เบื้องหลังข้อสอบ(1)
อ่าน: 1978ขอบันทึกเป็นหลักฐานต่อว่า มีมุมมองอะไรอีกกับข้อสอบที่ออกไว้ในช่วงนี้
รัชนี : ดิฉันเป็นญาติของนายโชคดี มีสุขค่ะ
คู่สนทนา :
รัชนี : ที่ติดต่อมานั้น ดิฉันอยากทราบว่า ขณะนี้ นายโชคดี มีสุข นะมี
อาการเป็นอย่างไรบ้าง อาการหนักมั๊ย เป็นอย่างไรบ้าง หมอ
รักษาไปยังไงแล้วบ้าง
คู่สนทนา :
ฉันว่าฉันได้เรียนรู้จากการฟังคนสนทนากันแบบคนดูหนังยังไงยังงั้น
คำสนทนาในช่วงต้นๆนี้ ไม่ว่าคนนอกคนในที่เข้ามาสอบ มีหลายคนที่ออกปากออกมาว่า อาการคนไข้ปลอดภัยแล้ว คุณหมอดูแลให้เป็นอย่างดี ในขณะที่โดยแท้จริงคนไข้ที่ถูกสอบถามมาไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีผู้ป่วยที่รับไว้เลย
นี่ก็เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่บอกให้ฉันรู้ว่า วิธีการสอนคนขององค์กรโดยให้เขารู้กติกาแต่ไม่เข้าใจว่าอะไรคือผลลัพธ์ที่ต้องการอันเป็นผลจากการใช้กติกา การให้ข้อมูลผิดๆไปเบียดเบียนซ้ำเติมทุกข์คนที่ติดต่อเข้ามา ภาพลักษณ์เป็นลบจึงเกิดกับองค์กรได้เลยจากความโกรธของผู้ที่ถูกเบียดเบียน
ที่ออกข้อสอบข้อนี้ออกไป ฉันมีความเชื่อว่า หากคนๆนั้นเป็นคนจริง มีจิตใจที่ดี สามัญสำนึกของความเป็นคนดีจะทำให้เขาตัดสินทำอย่างที่ใจบอกให้ทำ ไม่เป็นเครื่องจักรที่ถูกป้อนความจำให้แล้วทำไปตามโปรแกรมความจำนั้นๆ การกำหนดบทสอบให้เขาได้อยู่กับปัจจุบันขณะและแสดงตัวตนออกมาให้กรรมการเห็นแบบดูหนัง จะช่วยให้กรรมการมองออกว่า ใครคือของจริง ใครคือคนที่ควรพัฒนาต่อไป เหตุการณ์ช่วงนี้เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นทุกเวลาในร.พ.ที่เพิ่มทุกข์ให้กับคนที่เข้ามาใช้บริการและผู้รับบริการโดยผู้ให้บริการเองก็ไม่รู้ตัวว่าตัวตนของตัวเองนั้นมันไปก่อผลอะไรบ้าง
แล้วสิ่งที่คาดไว้ก็ปรากฏผลออกมาเป็นหนังสั้นอย่างที่นั่งดู ผู้กำกับหนังในที่นี้ คือ ตัวตนที่ผสมผสานฐานคิดและฐานใจเข้าด้วยกันตามความอัตโนมัติที่ตัวตนของตัวเขาเองที่มันครอบครองอยู่ หนังที่เห็นมันบอกให้รู้ว่าตัวตนที่กลายบทเป็นนักแสดงนั้น ใครที่รู้จักเดินทางลงไปสู่ก้นตัวยูอยู่บ้าง ใครที่เดินข้ามฝั่งจากขาตัวยูด้านขวาไปยังขาตัวยูด้านซ้ายเร็วกว่ากันอยู่ ใครบ้างที่มีปกติของตนอยู่ในคลื่นเบต้าและใช้ความกลัวควบคุมตัวเองในรูปของกระทิง หมี หนู อินทรีผ่านบทของผู้กำกับและนักแสดง
