ หนีบติดจักกะแร๊ไว้ตลอด ดูน่าขำ แถมเป็นกระเป๋าใบโตๆซะด้วย

 

อีกเรื่องที่เรียนรู้ชัดจากเด็กจบใหม่ก็คือ คนที่เคยทำงานและทำกิจกรรมแบบนักศึกษาทำกันนั้น จะมีทักษะและปฏิภาณดี เป็นเงาร่างตัวแทนของหมีผสมกระทิงเลยค่ะ

 

มุมความรู้ที่ได้จากครั้งนี้ยังมีในเรื่องราวของการวัดระบบ HRD ที่ทำๆกันมาของร.พ.ด้วย ฝีมือใครกันเล่าถ้าไม่ใช่ผู้อาวุโสทั้งหลาย ประจักษ์ตาที่เห็นบอกเลยว่า ที่เคยเข้าใจว่าเรื่องราวบางเรื่องคนทำงานทุกคนรู้นั้น ไม่ใช่เรื่องจริง กระบวนการที่ฝึกฝนพวกเขาให้มีความสามารถด้านบริการที่ต้องการยังไม่ผ่าน

 

คนบางคนก็ทำให้เรียนรู้ว่า เป็นคนมีน้ำใจ สื่อออกมาด้วยความเต็มใจที่จะให้เบอร์โทรศัพท์ส่วนตัวของตัวเองในการติดต่อ ทั้งๆที่เครื่องที่กำลังใช้อยู่น่ะโทรศัพท์หลวง

 

บางคนก็ทำให้รับรู้ว่า ไม่ทำงานร่วมกับคนอื่น ความใส่ใจองค์กรแค่ไหนสัมผัสได้  ความรู้รอบตัวของบางคนก็อ่อนด้อยซ๊าจนชวนอาย ข้อมูลที่ให้ออกไปก็คลาดเคลื่อนมั่วสิ้นดี 

เรื่องราวเหล่านี้เหมือนการสุ่มตัวอย่างที่บอกออกมาถึงจุดอ่อนในตัวคนที่องค์กรพึงได้รับรู้เพื่อพัฒนาให้เขาทั้งหลายมีความสามารถตรงตามที่องค์กรต้องการ พี่ที่มาจากกลุ่มการพยาบาลพยักหน้าเห็นด้วยทันทีที่ฉันกระซิบบอกเรื่องราวว่า เห็นทีเราจะต้องปรับปรุงวิธีพัฒนาคนบ้างแล้ว สำหรับลูกจ้างชั่วคราวทั้งหลาย เราไว้ใจเขาว่าทำงานนานจะเข้าใจบทบาทตัวเองและรักองค์กร เหตุการณ์เชิงประจักษ์ที่อยู่ตรงหน้า มันบอกว่าเราเข้าข้างตัวเองนา พี่เขาก็เห็นด้วยทีเดียว เลยได้โจทย์ว่าจะไปเสนอผู้ใหญ่อย่างไรที่จะทำให้มีกระบวนการผลักดันคนให้พัฒนาตนเองโดยธรรมชาติได้

  

« « Prev : สอบสัมภาษณ์

Next : เบื้องหลังข้อสอบ(1) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 dd_l ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 กุมภาพันธ 2009 เวลา 7:51

    ตามมาเรียนต่อค่ะ

  • #2 Suchada ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 กุมภาพันธ 2009 เวลา 8:04

    แล้วพี่ตาเคยเจอผู้เข้าสอบที่เป็น “หนูสวมเขาติดปีกแถมมีอุ้งตีน” บ้างไหม อิ อิ

  • #3 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 กุมภาพันธ 2009 เวลา 11:58

    น้องอึ่งค่ะ อยากชวนแลกเปลี่ยนค่ะ

  • #4 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 กุมภาพันธ 2009 เวลา 12:05

    น้องดาค่ะ ความเป็นหนูสวมเขาติดปีกแถมมีอุ้งเล็บน่ะ มันปรากฏแบบองค์รวมเมื่อเขาผ่านบทสนทนาไปจนจบแล้วค่ะน้อง ที่เล่ามานี่แค่แต้มต่อช่วงแรกๆค่ะ  ตอบตรงก็จะตอบว่า คนที่ได้คะแนนสูงๆสามสี่คนแรกนะแหละค่ะ ที่มีคุณสมบัติผู้นำพวกนี้ให้เห็นค่ะน้อง

    ตัวพี่ให้คะแนนมากหน่อยกับคนที่บ่งบอกตัวตนตามลำดับ คือ หนู+อินทรี+กระทิง+หมีค่ะ

    บทสนทนาต้นๆนี่มันสอนพี่ว่า การที่เราเคยตัดสินคนทำงานโดยใช้อายุงานและตั้งธงว่าคนในของเราจะเจ๋งนะ มันทำให้พลาดโอกาสได้คนดีไว้ให้องค์กรค่ะ ถ้ารักองค์กรจริง กรรมการควรที่จะมีธงปักเรื่องคุณสมบัติคนที่องค์กรต้องการ ซึ่งมีสองเรื่องที่ปักได้ คือ ความจงรักภักดี และ การพัฒนาตนให้มีความสามารถด้วยธรรมชาติของเขาเองที่รักจะพัฒนาค่ะน้อง


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.026902914047241 sec
Sidebar: 0.1069450378418 sec