ปูนขาวเปลี่ยนอะไรไปบ้าง

อ่าน: 1722

นึกขึ้นมาได้ว่าสมัยยังเป็นนักเรียนแพทย์ เขามีการใช้ปูนขาวบำบัดของเสีย ลองนำมาใช้กับน้ำเสียดูบ้างว่าจะเป็นยังไง ก็ได้ความรู้เพิ่มมาเรื่องกลิ่น ว่าปูนขาวลดกลิ่นได้ทันทีเช่นเดียวกับน้ำหมักแบบน้ำ

แถวแรกและแถวที่ 2 ภาพซ้าย เป็นต้นน้ำที่โรยปูนขาวลงไป ผ่านไป 1 วันตะกอนในน้ำและความใสของน้ำเปลี่ยนแปลงไปดังภาพขวา

แถวที่ 3   ภาพซ้ายสุดเป็นสภาพน้ำที่บำบัดด้วยผักตบชวามาก่อนหน้า และเพิ่งรื้อทิ้งก่อนโรยปูนขาวลงไป ซูมภาพเข้าไปใกล้ก็เห็นตะกอนสีเขียวขี้เป็ดอยู่ ตามภาพกลาง ซูมเข้าไปใกล้อีกก็เห็นว่าสีเขียวๆนั้นคือแอลจีที่เติบโตขึ้น (ลูกศรชี้)

แถวที่ 4  ภาพซ้ายสุดที่เห็นเป็นสีเข้มๆคล้ายสีดำ เป็นบรรดาแอลจีทั้งนั้นเลย ซูมใกล้เข้าไปก็จะเห็นเป็นกลุ่มๆ บางแห่งก็มีแน่นไปหมด ดังปรากฏในภาพกลางและภาพขวาสุด (ลูกศรชี้) น้ำตรงนี้แสงส่องตลอดวัน มีช่วงแสงแดดจัดๆส่องลงไปกว่า 8 ชั่วโมงของวัน

แถวที่ 5   ภาพซ้ายสุด น้ำที่เพิ่งโรยปูนขาว หลังใส่ปูนขาว 1 วัน ภาพกลาง คราบขาวๆที่เคยมีหายไปบ้าง  ขวาสุดเป็นสภาพ 3 วันหลังใส่ปูนขาว

แถวที่ 6 ภาพซ้าย หลังใส่ปูนขาวผ่านไป 3 วัน สภาพตะกอนหยาบสีดำที่เกิดจากผักตบชวาก็เปลี่ยนไปดังภาพ  ภาพขวา ของเสียสดๆเมื่อลงไปปนในน้ำ ไม่ปรากฏกลิ่นให้รำคาญจมูก ไม่ทำให้น้ำขุ่น น้ำมีสภาพดังภาพขวา

แถวที่ 7 ภาพซ้ายสุด โปรยปูนขาวลงในแอ่งขังน้ำเสียต้นน้ำ  ล้างตะกอนในส่วนที่อยู่ลาดต่ำลงมาตลอดสายจนเกลี้ยงคู ดูผลน้ำที่ไหลผ่านลงมาเพื่อความชัดเจนอีกครั้ง  ภาพขวาสุดเป็นน้ำเสียที่ไหลจากต้นน้ำผ่านท่อออกมา ไม่ได้ใส่ปูนขาวที่ต้นน้ำ น้ำออกจากท่อก็มีคราบขาวๆเหมือนใยสำลีเยอะแยะไปหมด ต่างจากภาพกลางที่เป็นน้ำไหลจากต้นน้ำที่ใส่ปูนขาวไว้ก่อนไหลผ่านท่อออกมา

แถวที่ 8  ภาพซ้าย ให้น้ำเสียไหลผ่านท่อออกมาก่อนจึงใส่ปูนขาว น้ำที่ไหลผ่านต่ำลงมาเป็นดังภาพ ตะกอนที่เห็นขาวปนดำใต้น้ำนั้นมีอยู่ก่อนใส่ปูนขาว  ภาพขวา สภาพน้ำเสียที่ใส่ปูนขาวที่ต้นน้ำแล้วไหลผ่านท่อออกมายังที่ต่ำกว่า ตะกอนสีดำ มีขนาดเล็ก

แถวที่ 9  ภาพซ้าย น้ำเสียต้นทางก่อนใส่ปูนขาว ภาพกลาง น้ำที่ต้นน้ำผ่านการใส่ปูนขาวบำบัดมา 2 สัปดาห์แล้ว ไหลผ่านท่อออกมากระทบกับผิวน้ำผ่านอากาศ สีตะกอนตรงตำแหน่งต่ำกว่าปลายท่อเป็นสีน้ำตาล  ห่างจากปลายท่อเป็นสีดำ ภาพขวา สภาพน้ำหลังใส่ปูนขาวที่ต้นน้ำผ่านไปครบ 1 เดือน

แถวที่ 10   หลังใส่ปูนขาวในน้ำเสียต้นน้ำผ่านไปเกือบครบเดือน น้ำไม่มีกลิ่น น้ำไหลตามระนาบลาดต่ำลงมาเื่อื่อยๆ สีตะกอนดำสนิท ไม่หยาบ

สรุปว่า เมื่อไรน้ำเสียไหลผ่านที่อับอากาศ ออกมาโดนแสง เมื่อนั้นจะเกิดคราบจุลินทรีย์สีขาว  แต่ถ้าน้ำผ่านปูนขาวมาก่อนจะไม่เกิดคราบขาวนี้ และสามารถควบคุมการเกิดคราบได้นานอย่างน้อย 1 เดือน

ปูนขาวตกตะกอนและจัดการกลิ่นน้ำได้เร็ว พอๆกับน้ำหมักแบบน้ำ ต่างไปที่คงผลได้นานกว่า

น้ำที่ใส่ปูนขาวแล้วไหลกระทบอากาศ จะให้ตะกอนสีทราย น้ำที่ใส่ปูนขาวแล้วไหลเรื่อยๆเอื่อยๆตกตะกอนสีดำ ขนาดไม่หยาบเหมือนตะกอนที่ตกโดยผักตบชวา

ตลอดเดือน ไม่พบปรากฏการณ์การแอลจีในตะกอนของน้ำเสียที่ผ่านปูนขาว

สิงหาคม 2554

« « Prev : เปรียบเทียบ…ผักตบชวา…น้ำหมักทำเอง

Next : วัสดุมีรูพรุน..อยู่ในน้ำ..แล้วเกิดอะไรขึ้นบ้าง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.027009963989258 sec
Sidebar: 0.1672511100769 sec