วัสดุมีรูพรุน..อยู่ในน้ำ..แล้วเกิดอะไรขึ้นบ้าง

อ่าน: 1718

ไปรู้มาจากคนดูแลบ่อปลาว่า เขามีการใช้วัสดุมีรูพรุนจัดการกับโปรตีนในน้ำ เพื่อลดความเสียของน้ำที่เกิดจากขี้ปลา ฉี่ปลา ก็เลยเอามาลองดูว่าเกิดอะไรขึ้นได้บ้างกับน้ำเสียที่ขังในแอ่ง และอยู่ในพื้นที่ที่แดดส่องไม่ถึง วัสดุมีรูพรุนที่นำมาลองเป็นเบาะรถที่ทำจากฟองน้ำ

แถวที่ 1 ภาพซ้าย น้ำเสียขังในแอ่งนานเป็นเดือนๆ ส่งกลิ่นโชยในยามฝนตกและยามเย็นโพล้เพล้ ไม่มีแดด ภาพกลาง เป็นน้ำที่ไหลย้อนเข้าไปขังอยู่ในโพรง จะเห็นตะกอนสีขาวอยู่ใต้น้ำจำนวนหนึ่ง มีส่วนน้ำใสๆอยู่เหนือตะกอน มีฟองผงซักฟอกถูกเทลงมาปน  ภาพขวา เป็นน้ำส่วนหนึ่งที่เอ่อมาขังในแอ่งซึ่งอยู่ในที่มืดใต้ทางเดิน เป็นส่วนอยู่ต่อกัน

แถวที่ 2 ภาพซ้าย ใส่ปูนขาวลงในแอ่ง ภาพกลางและซ้ายสุด ผ่านไป 1 วัน น้ำในโพรงต่อจากแอ่งก็มีสภาพตามที่เห็น ลูกศรชี้เป็นบรรดาปลาหางนกยูงที่ปล่อยไว้ให้ช่วยจัดการลูกน้ำยุงซึ่งมาใช้ชีวิตอยู่ที่แอ่งตรงนี้เป็นฝูง

แถวที่ 3 ภาพซ้ายและภาพกลาง ผ่านเวลาใส่ปูนขาวไปครบเดือน น้ำในโพรงก็เป็นอย่างในภาพ มีฟองอากาศที่ปุดขึ้นมาจำนวนหนึ่ง น้ำมีกลิ่นเหม็นเมื่อเข้าใกล้ ภาพขวาสุด ตะแกรงมุ้งลวดใส่ไส้ไว้ด้วยฟองน้ำเบาะรถเก่าๆ ฝานเป็นชิ้นเล็กๆเหมือนเนยแข็ง ลอยไว้ในโพรงผ่านไปวันเดียว น้ำก็มีคราบสีขาวๆเกิดขึ้นและจำนวนฟองอากาศก็เพิ่มจำนวนขึ้น กลิ่นน้ำลดลงราวๆ 3/4 ของกลิ่นเดิม

แถวที่ 4 ภาพซ้าย หลังมีฟองน้ำลงไปอยู่ในน้ำด้วย 1 วันผ่านไป สภาพน้ำก็เปลี่ยนไป ภาพขวา สภาพน้ำก่อนปล่อยฟองน้ำลงไป

แถวที่ 5 ภาพซ้าย ฟองจากผงซักฟอกที่ลงไปปนในน้ำ  ภาพขวา สภาพน้ำเมื่อเวลาผ่านไปครบ 1 สัปดาห์ ของเสียที่ลงไปปนในน้ำถูกย่อยสลายและลอยเป็นคราบที่ผิวน้ำ ฟองอากาศที่ปุดจากน้ำมีจำนวนมากและหนากว่าเดิม น้ำกลิ่นลดลงเหลือราวกึ่งหนึ่งของกลิ่นเดิม

แถวที่ 6 ภาพซ้าย สภาพน้ำเมื่อเวลาผ่านไปครบ 1 สัปดาห์ เทียบกับตอนที่ไม่มีฟองน้ำ (ภาพกลาง) และ 24 ชั่วโมงแรกหลังลอยฟองน้ำ (ภาพขวา)  ที่ลูกศรชี้คือปลาหางนกยูง

แถวที่ 7 เมื่อของเสียถูกแปรสภาพดังภาพขวาสุดผ่านไป 3 วัน สภาพน้ำก็เป็นดังภาพซ้ายสุดและภาพกลาง ไม่มีกลิ่นของเสีย