หน้าม้าเขามาแลกเปลี่ยนถามว่า ในโจทย์นะ อยากให้เขาวีนด้วยรึไม่หนอ ใจเขาตอนที่รอรับโทรศัพท์ เขาอยากจะวีนด้วยนะ แต่ก็ไม่ได้ทำลงไป เขามีคำถามนี้เพราะว่า ในระหว่างที่แจ้งมอบหมายหน้าที่รับโทรศัพท์ให้ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์นั้น ฉันจะชวนเขาคุยไปเรื่อยๆ
ยังไม่ได้บอกว่า 4 ส่วนที่กระทรวงฯเขากำหนดมาให้วัดนั้น มีอะไรบ้าง ส่วนแรกเป็นเรื่องมนาญ์สัมพันธ์และการรู้จักทำงานเป็นทีม ส่วนที่ 2 ความรับผิดชอบ ส่วนที่ 3 ความอดทน ส่วนที่ 4 ประสบการณ์และไหวพริบ ที่คกก.มาเติมเองเป็นเรื่องของอายุการทำงาน ซึ่งเป็นกติกาที่ออกมาด้วยมุมมองเดียวกับรอกอดว่า เราควรจะกล้าเลือกคนที่เรารู้จักอยู่แล้วว่าเขาเป็นใครอย่างไร และบังเอิญว่า เจ้านายกระซิบบอกมาแล้วว่า มีเด็กฝากเข้ามาหลายคน
เมื่อได้รับมอบหมายให้มาออกข้อสอบ ฉันจึงตกลงใจใช้เกณฑ์วัดความสามารถเข้ามาคานกับสิ่งที่คกก.กังวลเรื่องเด็กฝาก เด็กในคาถาของกรรมการแต่ละคน จะป้องกันความลำเอียงเข้าข้างกันได้โดยไม่เปลืองแรงและชัดเจนประจักษ์ตา ก็ใช้การวัดความสามารถของคนอย่างเป็นธรรมชาติของเขานี่แหละเป็นโล่ห์อย่างดีที่ใช้ป้องกันตัวได้ มันพิสูจน์ได้โดยตัวเด็กฝากเองแสดงออกมาประจักษ์ตา ความเป็นตัวตนของผู้เข้าสอบเป็นเครื่องมือของฉันในการสอบครั้งนี้ค่ะ
ผู้เข้าสอบที่เป็นคนให้ใจกับคนอื่นมากกว่าตัวเองจริงๆเท่านั้น ที่จะตัดสินใจจะขอตัวลุกไปรับโทรศัพท์เมื่อได้ยินเสียงมัน และคนที่ทำอย่างนี้ได้คือคนที่ตัดสินใจเป็นกระทิงด้วยความดีในตัวเขาเองที่กล้าเสียสละผลประโยชน์ส่วนตัว และที่สำคัญกว่า คือ รักคนอื่นเป็น มีเยื่อใยกับคนอื่น ทดสอบการทำงานเป็นทีมได้เลยนะค่ะนี่ ว่าเขาแคร์คนอื่นในทีมบ้างไหม ฉันเชื่อว่าการให้ใจต่อกันคือสายใยที่เหนียวแน่นในการผูกโยงคนทำงานไว้ให้ยินดีอยู่ด้วยกันค่ะ ให้ใจกันได้แล้ว เรื่องอื่นจิ๊บจ๊อยมาก แม้จะกระทบกระทั่งกันในเรื่องผลประโยชน์ชาวแซ่เฮคือตัวอย่างเรื่องนี้ค่ะ
ฉันว่ามันวัดความเก่งในเรื่องเป็นคนที่ “ฟัง” ทัน ซึ่งหมายถึงมีสติ มีไหวพริบรู้ว่านี่คือ บททดสอบน่ะ และพิสูจน์ได้ด้วยว่า คนเก่งที่กำลังมองเห็นตรงหน้านั้น มี “ใจ” เป็นอย่างไรได้อย่างง่ายๆด้วยนะค่ะ แต่ฉันก็ไม่ได้ตัดสินเขาเพียงแค่นี้หรอกนะค่ะ ดูหนังที่เขาแสดงต่อให้ดูจนจบค่ะ
« « Prev : เรียนรู้ผู้นำสี่ทิศจากผู้เข้าสอบ
Next : เบื้องหลังข้อสอบ(2) » »
ความคิดเห็นสำหรับ "เบื้องหลังข้อสอบ(1)"