แถวที่ 8 บริเวณแอ่งใต้ทางเดินที่เคยมีปลาหางนกยูง(ลูกศรในภาพซ้าย) มีแมลงจำนวนหนึ่งเกิดขึ้นมา (ลูกศรในภาพกลาง) ยุงที่เคยมีหายไปหมด ภาพขวาสุด ผิวน้ำมีคราบสีฟ้าครามเป็นเงาวาวและคราบสีไมโลลอยอยู่เป็นหย่อมๆ (ลูกศรชี้) ยังต้องพิสูจน์ว่าเป็นคราบโลหะอะไร

แถวที่ 9 ลอยฟองน้ำเอาไว้ครบ 10 วัน ไม่โดนแสงน้ำ สภาพน้ำ ฟองอากาศ และตะกอนเป็นดังภาพ ไม่มีกลิ่นของเสียและกลิ่นน้ำ

แถวที่ 10 ภาพซ้าย เมื่อระบายน้ำออกมาโดนแสง น้ำที่ไหลออกมาขังในแอ่งมีคราบขาว ภาพกลาง เมื่อน้ำไหลต่อออกมาที่ปลายท่อ  คราบขาวยังอยู่  ภาพขวาสุด เมื่อน้ำไหลลงไปสู่ที่ต่ำกว่า และโดนแสงแดด คราบก็เป็นดังในภาพ

แถวที่ 11 ภาพซ้าย ลอยฟองน้ำไว้ครบ 2 สัปดาห์ น้ำที่โดนแสงมีตะกอนดังในภาพ น้ำมีฟองอากาศปุดขึ้นมาเรื่อยๆ จำนวนไม่มาก (ลูกศรชี้) ไม่มีกลิ่น ภาพกลางและภาพขวา ลองฉีดน้ำประปาลงไปกวนตะกอนเพื่อความแน่ใจว่าหมดกลิ่นแล้วจริง กลิ่นปรากฏขึ้นทันทีเมื่อสภาพน้ำเป็นดังในภาพ

แถวที่ 12 ภาพซ้าย น้ำที่มีคราบขาวหนามากๆเป็นสวรรค์ของปลาและหนอนแดง  ภาพกลาง ตำแหน่งที่โดนแสง ของเสียเปลี่ยนสภาพเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยปนอยู่กับตะกอน ภาพขวา ตำแหน่งที่มืด แสงไม่ถึง ของเสียเปลี่ยนสภาพเป็นตะกอนเบาลอยเป็นคราบที่ผิวน้ำ

สรุปว่า  คราบขาวๆที่เห็นเป็นจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศ  ฟองอากาศที่ปุดขึ้นมาเป็นฝีมือของจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้อากาศ

จุลินทรีย์ที่ใช้อากาศทำให้ตะกอนของเสียจมน้ำ จุลินทรีย์ที่ไม่ใช้อากาศทำให้ตะกอนของเสียลอยน้ำ

แสงมีผลต่อสภาพตะกอน การตกของตะกอน สีของตะกอน และกลิ่นน้ำ

ขยะมีรูพรุนลอยน้ำ ช่วยลดกลิ่นของน้ำในบริเวณที่ร่มได้ระดับหนึ่ง

น้ำเสียขังมีกลิ่นจากตะกอนที่จมน้ำถูกก่อกวน

น้ำเสียขังที่สร้างกลิ่นเหม็นรำคาญเป็นน้ำขังที่แสงส่องไม่ถึง

กลิ่นเหม็นเกิดจากฟองอากาศที่อยู่ใต้น้ำ ฟองอากาศนี้มีเป็นก๊าซที่มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะได้ จึงทำให้ท่อเหล็ก ซี่กรงเหล็กผุกร่อน

1 พฤศจิกายน 2554

« « Prev : ปูนขาวเปลี่ยนอะไรไปบ้าง

Next : ตามลม(๘๙): แล้วก็ได้…ระบบบำบัดน้ำเสีย…ย่อส่วน…เกิดขึ้นมา » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "วัสดุมีรูพรุน..อยู่ในน้ำ..แล้วเกิดอะไรขึ้นบ้าง"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.56677007675171 sec
Sidebar: 0.27022790908813 sec